วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

ประกายความหวังจาก CSR

เยาวชนของชาติ ประกายความหวังจาก CSR

โดย สุภา โภคาชัยพัฒน์ กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บมจ.อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต

พูด ถึงซีเอสอาร์ โดยทั่วไปคนมักจะนึกถึงการทำกิจกรรมหรือบริจาคให้แก่ผู้ที่ด้อยโอกาสกว่าใน สังคม คนมักจะมุ่งไปที่การบริจาคให้องค์กรสาธารณกุศลที่มุ่งช่วยเหลือคนพิการ เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือผู้สูงอายุที่ถูกลืม ในบางที ซีเอสอาร์อาจจะทำประโยชน์ให้กับสังคมในระยะยาวได้มากกว่าที่เราคิดก็ได้ ถ้าเราคิดให้มากๆ ว่า ในองค์กรของเรามีความเชี่ยวชาญอะไรที่เราจะสามารถแบ่งปันให้สังคมได้ โดยที่ไม่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก

เดิมทีนั้นเรามักคิดว่าการเรียน รู้เกิดขึ้นในห้องเรียน โดยคุณครูเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ แต่ปัจจุบันการเรียนรู้สามารถทำได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว โดยการค้นหาทางอินเทอร์เน็ตต่างๆ อย่างไรก็ตามการเรียนรู้ที่ดีและเร็วมักหนีไม่พ้นการต้องมี coach หรือผู้ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

บริษัทและองค์กรต่างๆ จึงเป็นองค์ความรู้ที่รวมเอาศาสตร์และวิทยาการต่างๆ ไว้มากมาย ไม่ว่าองค์กรขนาดใหญ่หรือเล็ก ก็ย่อมผ่านประสบการณ์ต่างๆ มาแล้วมากมาย องค์กรเป็นแหล่งรวมของบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาจากหลายแขนงมาไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นนักบริหาร วิศวกร นักบัญชี นักสื่อสารองค์กร นักการตลาด เป็นต้น พนักงานขององค์กรก็สามารถแบ่งปันองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับเยาวชนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้ที่แตกต่างออกไปจากที่เรียนกันอยู่ในโรงเรียน ทุกวัน

องค์กรภาคธุรกิจมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเยาวชนของชาติ องค์กรสามารถช่วยภาครัฐเติมเต็มส่วนนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดประกวด การร้องรำทำเพลง การเล่นดนตรี อย่างน้อยก็เป็นการให้เยาวชนกล้าแสดงออกมากขึ้น และแสดงความสามารถของตัวเอง ปัจจุบันจะเห็นเวทีประกวดร้องเพลง เล่นดนตรีนั้นมีมากมาย แทบจะทุกครอบครัวไทยให้การสนับสนุนเด็กๆ ร้องเพลงและเต้น เพราะรายได้ดีและเป็นที่ยอมรับของสังคม ซี่งในแง่ของการทำ ซีเอสอาร์โดยการเปิดเวทีให้เยาวชนเหล่านี้ ก็นับเป็นความสำเร็จอีกประการหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนค่านิยมเดิมๆ และแสดงให้เห็นชัดเจนว่าผู้ที่ผ่านการประกวดทางดนตรี ปัจจุบันสามารถเติบโตเป็นศิลปินชั้นนำของประเทศ และเป็นตัวอย่างที่ดีต่อสังคม เรื่องนี้เป็นการตอกย้ำว่าการทำซีเอสอาร์ต้องมองผลระยะยาวและยั่งยืน การทำ ซีเอสอาร์กับกลุ่มเด็กและเยาวชนก็ควรจะติดตามผลจากโครงการที่ทำขึ้นเป็นระยะ ว่า ผู้ที่เข้าร่วมโครงการนั้นประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดจากกิจกรรมที่เรา จัดขึ้น

องค์กรธุรกิจควรมองว่าสังคมไทยปัจจุบันมีปัญหาหรือกำลังจะ เผชิญกับวิกฤตอะไร เช่น สภาพแวดล้อม ปัญหาด้านประชากรผู้สูงวัย ปัญหาด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น เยาวชนของชาติก็ควรได้รับการสนับสนุนให้เกิดการคิดและการแก้ปัญหาร่วมกัน องค์กรธุรกิจก็จะได้ดึงเอาความเชี่ยวชาญของตนเองออกมาเพื่อที่จะสามารถชี้ แนะให้เยาวชนได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านั้น มิใช่ทำตามกระแสของตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กรเท่านั้น สังคมยังต้องการการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ด้านการคิดคำนวณ ด้านวิทยาศาสตร์ หรือแม้กระทั่งด้านสังคมศาสตร์และจริยธรรม เยาวชนของชาติยังรอการค้นพบตัวเองจากกิจกรรมเพื่อสังคมขององค์กรธุรกิจอยู่ อีกมาก ขอเพียงคนทำซีเอสอาร์ตกผลึกทางความคิด ดึงความช่วยเหลือจากองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และถ่ายทอดความเชี่ยวชาญของตนไปยังกลุ่มของเยาวชน และผู้เขียน เชื่อมั่นว่า สังคมไทยจะได้รับวิทยาการอีกมากมายจากกิจกรรมซีเอสอาร์ ซึ่งการติดตามการเติบโตของเยาวชนอย่างต่อเนื่องจะเป็นเครื่องชี้วัดถึงความ สำเร็จของโครงการเป็นอย่างดีว่า สิ่งที่องค์กรจัดขึ้นนั้นมี ประสิทธิผลมากน้อยแค่ไหน

มองมุมกลับมาที่ตัวองค์กรและผลที่ได้ใน แง่ของการลงทุนกับกลุ่มเด็กและเยาวชน ผู้เขียนมั่นใจอย่างยิ่งว่า เยาวชนจะจดจำในแบรนด์ที่เขาประทับใจและได้สัมผัสเป็นอันดับแรก ตราบใดที่องค์กรของท่านต้องการ

การเติบโตอย่างมีกำไรอย่างยั่งยืน (sustaining profitable growth) แน่นอนว่าการสร้างทัศนคติที่ดีกับกลุ่มเด็กและเยาวชนนั้นนับเป็นกลยุทธ์ที่ องค์กรไม่ควรมองข้าม เพราะเยาวชนเหล่านี้จะเติบโตมาพร้อมกับองค์กรของท่าน เรื่องนี้เป็นเรื่องของจิตวิทยาทางสังคม กลุ่มเป้าหมายจะจดจำและเห็นสิ่งที่เขาเคยสัมผัสมากกว่าสิ่งที่เขาไม่เคย รู้จัก และเมื่อเวลาที่องค์กรมีการเคลื่อนไหวใหม่ๆ กลุ่มนี้แหละที่คอยให้การสนับสนุน และเมื่อองค์กรเกิดภาวะวิกฤต พวกเขาก็จะคอยปกป้ององค์กรของคุณในรูปแบบต่างๆ

ในภาวะเศรษฐกิจและ สังคมในปัจจุบันต้องอาศัยการพึ่งพาทางสังคมอยู่มาก องค์กรธุรกิจล้วนต้องการการเติบโตและมีกำไรเช่นใด เยาวชนของชาติก็ต้องการเติบโตอย่างมีคุณภาพและอนาคตที่สดใสเช่นกัน

ใน แง่ของภาคธุรกิจและสังคมย่อมต้องเติบโตและแข็งแกร่งไปด้วยกัน เทคนิคง่ายๆ คือ องค์กรของท่านต้องการเติบโตไปในทิศทางใด ก็เสริมจุดแข็งให้กับเยาวชนในด้านนั้นควบคู่กันไป ผลที่ได้นั้นย่อมตกอยู่ที่สังคมและองค์กร ซึ่งนับเป็นการตอบโจทย์ของการทำซีเอสอาร์ให้ยั่งยืนใน ระยะยาว


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 26/1/2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05260152&day=2009-01-26&sectionid=0221

ก้าวต่อของพลังใจอาสา

"เรดบูล สปิริต" ปี 2 ก้าวต่อของพลังใจอาสา


ถ้า วัดในเชิงปริมาณจำนวนอาสาสมัครกว่า 800 คนที่เข้าร่วมโครงการ "เรดบูล สปิริต" กิจกรรมเพื่อสังคมของ บริษัท เครื่องดื่มกระทิงแดง จำกัด ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาหลังจากเริ่มต้นโครงการในเดือนมีนาคม 2551 ในการเป็นคนกลางในการสร้างโอกาสอาสาสมัครให้มีโอกาสไปลงมือลงแรงช่วยเหลือ พี่น้องคนไทยในพื้นที่ต่างๆ ตามความสนใจ อาจจะถือได้ว่าเป็นความสำเร็จในเชิงรูปธรรมที่จับต้องได้

หากแต่ความ สำเร็จในมิติที่ลึกกว่านั้น คือ การเป็นผู้จุดประกายและสร้างแรงกระเพื่อมของพลังของใจอาสา พลังที่เคยซ่อนตัวอยู่ให้ปรากฏชัดในสังคม

เรื่องนี้ "สุทธิรัตน์ อยู่วิทยา" ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท เครื่องดื่มกระทิงแดง จำกัด กล่าวไว้ตอนหนึ่งในงานเปิดตัวโครงการ "เรดบูล สปิริต" ในปีที่ 2 "จับมือกันก้าวไปข้างหน้า เชื่อมโยงใจอาสา เป็นพลังสร้างอนาคต" ซึ่งจัดขึ้นที่รีสอร์ตบ้านสวนเขาล้อม อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี เมื่อวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า

"1 ปีที่ผ่านมามีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าที่พื้นที่ และกิจกรรมจะรองรับได้นับเป็นพลังใจสำคัญ ที่บอกเราว่าสังคมเรายังมีหวัง ยังมีคนที่มีใจอาสา พร้อมจะลงมือลงแรงเสียสละทำสิ่งดีๆ เพื่อคนอื่นอยู่อีกมาก"

และเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า สังคมไทยยังมีความหวัง ยังมีคนที่พร้อมเสียสละเวลาและกำลังกาย เพื่อคลี่คลายความทุกข์ของเพื่อนร่วมโลกและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่เคยเชื่อกันเสมอมาว่ากำลังเลือนลางเต็มทีในสังคมที่เต็มไป ด้วยความขัดแย้ง

เพื่อตอบรับต่อกระแสของอาสาสมัครที่มีความประสงค์จะ เข้าร่วมโครงการแต่ยังไม่มีโอกาสในปีที่ผ่านมา และขยายการ ช่วยเหลือสังคมในพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้น ใน ปี 2552 กระทิงแดงจึงสานต่อและเปิดตัวโครงการ 6 โครงการที่เปิดโอกาสให้อาสาสมัครที่สนใจทั่วไปเข้าร่วมในปีนี้ ได้แก่

1. สืบสานพืชพันธุ์พื้นบ้าน หว่านเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งชีวิตผ่านโครงการเมล็ดพันธุ์แห่งชีวิต โดยร่วมกับศูนย์เรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง และศูนย์เก็บเมล็ดพันธุ์พันพรรณ จัดทำโครงการเมล็ดพันธุ์แห่งชีวิต เก็บรวบรวม คัดเลือก และหนุนเสริมให้เกิดเครือข่ายเกษตรกรที่เพาะปลูกพืชผักด้วยเมล็ดพันธุ์พื้น บ้านในเขตจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจให้คนในสังคมตระหนักถึงความสำคัญของ เมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน

2.ประสานใจอาสา ฟื้นป่าชุมชน โดยร่วมกับสมาคมป่าชุมชนอีสานจัดทำโครงการปลูกใจเยาวชนรักป่าหนองเยาะ เพื่อร่วมกันฟื้นฟูป่าชุมชนซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นแปลงยูคาลิปตัสขนาดใหญ่ที่ สร้างความ แห้งแล้งก่อนที่ชุมชนจะร่วมแรงร่วมใจกันฟื้นฟูป่าให้กลับมาเป็นซูเปอร์ มาร์เก็ตของชุมชน และกำลังจะถ่ายทอดจิตวิญญาณแห่งการอนุรักษ์สู่นักอนุรักษ์รุ่นต่อไป โครงการนี้นอกจากอาสาสมัครร่วมลงแรงปลูกต้นไม้ สมุนไพร ประสานใจ หนุนเสริมกิจกรรมของเด็กๆ เพื่อให้ป่าชุมชนหนองเยาะเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของชุมชนไปอีกนาน

3.ลงแรง อาสาปลูกป่าชายเลน อ่าวพังงา ผ่านโครงการเด็กชายเล รักษ์ป่าชายเลน โดยร่วมมือกับโครงการความมั่นคงทางด้านอาหาร ชุมชนชายฝั่ง อ่าวพังงา ในการต่อยอดงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ที่จะเปิดโอกาสให้อาสา สมัครมาร่วมปลูกป่าชายเลน เพิ่มความหนาแน่นให้พื้นที่ป่า เป็นเรี่ยวแรง ฟื้นฟูป่าชายเลน อ่าวพังงา ร่วมกับพี่น้องมุสลิม บ้านแหลมหินและบ้านทองหลาง เพื่อ ลูกหลานจะได้อยู่ดีมีสุขตลอดไป

4. ร่วมแรงทำฝาย กระจายพันธุ์ไม้ เพื่อเขาแผงม้า โครงการนี้ใช้ชื่อว่า อนุรักษ์ลุ่มแม่มูน เขาแผงม้า โดยร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์กระทิง เขาแผงม้า ในการร่วมฟื้นฟูพื้นที่ป่านับ 5,000 ไร่ผืนนี้เป็นปัจจัยสำคัญสูงสุดของชีวิตกระทิงที่ยังเหลือรอดชีวิตกว่า 100 ตัว สัตว์ป่าสงวนฯซึ่งอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ โดยเปิดรับสมัครอาสาสมัครมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูป่าร่วมแรงทำฝายชะลอ น้ำ กระจายพันธุ์ไม้ให้ป่าหนาแน่นขึ้น เพิ่มแหล่งอาหาร แหล่งน้ำ โป่งเกลือ ให้เผ่าพันธุ์กระทิงเหลือรอดอยู่คู่โลกต่อไป

5.หนึ่งวันของพี่เลี้ยง อาสา สร้างประสบการณ์ยิ่งใหญ่ให้คนพิเศษและครอบครัวกับโครงการพี่เลี้ยงอาสาเพื่อ นักกีฬาพิเศษ โดยร่วมกับคณะกรรมการสเปเชียล โอลิมปิคแห่งประเทศไทย เปิดรับอาสาสมัครมาทำหน้าที่พี่เลี้ยงอาสาเพื่อนักกีฬาพิเศษขับเคลื่อน กิจกรรมการแข่งขันทักษะกลไกและแอโรบิกให้ดำเนินการได้โดยราบรื่น สร้างประสบการณ์ดีๆ เชื้อเชิญให้คนพิเศษและครอบครัวได้กลับเข้ามาอยู่ในสังคม อีกครั้ง

6. ต่อยอดความคิด นิสิต นักศึกษา สู่กิจกรรมอาสาพัฒนาสังคม ผ่านโครงการใจอาสาสู่มหา"ลัย โดยมุ่งเน้นการต่อยอดความคิด นิสิต นักศึกษา สู่กิจกรรมอาสาพัฒนาสังคม เป็นการแสวงหาประสบการณ์ที่ไม่มีสอนในห้องเรียน ที่จะกลายมาเป็นพลังขับเคลื่อนให้สังคมรอบตัวเราอยู่ดีมีสุขมากขึ้น

" อาสาสมัครหลายคนบอกกับเราว่า การได้มาลงแรงทำงานอาสา ทำให้เขารู้ว่า เขาไม่ได้เป็นแค่ผู้ให้อย่างเดียว สิ่งที่เขาได้กลับไปคือความหวังและพลังใจ และเรา เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงสู่วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า จะเกิดขึ้นได้หากทุกคน ทุกภาคส่วนในสังคมร่วมมือร่วมใจกัน" สุทธิรัตน์กล่าวในที่สุด

ผู้ที่สนใจทั่วไปสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ โดยสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.redbullspirit.org

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 26/1/2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04260152&day=2009-01-26&sectionid=0221


มหา"ลัยทั่วโลกผนึกกำลัง

มหา"ลัยทั่วโลกผนึกกำลัง สร้างเครือข่ายความรับผิดชอบต่อสังคม


ท่าม กลางความเคลื่อนไหวของบรรดามหาวิทยาลัยที่บรรจุเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ขององค์กร (CSR) อยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนด้านบริหารธุรกิจ บางมหาวิทยาลัยยังก้าวข้ามไปถึงการเตรียมผุดหลักสูตร CSR ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท

หากมองถึงภาพการแข่งขันและชิงธงปัก หมุดบนกระแสนี้ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้ก้าวข้ามชอต และวางตำแหน่งในการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านการขับ เคลื่อนแนวคิด USR ที่ย่อมาจาก university social responsibility หรือความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัย

โดยพยายามผลักดันที่จะ สร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับโลก (USR alliance) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และทำงานระหว่างกัน ระหว่างวันที่ 12-13 มกราคม 2552 ที่ผ่านมา ที่โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยศรีปทุมจึงได้เป็น เจ้าภาพในการจัดสัมมนาวิชาการนานาชาติ ว่าด้วย "บทบาทของมหาวิทยาลัยในความรับผิดชอบต่อสังคม ครั้งที่ 1" ที่นับเป็นครั้งแรกในโลกที่มีการจัดเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และบทบาทของ มหาวิทยาลัยด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งมีมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมจาก 26 ประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา นอร์เวย์ ฝรั่งเศส อิตาลี ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ฯลฯ และมหาวิทยาลัยในไทยอีกกว่า 24 สถาบัน

ดร.จรรยา พุคยาภรณ์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า "หวังว่าการริเริ่มครั้งนี้จะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยที่มีความ รับผิดชอบต่อสังคมในระดับโลก โดยมองถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยว่า รูปแบบของความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยนั้นแตกต่างจากองค์กร (corporate) ทั่วไป เพราะมหาวิทยาลัยนั้นเรารับผิดชอบต่อสังคมอยู่แล้วโดยอาชีพ โดยมหาวิทยาลัยจะสอนและทำการปลูกจิตสำนึกของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรให้รับผิดชอบต่อสังคมด้วยจิตสำนึก ไม่ใช่การโปรโมตตามกระแสหรือการตลาด เพราะฉะนั้นทุกคนควรทำจากใจ ไม่มีการบังคับ ผลลัพธ์ที่ได้จึงจะมีคุณค่าอย่างเต็มที่"

บนเวทีสัมมนาครั้งนี้มีการถ่ายทอดประสบการณ์และบทเรียนของมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศ

" บาสเตียน เบอร์แมน" เลขานุการ Magna Charta Observatory ประเทศเยอรมนี และที่ปรึกษาทางด้านการประกันคุณภาพให้กับมหาวิทยาลัยในยุโรป กล่าวถึงบทบาทของความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยว่า สิ่งสำคัญที่มหาวิทยาลัยต้องสร้าง คือ จิตสำนึกของการเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบให้กับนักศึกษา โดยไม่เพียงจะสร้างทักษะและให้องค์ความรู้เท่านั้น ในขณะที่การขับเคลื่อนด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยต้องมีการ กำหนดแนวปฏิบัติ (code of conduct) ต้องพิจารณาถึงความรับผิดชอบที่มหาวิทยาลัย มีต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย โดยหัวใจสำคัญต้องเริ่มจากบทบาทหลักในการผลิตนักศึกษาที่มีคุณภาพ ขณะเดียวกันต้องเปิดโอกาสให้พนักงานหรืออาจารย์ในมหาวิทยาลัยได้มีอิสระทาง วิชาการ และสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อผู้ที่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยหรือภาค รัฐ ในการบริหารงานอย่างโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ และมีประสิทธิผลในการดำเนินการ รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับชุมชนในการสร้างประโยชน์กับสังคม ฯลฯ

ด้าน "คริสติน่า ที. ชูแล็กเตอร์" นักวิชา การจากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด สหรัฐ อเมริกา ผู้ก่อตั้ง Center for Socially Responsible Leadership (CSRL) ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้คำปรึกษาด้านการสร้างความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคม กล่าวว่า ความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่เพียงที่จะบรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนเท่านั้น แต่ยังมีงานวิจัยและการพัฒนาที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น ที่มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดได้ดำเนินการในการพยายามผลักดันให้ นักศึกษาคิดค้นงานวิจัยที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันยังเข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาธุรกิจและให้ความรู้เรื่องความรับผิด ชอบต่อสังคมให้กับธุรกิจในท้องถิ่น และพยายามสร้างโมเดลของการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยและองค์กรธุรกิจใน การพัฒนาสังคม และเชื่อว่ามหาวิทยาลัยเป็นสถานที่ที่ดีที่สุดในการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคมได้ เนื่องจากมีทรัพยากรมนุษย์มากมายไม่ว่าจะเป็น แพทย์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ ฯลฯ ที่จะสามารถคิดค้นและพัฒนาเรื่องต่างๆ ที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคมได้

อย่างไรก็ตามบทบาทสำคัญที่ถือเป็น ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยคือ ความรับผิดชอบในการผลิตบัณฑิต ซึ่งมีความท้าทายอยู่ตรงที่ "ในขณะที่เด็กอยู่ในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย เราอาจจะพยายามย้ำให้เขาระลึกถึงการต้องเป็นคนดีเสมอๆ ผ่านกิจกรรมต่างๆ มากมาย แต่ สิ่งที่ท้าทายก็คือเราจะทำอย่างไรที่จะทำให้ความรับผิดชอบเหล่านั้นติดตัว พวกเขาอยู่ในวันที่ออกไปสู่โลกของการทำงาน ว่ายังจำเป็นต้องทำประโยชน์เพื่อสังคม" คริสติน่ากล่าวในที่สุด

และ ดูเหมือนว่าความท้าทายนี้จะเป็นประเด็นร่วมในระดับสากล และเป็นหนึ่งในความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นแก่นของมหาวิทยาลัยในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพและมีสำนึกต่อสังคม !!


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 26/1/2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03260152&day=2009-01-26&sectionid=0221

CSR กับการพัฒนาจิตอาสา

CSR กับการพัฒนาจิตอาสา

โดย พร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย

ขณะ ที่เศรษฐกิจโลกเคลื่อนเข้าสู่วิกฤตการณ์ครั้งที่รุนแรงที่สุด เริ่มมีหลายกระแสที่มองผลกระทบของวิกฤตทางการเงินต่อ CSR หลายบริษัทออกปากว่าไม่สามารถสนับสนุนงานสังคมได้ เพราะทุกอย่างต้องลดลงอย่างมาก รวมทั้งกิจกรรมที่เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งโดยตรง เช่น มาตรฐานการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม หรือทางอ้อม เช่น การเสริมสร้างตัวอย่างการปฏิบัติที่ดี (best practice) ทางด้านธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมก็อาจจะถูกชะลอหรือหยุดชะงักไป

ถึงแม้เราจะถือว่า CSR เป็นวิธีการบริหารองค์กร ไม่ใช่ของเติมแต่งเท่านั้น แต่ความรุนแรงของผลกระทบวิกฤตการณ์ครั้งนี้ทำให้ทุกบริษัทต้องกลับมาทบทวน ทั้งนี้ความอยู่รอดของบริษัทเป็นประเด็นหลักที่ต้องพิจารณา

ซีอีโอ หรือผู้จัดการที่เริ่มงาน CSR ก่อนหน้านี้ อาจจะวิตกว่ากิจกรรมที่สร้างเสริมมาเป็นเวลา 2-3 ปีอาจจะถอยร่นคราวนี้ เหมือนกับการลงทุนที่อาจจะถูกกลืนหายไปในวิกฤตการณ์

สิ่งสำคัญที่ บริษัทมีการดำเนินงาน CSR ควรหวงแหนในการทำงาน CSR นั่นก็คือ การมีส่วนร่วมของพนักงาน ซึ่งการมีส่วนร่วมนั้นไม่ใช่วิธีการเกณฑ์พนักงานมาเข้ากิจกรรมเป็นครั้งๆ ไป แต่เป็นการฟูมฟักการมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของกิจกรรม CSR เป็นขั้นๆ ไป



ซี อีโอที่ทำงานด้าน CSR จะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของพนักงาน เพราะเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการเพิ่มมูลค่าของงาน CSR และให้ผลต่อบริษัทที่น่าจะสูงกว่างานประชาสัมพันธ์ การมีส่วนร่วมของพนักงานในหลายครั้งเริ่มต้นจากการที่บริษัทต้องพยายามชัก ชวน หรือเรียกได้ว่า "เกณฑ์" พนักงานมาเข้าร่วมกิจกรรม แต่หากบริษัทดำเนินงานด้วยการชักชวนอย่างต่อเนื่อง โดยให้พนักงานมีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจในงาน CSR มากขึ้น พนักงานจะเริ่มมีความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของกิจกรรม ความผูกพันกับบริษัทจะสูงขึ้น รวมทั้งการทำงานเป็นทีมข้ามฝ่ายต่างๆ จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ในเวลาเดียวกันคุณค่าไม่ได้เกิดต่อบริษัท ฝ่ายเดียว แต่เกิดกับตัวพนักงานด้วย ทั้งนี้เมื่อพนักงานเข้าใจถึงมิติการช่วยเหลือและพัฒนาสังคมก็ดี การมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานทีมก็ดี เท่ากับเป็นการเปิดคุณค่าในตัวพนักงานและเป็นสิ่งที่จะติดตัวต่อไปในอนาคต

นอก จากบริษัทและพนักงานที่ได้รับคุณค่า เมื่อพนักงานเกิดการเติบโตในมิติทางสังคม และการให้ต่อสังคม หรือจิตอาสาเพื่อสังคม ซึ่งเกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก จึงสามารถก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวของคนที่มีมิติความเข้าใจงานพัฒนา นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีและอยู่ในเส้นทางของความยั่งยืนและเข้มแข็งทาง สังคม

ผู้จัดการใหญ่บริษัทต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยท่าน หนึ่ง เล่าให้ผมฟังว่า หลังจากทำงาน CSR ได้เต็มที่แล้ว พนักงานจะเห็นงาน CSR เป็นความ ภาคภูมิใจของบริษัทและของตนเอง งาน CSR ยังเป็นแรงดึงดูดอย่างหนึ่งเวลาที่คนมา สมัครงานใหม่

การสร้างการ มีส่วนร่วมในบางบริษัทอาจจะสร้างได้ง่าย ขณะที่บริษัทอาจจะใช้เวลาซึ่งขึ้นอยู่กับทุนทางสังคมที่บริษัทมีอยู่แล้ว รวมทั้งลักษณะของงานด้วย แต่ปัจจัยที่ฝ่ายบริหาร CSR อาจจะมองว่า กิจกรรมในการมีส่วนร่วมมีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การให้พนักงานมีส่วนในการคิดโครงการ ใช้คณะทำงานที่ประกอบด้วยพนักงานหลายฝ่ายมาคิดและร่วมตัดสินใจ หรือความชัดเจนของฝ่ายบริหารที่หนักแน่นว่าเป้าหมายของ CSR เน้นภายในเท่ากับหรือมากกว่าภายนอก บางบริษัทจะมีกิจกรรมในการเตรียมการเพื่อการทำงานพัฒนาสังคมที่เปิดโอกาสให้ เกิด

การมีส่วนร่วม เช่น การให้พนักงานมีส่วนร่วมในการระดมทุน เช่น การขายหัตถกรรมชาวบ้าน หารายได้เสริมกิจกรรมพัฒนาในระดับชุมชน

ใน ยุควิกฤตทางเศรษฐกิจ การมีส่วนร่วมของพนักงานในงาน CSR ยิ่งจะมีความสำคัญ เพราะบริษัทต้องการสร้างกำลังใจในการทำงานสูงกว่าปกติ โดยเฉพาะถ้าบริษัทจำเป็นต้องรัดเข็มขัด การทำงาน CSR โดยการใช้กิจกรรมที่พนักงานคิดเองและทำเองเป็นการสร้างความต่อเนื่องของงาน CSR และยังสามารถช่วยเหลือบริษัทด้วยวิธีการอื่นๆ เมื่อพนักงานมีความรู้สึกว่าการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นพื้นฐานสังคมที่ เข้มแข็ง


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 26/1/2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02260152&day=2009-01-26&sectionid=0221

ติดปีกความฝัน

ติดปีกความฝัน "ฮอนด้า" จาก "อาซิโม" ถึง "องค์กรของสังคม"


โดย วิไล อักขระสมชีพ


ถ้า ไม่ได้เป็นเพราะเชื่อในเรื่อง "การท้าทายตัวเอง" "โซอิชิโร ฮอนด้า" ผู้ก่อตั้ง "ฮอนด้า" คงไม่สามารถนำพาร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์ เล็กๆ ของเขา ให้ก้าวมาไกลในการเป็น แบรนด์ที่คนทั่วโลกยอมรับ ที่ปัจจุบันผลิตและจำหน่ายรถยนต์ไปในกว่า 160 ประเทศ ทั่วโลก

และถ้า ไม่ได้เป็นเพราะวัฒนธรรมขององค์กร ที่ผูกติดอยู่กับ "การท้าทายตัวเอง" "ฮอนด้า" คงไม่ได้ก้าวพ้นการคิดแต่เพียงการเป็นเจ้าแห่งความเร็ว การเป็นเจ้าแห่งเทคโนโลยี มาสู่วิสัยทัศน์ของ "ฮอนด้า" ในวันนี้ ในการเป็นองค์กรที่สังคมต้องการให้ดำรงอยู่ เพราะเชื่อว่าการที่องค์กรจะก้าวเดินไปสู่ความยิ่งใหญ่ในอนาคตต้องได้รับการ ยอมรับจากสังคม

แม้ "อดิศักดิ์ โรหิตศุน" รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด จะบอกไว้ว่า "การดำรงอยู่ที่สำคัญคือเราต้องไม่ทำให้ตัวเองเป็นภาระของสังคม โดยการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ เช่น การให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและคุณภาพของสินค้า การคิดค้นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฯลฯ"

ซึ่งถือเป็นแก่นของแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR)

เริ่มต้นด้วยการท้าทายตัวเอง

แต่ ความน่าสนใจอีกส่วนหนึ่งของ "ฮอนด้า" ยังอยู่ที่ความสามารถในการ เชื่อมโยง วัฒนธรรม "การท้าทายตัวเอง" ให้เข้ากับ เป้าหมาย "การเป็นองค์กรที่สังคมต้องการให้ดำรงอยู่" ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัย 3 ประการ 1.การสร้างมูลค่าเพิ่มจากกิจกรรมสินค้าบริการให้กับสังคมทั้งที่เป็นลูกค้า และไม่ได้เป็นลูกค้า 2.รับรู้ถึงความแตกต่างในสังคมและพยายามแบ่งปันส่วนที่ดีของฮอนด้า นำไปร่วมกับสิ่งที่มีอยู่ในสังคมนั้น 3.สิ่งที่ทำต้องเป็นการแบ่งปันความสุขไปถึงคนรุ่นหลัง

ในการทำงานของโครงการ "ฮอนด้า อาซิโม ซูเปอร์ ไอเดีย คอนเทสต์" การจัดประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทาง วิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา

ที่ หากดูเผินๆ ก็อาจเป็นเช่นเดียวกับกิจกรรมที่ถูกจัดขึ้นทั่วไป แต่ในความเป็นจริงแล้ว การดำเนินกิจกรรมเดินอยู่บนความเชื่อและความท้าทายที่ฝังอยู่ในองค์กร

ด้วย การนำ "อาซิโม" หุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ที่ก้าวหน้ามากที่สุดในโลก ที่เวอร์ชั่นล่าสุดสามารถปฏิบัติตามคำสั่งมนุษย์ด้วยการเสิร์ฟกาแฟ ส่งเอกสาร เตะฟุตบอล ฯลฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในการพัฒนาที่เกิดจากการท้าทาย ตัวเองของฮอนด้า มาแบ่งปันสู่สังคมในการเป็นทูตแห่งความฝันที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กๆ ในระดับประถมศึกษา ผ่านโครงการ "ฮอนด้า อาซิโม ซูเปอร์ ไอเดีย คอนเทสต์"

เยี่ยมบ้านอาซิโม

ระหว่าง การนำคณะสื่อมวลชนและผู้ได้รับรางวัลจากโครงการ "ฮอนด้า อาซิโม ซูเปอร์ ไอเดีย คอนเทสต์ ปีที่ 4" ไปเยือนบ้านเกิดอาซิโม ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อไม่นานมานี้ "อดิศักดิ์" เล่าวิธีคิดเบื้องหลังโครงการให้ฟังว่า "โครงการนี้จัดขึ้นทุกปีเริ่มตั้งแต่ปี 2548 ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรม CSR ของฮอนด้า ที่เปลี่ยนมุมมองของเด็กเยาวชนให้เห็นว่า เรื่องวิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถมนุษย์ไปได้ โดยโครงการนี้จะดึงครูและเยาวชนจากโรงเรียนระดับประถมศึกษาที่สนใจเข้ามา อบรม ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมครูและพ่อแม่ ผู้ปกครอง ช่วยดึงจินตนาการของเด็กๆ ที่มีอยู่สร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ประยุกต์เข้ากับสิ่งแวดล้อม โดยสิ่งประดิษฐ์ที่ส่งมาจะต้องสามารถเคลื่อนไหวและมีประโยชน์ต่อการดำเนิน ชีวิต เพื่อตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิตใหม่ๆ ในอนาคตด้วย"

"โครงการนี้ เริ่มจากเด็กไทยไม่ค่อยสนใจเรื่องวิทยาศาสตร์ แต่พอฮอนด้านำ อาซิโมมาโชว์ที่เมืองไทย ทำให้เด็กๆ สนใจกันมากขึ้น และจุดประกายให้เด็กๆ รู้ว่า วิทยาศาสตร์ที่ว่าเป็นของยาก แต่ไม่เกินความสามารถของมนุษย์ไปได้ อาซิโมจะดึงจินตนาการและความสามารถที่ซ่อนเร้นของเด็กๆ ออกมา และกล้าคิดกล้าแสดงออก"

และถ้าจะวัดความก้าวหน้าของโครงการ ในการจัดประกวดครั้งล่าสุด ได้รับความสนใจจากโรงเรียนและนักเรียนมากขึ้นกว่า 60% จาก 10,000 กว่าคนในปีแรก มาเป็น 50,000 กว่าคนในปี 2551 โดยเปิดวงกว้างออกไปสู่โรงเรียนในต่างจังหวัดมากขึ้น

ในเชิงคุณภาพ ผลงานสิ่งประดิษฐ์ของเด็กๆ ที่ส่งเข้าประกวดนั้นมีคุณค่าและจินตนาการเกินกว่าจะเชื่อว่านี่เป็นเพียง ผลงานของเด็กชั้นประถม อาทิ ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3 "เรือดำน้ำขนส่งมวลชน" ของ ด.ช. รัชตะ ชาตบุตร (ภีม) ที่มีแรงบันดาลใจจากรถติดและเกิดอุบัติเหตุบ่อย ราคาน้ำมันแพง จึงเสนอเรือดำน้ำเป็นทางเลือกของประชาชนผ่านเส้นทางคลองต่างๆ โดยใช้พลังงาน ชีวมวลที่เรียกว่า "ไบโอแมส" ที่สามารถบำบัดน้ำเสียให้สะอาดไปด้วย

หรือผลงาน "บ้าน UFO ป้องกันภัยธรรมชาติ" ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 ของ ด.ช.จิรัฏฐ์ บุญจูง (เจมส์) ที่เกิดจากแรงบันดาลใจจากเห็นภัยธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อย ทั้งสึนามิ พายุนาร์กีส น้ำท่วม ฯลฯ จึงคิดค้นบ้าน UFO ที่มีหลังคาเป็นระบบไฮดรอลิกสามารถหุบตัวอัตโนมัติ เมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้น

จาก "โลคอล" ถึง "โกลบอล"

ใน การเดินทางครั้งนี้ เด็กๆ ได้มีโอกาสเยี่ยมชมสำนักงานใหญ่ฮอนด้า มอเตอร์ โดยมี มร.โทชิยา โคบายาชิ ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ ให้การต้อนรับ และให้สัมภาษณ์ยืนยันถึงการเดินหน้าสานต่อกิจกรรมเพื่อสังคมว่า ยิ่งเศรษฐกิจถดถอยเวลานี้กระทบต่อภาคธุรกิจ แต่ฮอนด้าก็ไม่หยุดยั้งการทำ CSR กลับยิ่งเห็นความจำเป็นที่จะรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น

เขา กล่าวด้วยว่า กลยุทธ์ CSR ของ "ฮอนด้า" จะคำนึงถึง 3 ส่วน คือ 1.เอาใจใส่สิ่งแวดล้อม 2.การดูแลองค์กรให้มีสถานะด้านการเงินที่ดี เพราะเป็นบริษัทมหาชน หากมีฐานะการเงินดีจะทำให้มี ผู้สนใจมาลงทุน จึงต้องคำนึงถึงทั้งผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร พนักงาน ตลอดจนสังคม 3.การดูแลสังคม ไม่ใช่เพียงเอาเงินไปช่วยเท่านั้น แต่ต้องหมายถึงการ

ทรีตสังคมอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นคนจน คนรวย หรือผู้หญิง ผู้ชาย จะต้องเคารพความเป็นมนุษย์

ขณะ ที่ "อดิศักดิ์" กล่าวเสริมว่า "สิ่งที่เราจะต้องรับผิดชอบหรือรักษาให้ได้ คือ ต้องคิดถึงเด็กหรือคนรุ่นหลัง สิ่งที่ฮอนด้าทำจะต้องไม่กระทบต่อเด็กหรือเยาวชนที่จะเติบโตในอนาคต รวมไปถึงต้องทำให้เด็กๆ เติบโตอย่างมีอนาคตสดใสด้วย ฮอนด้าจึงใช้เครือข่ายทั่วโลกทำโครงการ "อาซิโม สไมล์ คอนเทสต์" ขึ้น สนับสนุนให้เด็กๆ มีเวทีคิดค้นหุ่นยนต์ หรืออย่างการส่งเสริมโรงเรียนให้มีความรู้ ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม เหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำได้และทำต่อเนื่อง แม้บางอย่างช่วยธุรกิจดีหรือไม่ดี ก็ต้องดูว่าจะทำอย่างไรให้เสมอต้นเสมอปลายได้ แม้ฮอนด้าจะมีเครือข่ายเยอะ กิจกรรมแต่ละประเทศจะต่างกัน แต่สิ่งสำคัญคือมีทิศทางไปสู่เป้าหมายเดียวกัน โดยเฉพาะเป้าหมายสร้างอนาคตเยาวชนซึ่งเป็นรากฐานของสังคมให้สดใส"

เพราะเมื่อสังคมดำรงอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง ย่อมหมายถึงการดำรงอยู่ของ "ฮอนด้า" เช่นเดียวกัน !!

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 26/1/2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01260152&day=2009-01-26&sectionid=0221



นับหนึ่ง CSR ทำกันอย่างไร


โดย สุภา โภคาชัยพัฒน์ กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บมจ.อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต

ส่ง ท้ายปีเก่าก้าวย่างสู่ปีใหม่ หลายองค์กรกำลังมีการวางแผนสำหรับการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมในปีหน้า บางองค์กรก็สานต่อโครงการเดิมเพื่อให้มีความต่อเนื่องในสิ่งที่ดีแล้ว บางองค์กรก็คิดสร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ๆ เพื่อต่อยอดจากโครงการเดิม แต่สำหรับองค์กรน้องใหม่ทีเริ่มมาให้ความสนใจของการทำกิจกรรมเพื่อสังคมแล้ว ละก็ มีโจทย์ใหญ่หลายข้อที่ต้องตีให้แตกและคิดให้รอบคอบ เพื่อให้กิจกรรมเพื่อสังคมที่กำลังจะทำนั้นเกิดประสิทธิภาพให้มากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าทั้งองค์กรและสังคมจะต้องได้รับประโยชน์จากกิจกรรมนั้นๆ

ตัว ผู้เขียนเองมักจะเจอคำถามจากเพื่อนพ้องทั้งที่อยู่ในวงการสื่อสารองค์กร การประชาสัมพันธ์และทั้งที่เป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กรว่า "อยากจะทำซีเอสอาร์ แต่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหนดี" ซึ่งนับเป็นคำถามคลาสสิกที่ผู้เขียนเจอเป็นประจำ แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับผู้ที่จะเริ่มทำซีเอสอาร์แล้ว

สิ่ง แรกที่ควรจะทำคือ ทำความเข้าใจกับวิสัยทัศน์ของบริษัทหรือองค์กรของท่าน เพื่อให้รู้ว่าบริษัทหรือองค์กรของเรามีจุดยืนอยู่ตรงไหนและต้องการไปจุดใด มีตัวตนเป็นอะไรและต้องการให้ประชาชนหรือสังคมจดจำว่า บริษัทหรือองค์กรของเราเป็นอย่างไร ซึ่งผู้บริหารและพนักงาน ควรจะเข้าใจสิ่งเหล่านี้ให้ตรงกันด้วย

เมื่อทราบว่าเราต้องการให้ สังคมจดจำว่าองค์กรหรือบริษัทเราเป็นอย่างไร ก็จงช่วยกันระดมสมองว่า กิจกรรมหรือโครงการอะไรที่จะทำให้สิ่งเหล่านั้นเป็นจริงขึ้นมา เช่น หากองค์กรของท่านต้องการเติบโตอย่างมีคุณภาพ และเป็นองค์กรที่ดูแล สิ่งแวดล้อมที่องค์กรของท่านตั้งอยู่ โครงการที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมก็ควรจะเป็นเรื่องที่ท่านกำหนดให้เป็น กิจกรรมของทั้งบริษัทหรือองค์กร และไม่ใช่ทำเพียงครั้งเดียวจบ เพราะถ้าเป็นอย่างนั้น อาจจะไม่ใช่ CSR ที่เราพูดถึง

เมื่อทำความ เข้าใจเป้าหมายของการทำ ซีเอสอาร์และได้หัวข้อที่ผ่านการคัดกรองมาอย่างดีแล้ว จึงเข้าสู่กระบวนการแตกย่อยของโครงการคือกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการเข้าถึง สิ่งที่กลุ่มเป้าหมายและองค์กรจะได้รับ และที่สำคัญคืองบประมาณที่ต้องใช้จ่ายตลอดโครงการ เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวตอบคำถามให้ได้ว่าองค์กรเราพร้อมแล้วหรือยังที่ จะทำซีเอสอาร์ แต่โจทย์ใหญ่ที่ดูเหมือนง่ายแต่ทำยากก็คือ การที่เราทำให้ผู้บริหารระดับสูงเข้าใจและเห็นความสำคัญของนโยบายซีเอสอาร์ ตลอดจนให้การสนับสนุนทั้งในด้านงบประมาณและความร่วมมือ อาจกล่าวได้ว่าซีเอสอาร์ทั้งองค์กรอาจจะไม่เกิดเลย หากผู้บริหารไม่ให้ความร่วมมือ

ผู้บริหารหรือซีอีโอจะยอมรับโครงการได้อย่างไรนั้น ผู้บริหารงานซีเอสอาร์ต้องมีข้อมูลพอที่จะโน้มน้าวใจ

ซี อีโอให้เห็นถึงความสำคัญของโครงการได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนย้ำไว้เสมอเวลาคือ งบประมาณในการทำซีเอสอาร์จะไม่สามารถผูกติดกับยอดขาย รายได้ กำไร หรือขาดทุน ของบริษัท เพราะซีเอสอาร์เป็นการมองผลระยะยาวและยั่งยืน หลายคนได้ยินเช่นนี้แล้วถอดใจ เพราะคิดว่าการทำซีเอสอาร์จะต้องใช้งบประมาณสูงถึงจะสัมฤทธิผล

ความ จริงกลับตรงกันข้าม ซีเอสอาร์ที่ดีนั้นสามารถใช้งบประมาณเพียงน้อยนิดแต่ได้ผลลัพธ์เชิงบวก มหาศาล เพราะซีเอสอาร์นั้นไม่ใช่การทุ่มงบประมาณจำนวนมากเพื่อให้เกิดการจดจำเพียง ครั้งเดียว หากแต่อาศัยความเข้าใจและการร่วมมือร่วมใจกันของคนทั้งองค์กร ซึ่งแน่นอนว่าทั้งองค์กรจะต้องมองเห็นภาพของการทำซีเอสอาร์ ร่วมกันและไปในทิศทางเดียวกัน คนทำ ซีเอสอาร์จึงมีหน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะต้องใช้การสื่อสารให้มี ประสิทธิภาพ ผู้เขียนจึงขอสนับสนุนให้โครงการซีเอสอาร์อยู่กับฝ่ายการสื่อสารองค์กรหรือ ฝ่ายประชา สัมพันธ์ มิใช่ไปผูกติดกับฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายการตลาด

การ เริ่มต้นทำซีเอสอาร์นั้นไม่ใช่เรื่องยากแต่ก็ไม่ง่าย สรุปคือผู้เสนอโครงการ ซีเอสอาร์ต้องมีความสามารถในการต่อรองและเสนอโครงการกับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งแน่นอนว่าโครงการที่นำเสนอจะต้องมีการศึกษาและร่างโครงการมาอย่างดี เพื่อให้ผู้บริหาร "ซื้อ" เสียก่อน แล้วค่อยลงมือทำเพื่อให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน และที่สำคัญทีมงานที่ทำซีเอสอาร์ต้องเป็นคนภายในขององค์กร เข้าไปลงมือทำและสัมผัสกับโครงการนั้นๆ ซึ่งหากองค์กรใดสามารถดึงพนักงานและคนในองค์กรเข้ามาร่วมกิจกรรมได้อย่าง สมัครใจมากเท่าไหร่ ยิ่งจะเป็นผลดีต่อองค์กรและชุมชนได้อย่างที่คุณคาดไม่ถึง

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 19/1/2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05190152&day=2009-01-19&sectionid=0221


ซีพีเอฟ "สอนคนเลี้ยงปลา"

ซีพีเอฟ "สอนคนเลี้ยงปลา" ตอบโจทย์การให้ที่ยั่งยืน

ใน ช่วงที่การทำซีเอสอาร์ของแต่ละองค์กรมีแต่การบริจาค จะได้ยินคำพูดเปรียบเปรยการให้ที่ดีกว่านั้นว่า "ควรจะไปสอนให้คนเลี้ยงปลา ดีกว่าเอาปลาไปให้"

การสอนให้คนเลี้ยงปลาตามประโยคที่ว่าสามารถตอบ โจทย์แนวคิดการให้แบบยั่งยืนได้มีอยู่ใน 2 โครงการของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ที่ใช้ความชำนาญของบริษัทช่วยให้คนรู้จักถึงวิธีเลี้ยงปลาและจับขายเพื่อ สร้างรายได้ให้คนสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง

โครงการแรกเป็นการช่วยเหลือ ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ให้มีอาชีพทำกิน ในโครงการทดลองหมู่บ้านประมงบ้านห้วยเจริญ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยร่วมกับทหารบกอุตรดิตถ์ สนับสนุนสินเชื่อเป็นจำนวนเงินกว่า 8 แสนบาท มีระยะการชำระคืน 5 ปีแก่ชาวบ้าน 5 ครอบครัวได้ทดลองเลี้ยงปลาในกระชังรวมกว่า 1,500 ตัว พร้อมช่วยดูแลตั้งแต่การจัดหาลูกปลา อาหารปลา ไปจนถึงการส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาอบรมและให้คำปรึกษาตลอดการเลี้ยงดู นอกจากนี้ ซีพีเอฟยังช่วยจับปลาไปจำหน่ายให้ในราคาตามกลไกตลาด การเลี้ยงปลาในรุ่นแรกสามารถทำกำไรได้แล้วกว่า 1 แสน 1 หมื่นบาท แสดงให้เห็นว่าแนวทางของการให้อย่างยั่งยืนนั้นได้ผลจริง

ในเวลาไล่ เลี่ยกัน โครงการ CPF-ชุมชนโรงเรียนสัมพันธ์" ก็เกิดขึ้นที่โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 98 (บ้านงอบ) อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน ที่มีวิธีคิดไม่ต่างจากโครงการแรก เพราะนอกจากซีพีเอฟจะหมายมั่นปั้นมือให้โครงการนี้ช่วยให้เด็กนักเรียนใน ท้องถิ่นทุรกันดารได้รับประทานเนื้อปลาที่มีโปรตีนแล้ว เด็กๆ ยังเกิดการเรียนรู้ในงานด้านการเกษตรที่จะติดตัวไปเป็นอาชีพได้ในอนาคตได้ อย่างยั่งยืน

โครงการนี้เริ่มต้นที่การคัดเลือกโรงเรียนในท้องถิ่น ทุรกันดารที่มีความพร้อมในการเลี้ยงปลา จากนั้นบริษัทจะมอบพันธุ์ปลาจำนวน 5,000 ตัว พร้อมอาหารปลาและส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความรู้กับอาจารย์และเด็กๆ เป็นระยะก่อนที่จะจับปลาขึ้นมาปรุงเป็นอาหารกลางวันของเด็กนักเรียน โดยใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน หรือ 1 ภาคเรียน ต่อการเลี้ยงปลา 1 รุ่น ซึ่งปลาที่เหลือจากการบริโภคของเด็กๆ ก็สามารถจำหน่ายในชุมชน เกิดเป็นรายได้ที่เพียงพอสำหรับเลี้ยงปลาในรุ่นต่อไป เมื่อขึ้นเทอมใหม่ โรงเรียนก็สามารถจัดเด็กนักเรียนรุ่นใหม่ เข้ามา รับผิดชอบโครงการ

อดิศร์ กฤษณวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บอกว่า "ถึงซีพีเอฟจะเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์ แต่ประธานกลุ่ม ซี.พี. ท่านธนินท์ เจียรวนนท์ บอกไว้ว่า ถ้าเข้าไปช่วยสังคมได้ตรงไหนต้องเข้าไป และถึงโครงการที่ทำจะล้มเหลวก็ยังเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จ เพราะจะเกิดการเรียนรู้จากความไม่สำเร็จตรงนั้นแล้วแก้ปัญหา รุ่นต่อไปต้องดีกว่า เพื่อว่าสุดท้ายเราไม่ต้องเข้าไปช่วยตลอด วันหนึ่งทุกคนจะต้องดูแลตนเองได้และรู้จักวิธีเลี้ยงปลา"

ทั้ง 2 โครงการของซีพีเอฟจึงเป็นการให้ที่เพียงพอแต่เกิดประโยชน์ได้ไม่รู้จบ เพราะสิ่งที่นำไปให้สามารถเพิ่มค่าได้ เพียงแค่องค์กรเริ่มคิดจะให้แบบยั่งยืน

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 19/1/2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04190152&day=2009-01-19&sectionid=0221


SBDI เปิดตัวเครื่องมือ CSR

SBDI เปิดตัวเครื่องมือ CSR รับมือมาตรฐานความรับผิดชอบ

แม้ ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในวันนี้อาจจะเป็นปัจจัยสำคัญในการฉุดและดึงในการเคลื่อน แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR : corporate social responsibility) ให้ชะลอและลดระดับความสำคัญลง

หากแต่การแถลงข่าว "ทิศทางและกลยุทธ์ซีเอสอาร์ในภาวะวิกฤตปี 2552" ของสถาบันพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน (เอสบีดีไอ) สถาบันที่ให้บริการที่ปรึกษา อบรม วิจัยและจัดทำแผนแม่บท CSR สำหรับองค์กรธุรกิจ เมื่อเร็วๆ นี้ถือเป็น มุมมองอีกด้าน และอีกครั้งที่เป็นการตอกย้ำอีกว่า ในปี 2552 การขับเคลื่อน CSR จะยิ่งเข้มข้นมายิ่งขึ้น

"อนันตชัย ยูรประถม" นักวิชาการ CSR ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน (SBDI) ให้เหตุผลว่า "ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ รวมทั้งบริบทจากภายนอกประเทศและภายในประเทศ คือมาตรฐานและข้อปฏิบัติด้านความรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้นกว่า 300 มาตรฐาน อาทิ ISO 26000 ที่กำลังจะประกาศใช้ มาตรฐานการจัดทำรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน (GRI) ที่กำลังได้รับการส่งเสริม รวมถึงการเกิดขึ้นของการลงทุนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (SRI) ที่กำลังจะเกิดในไทย ล้วนเป็นปัจจัยที่จะเร่งรัดให้องค์กรธุรกิจต้องทบทวนและพัฒนาการทำ CSR อย่างมีทิศทาง โดยบูรณาการแนวคิดเข้าสู่องค์กรและวางแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อสอดรับกับมาตรฐานสากลต่างๆ มากขึ้น"

แต่ปัญหาก็คือในช่วงที่ ผ่านมา CSR ในไทยถือเป็นช่วงบ่มเพาะ และลองผิดลองถูก ทำให้ CSR ขององค์กรส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่กิจกรรมเพื่อสังคม

โดยหากประเมิน สถานการณ์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจที่ขับเคลื่อน CSR เพียงในระดับกิจกรรมเพื่อสังคมถือเป็น กลุ่มใหญ่ที่สุดและมีสัดส่วนถึง 60% รองลงมาเป็นกลุ่มที่ขับเคลื่อน CSR เชิงกลยุทธ์ (strategic CSR) มีสัดส่วนประมาณ 30% ส่วนอีก 10% ที่เหลือคือกลุ่มธุรกิจที่นำ CSR เข้าไปผสานในทุกกระบวนการธุรกิจและ นำไปใช้ในการปรับองค์กรทั้งหมด



เขา ย้ำว่า "การทำกิจกรรมเพื่อสังคมหรือจะขับเคลื่อน CSR ในระดับไหนนั้นไม่ใช่เรื่องผิด แต่เชื่อว่า CSR ที่จะเกิดประสิทธิผลที่สามารถสร้างคุณค่าให้กับทั้งองค์กรและสังคม จนสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและอยู่รอดได้ในภาวะเช่นนี้จำเป็น ต้องบูรณาการแนวคิด CSR ลงไปในการดำเนินธุรกิจทั้งระบบ"

"สมัยก่อน CSR อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการตลาด ส่วนหนึ่งของงานประชาสัมพันธ์ แต่การทำอย่างเป็นระบบ หมายถึงการนำ CSR ไปสู่การพัฒนาทั้งองค์กร โดยเริ่มตั้งผู้นำ การวางนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ จากนั้นจะนำไปแทรกอยู่ในการดำเนินธุรกิจทุกส่วน ฝ่ายการเงินก็ต้องคำนึงถึงรายได้

"ธรรมาภิบาล ฝ่ายปฏิบัติการมากกว่าดูเรื่องการลดต้นทุน ต้องพิจารณาในเรื่อง ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ต้องดูแลไปถึงประเด็นในเรื่อง สิทธิมนุษยชน"

นี่เป็นการ ฉีด CSR เข้าสู่ระบบธุรกิจ !!

"แต่ ปัญหาก็คือที่ผ่านมาองค์กรไทยมักจะไม่มีเครื่องมือและแนวปฏิบัติที่สามารถนำ ไปใช้ได้จริง ที่ผ่านมาสถาบันจึงศึกษาและพัฒนาเครื่องมือที่เรียกว่า corporate sustainability framework หรือกรอบ แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจสามารถนำ CSR ลงไปสู่การปฏิบัติได้จริง สามารถประเมินและวัดระดับการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร และเชื่อมโยงไปยังมาตรฐานต่างๆ ได้เพราะแนวโน้มในขณะนี้มาตรฐานต่างๆ อาจจะกลายเป็นภาระขององค์กร ดังนั้นกรอบแนวคิดนี้จะเป็นตัวกลางในการ เชื่อมโยงองค์กรเข้ากับมาตรฐานต่างๆ"

กรอบที่ว่าประกอบไปด้วย 10 หมวดใหญ่ได้แก่ 1.การนำองค์กรของผู้บริหาร 2.การวางแผนกลยุทธ์ 3.ทรัพยากรมนุษย์ 4.ลูกค้าและตลาด 5.การจัดการกระบวนการ 6.สังคม 7.สิ่งแวดล้อม 8.การวัด วิเคราะห์และการจัดการความรู้ 9.การสื่อสาร และ 10.ผลลัพธ์

"จากการทำงานที่ผ่านมาเราพบว่าไม่มีองค์กรใดเลยที่ไม่มี CSR เพียงแต่เราจะพบว่าเครื่องมือที่เราทำขึ้นจะสามารถทำให้องค์กรมองเห็นจุด อ่อนว่าประเด็นใดที่องค์กรทำแล้วและประเด็นใดที่องค์กรยังไม่ได้ทำ เช่นถ้าพูดเฉพาะหมวดลูกค้าและตลาด เมื่อดูผลิตภัณฑ์ที่บริษัททำ เราอาจจะเคยมุ่งเน้นแค่ในคุณภาพสินค้าธรรมดาหรือมุ่งแต่ลดต้นทุนเพื่อทำกำไร แต่องค์กรอาจจะไม่เคยมองผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างคุณค่าให้กับคุณภาพชีวิตคน หรือสังคม ซึ่งหากวิเคราะห์ในลักษณะนี้ได้ก็จะไปเติมความรับผิดชอบในส่วนที่ขาด และเพิ่ม ประสิทธิผลในการดำเนินธุรกิจ อย่างบริษัทโทรศัพท์ในญี่ปุ่น เอ็นทีที โดโคโม แทนที่จะให้บริการโทรศัพท์มือถือในฐานะเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร แต่เขากลับพัฒนาบริการเพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้ดีขึ้น โดยสามารถเชื่อมโยงความช่วยเหลือไปยังโรงพยาบาล อาสาสมัคร"

"ทั้ง หมดนี้เราไม่ได้บอกให้ธุรกิจเดินออกไปจากวิถีทางที่เคยเป็น ธุรกิจยังคงสามารถสร้างกำไรสูงสุดให้กับองค์กรได้ แต่เป็นการสร้างกำไรสูงสุดบนพื้นฐานของความรับผิดชอบที่ทำให้สังคมและสิ่ง แวดล้อมเสียหายน้อยที่สุด และทำให้สังคมและสิ่งแวดล้อมเติบโตอย่างยั่งยืนคู่กับธุรกิจด้วย"

อย่าง ไรก็ตาม ปัจจัยของการเคลื่อน CSR ในภาวะวิกฤต ที่นำไปสู่ความสำเร็จนั้น จะต้องประกอบไปด้วย 1.ผู้นำต้องมีความเข้าใจแนวคิด CSR อย่างแท้จริง เพราะแม้บางคนเห็นด้วย แต่ไม่เข้าใจในทิศทางที่ถูกต้องก็ไม่เกิดประโยชน์ 2.มีคณะทำงาน CSR (CSR committee) ในกรณีนี้อาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นคณะทำงาน แต่หมายรวมถึงต้องมีผู้รับผิดชอบที่มีอำนาจมากเพียงพอในองค์กรและสามารถ ประสานกับทุกหน่วยในองค์กร 3.ศึกษาและทำความเข้าใจบริบทภายในและภายนอกองค์กร ผ่านมาตรฐานและแนวปฏิบัติต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงให้เข้ากับองค์กรที่สุด 4.มีแผนและแนวทางในการสร้างการเชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้เสีย 5.มีแนวทางและเครื่องมือในการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรที่ยั่งยืน 6.มีการออกแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยไม่ได้สื่อสารผ่านสื่อสู่ภายนอกเท่านั้นแต่ต้องสื่อสารภายในองค์กรและผู้ ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกกลุ่ม และ 7.มีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ (knowledge management) และกระจายความรู้สู่ส่วนงานต่างๆ

โดยทั้งหมด ต้องเริ่มต้นที่องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องทบทวนตัวเอง ไม่ว่าคุณจะเป็นองค์กรที่ทำ CSR อยู่แล้ว กำลังทำ หรือจะทำในอนาคตว่า CSR ที่ทำอยู่นั้นใช่หรือไม่และสามารถตอบโจทย์คลื่นมาตรฐานที่กำลังถาโถมเข้ามา ได้จริงหรือ !!


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 19/1/2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03190152&day=2009-01-19&sectionid=0221

CSR กับการลดคนงานเพื่อความอยู่รอด



โดย ดร.อัศวิน จินตกานนท์ อดีตกรรมการมูลนิธิรักษ์ไทย ที่ปรึกษาอาวุโสมูลนิธิอนุรักษ์พลังงานฯ

ใน ปัจจุบันสื่อวิทยุโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ลงข่าวเศรษฐกิจเกี่ยวกับการลด อัตราจ้างคนงานใน พ.ศ. 2552 และปัญหาการว่างงานของ นักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษาในเดือนเมษายน พ.ศ.2552 จากรายงานของ สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2551 พนักงานตามโรงงานถูกปลดออกจากงาน 70,000 คน และคาดว่าจะมีพนักงานที่ต้องถูกปลดออกอีกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่เกิดจากวิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่า คนงานว่างงานในเดือนตุลาคม พ.ศ.2551 เท่ากับ 450,000 คน และเพิ่มขึ้นเป็น 520,000 คน ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2551

ประเทศ ไทยเคยผ่านสถานการณ์เช่นนี้มาแล้วเมื่อ พ.ศ.2540 เมื่อเกิด "วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง" ที่เริ่มจากสถาบันการเงินของไทย พนักงานธนาคารและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ถูกลอยแพเป็นจำนวนมาก วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นครั้งนั้นเกิดขึ้นจากความโลภของผู้บริหารธุรกิจและ ของสถาบันการเงิน รวมทั้งองค์กรของรัฐที่ดำเนินกิจการอย่างไม่โปร่งใสหรือวางแผนและบริหาร กิจการไม่ดี แต่ผู้ที่ต้องรับกรรมคือพนักงานชั้นผู้น้อยขององค์กรที่ต้องถูกลดเงินเดือน หรือปลดออก เหตุผลที่ผู้มีอำนาจเหล่านั้นให้ในการปลดพนักงานออกก็คือ "เพื่อความอยู่รอดขององค์กร"

ในระยะนั้นมีองค์กรเป็นจำนวนมากที่ไม่ ได้ประสบปัญหาวิกฤตเลย เพราะเป็น องค์กรที่ไม่มีคู่แข่งและมีกำไร เพราะสถานะพิเศษของเขาไม่ใช่เพราะผู้บริหารเก่ง แต่เขาใช้โอกาสนั้นปลดพนักงานเป็นจำนวนมาก "เพื่อความอยู่รอดขององค์กร" ทั้งๆ ที่ได้มีคนพยายามห้ามปรามไว้โดยแนะนำว่าระยะวิกฤตขณะนั้นไม่ใช่เวลาที่เหมาะ สม เพราะคนที่ถูกปลดออกไปก็จะหางานทำยากเนื่องจากคนว่างงานมากมายเหลือเกิน แถมคนที่จะถูกปลดออกเป็นคนที่มีอายุซึ่งหางานในระยะนั้นลำบากมาก เขายังได้รับความอับอายที่ถูกเลือกให้เป็นคนที่จะถูกปลดออก และยังสร้างภาระให้สังคมมากขึ้น สุดท้ายก็คือเขาเป็นคนที่มีความสามารถและเป็นผู้ที่ช่วยสร้างองค์กรนั้นให้ เติบโตขึ้นมา

ผู้บริหารที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมจริงๆ corporate social responsibility (CSR) ควรที่จะคิดถึงประเด็นต่างๆ ที่ผมได้กล่าวถึง แต่น่าเสียดายว่าผู้บริหารไม่ได้เชื่อหรือเข้าใจว่า CSR คืออะไร ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งเข้าใจผิดนะครับ ผมไม่เห็นด้วยกับการปลดพนักงานออกในทุกๆ กรณี ในกรณีที่ไม่มีทางเลือกแล้ว หรืออาจมีความจำเป็นที่จะต้องทำจริงๆ แต่ผู้บริหารควรหาทางออกอื่นก่อน เช่น ลดโบนัสพนักงาน ลดเงินเดือน หรือลดโบนัสผู้บริหารระดับสูง ลดสินค้าคงคลัง ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ฯลฯ ผู้บริหารไม่ควรหลงอำนาจตัวเองจนเกินไป และมีความสุขกับการใช้อำนาจนั้น

ผม ขอเล่าถึงเพื่อนผมคนหนึ่งเป็นชาวสิงคโปร์ชื่อ จิมมี่ เขาเป็นเศรษฐีและเป็น ผู้บริหารของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ เมื่อตอนที่เขาฝ่ามรสุมทางเศรษฐกิจ เขากลุ้มใจมากที่บริษัทของเขาขาดทุนมาก แต่เขาให้นโยบายแก่ ผู้บริหารของเขาไว้ชัดเจนว่า

1.ทางบริษัทจะไม่ยอมผิดนัดในการ ใช้หนี้และจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ธนาคาร เพราะเขาไม่ต้องการให้ชื่อเสียงบริษัทเขาเสีย

2.บริษัทจะทำทุกวิถีทางที่จะไม่ปลด พนักงาน เพราะพวกเขาได้ช่วยสร้างบริษัทมาจนเป็นบริษัทที่รู้จักกันทั่วสิงคโปร์

เขาอาจมีนโยบายอื่นๆ แต่ผมต้องการเน้นเพียงสองข้อนี้

ผู้ บริหารของเขาทำทุกอย่างตั้งแต่การตัดค่าใช้จ่ายในเรื่องการเดินทางระหว่าง ประเทศ เขาลดสินค้าคงคลังจนแทบไม่เหลือ ลดการลงทุนทุกประเภท เขาขอให้พนักงานที่ไม่มีความจำเป็นต้องทำงานเต็มเวลา (บางคนมีสามีหรือภรรยาทำงานที่มีรายได้สูง) ในที่สุดผู้บริหารทั้งหมดนัดประชุมกับจิมมี่ ซึ่งทำให้จิมมี่คิดว่าหมดหนทางแล้ว คงจะต้องปิดบริษัทแน่ๆ พนักงานทุกคนก็ตกใจจึงมารอกันอยู่ที่หน้าประตูห้องประชุม

ในที่ ประชุมเพื่อนผมที่ชื่อ จอนนี่ (จิมมี่ จอนนี่ และผมเรียนปริญญาตรีด้วยกัน) เสนอรายงานว่าคณะกรรมการที่จิมมี่ตั้งขึ้นมามีความเห็นพ้องกันว่า วิธีเดียวที่บริษัทจะไปรอดโดยไม่ต้องปลดพนักงาน ก็คือการตัดเงินเดือนผู้บริหารอีกครั้งหนึ่ง แต่ เนื่องจากจิมมี่ได้รับเงินเดือนสูงที่สุด จิมมี่จะต้องถูกตัดเงินเดือนมากที่สุด ในตอนนี้ พนักงานที่รออยู่นอกห้องประชุมไม่ได้ยินเสียงใดในที่ประชุมนอกจากเสียง หัวเราะ ดังลั่นของจิมมี่

เป็นอันว่าจิมมี่ตกลงกับข้อเสนอของคณะ กรรมการและเศรษฐกิจสิงคโปร์ก็ดีขึ้นตามลำดับจนบริษัทของจิมมี่ก็ดีวันดีคืน และเขาสามารถพาบริษัทของเขาฟันผ่าอุปสรรคมาได้โดยไม่ได้ละเมิดกฎ 2 ข้อที่เขาตั้งไว้

ผู้บริหารควรหาทางที่จะแก้ปัญหาของบริษัทโดยอย่า ใช้สูตรสำเร็จว่า "กำไรลด ให้ปลดพนักงาน" เพียงเพราะความไม่พร้อมที่จะเสียสละความสุขของตนแต่ ผู้เดียว เป็นเรื่องแปลกที่ท่านผู้บริหาร เหล่านั้นไม่คิดว่าการลดค่าใช้จ่ายโดยการลดเงินเดือน การลด

โบนัสอันมหาศาลของเขา และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของเขาจะช่วยลดค่าใช้จ่ายขององค์กรเช่นเดียวกับเงินเดือนของพนักงานชั้นผู้น้อย

นี่แหละครับคือ corporate social responsibility ที่ผู้บริหารทุกคนควรจะมี

ผม ขอเสนอความคิดอีกอย่างหนึ่งว่าปัญหาคนตกงานจะแก้ได้ง่ายๆ นั้นไม่เป็นความจริง นายบารัก โอบามา นำเงินหลายแสนล้านเหรียญอัดฉีดเข้าไปในระบบเศรษฐกิจอเมริกาซึ่งชาวอเมริกัน ยังคาดว่ากว่าเศรษฐกิจอเมริกาจะพ้นปัญหาได้ก็ต้องใช้เวลาอีกหลายปี นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พยายามอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจไทยถึง 300,000 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาและจะแก้ปัญหาอย่างแน่นอน แต่ไม่ใช่ภายใน 2-3 เดือน ที่หลายคนคาดหวัง การแก้ไขปัญหานี้จะต้องใช้เวลาเป็นปีเช่นเดียวกัน


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 19/1/2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02190152&day=2009-01-19&sectionid=0221

SRI จับตา !!

SRI จับตา !! การมาถึงของการลงทุนที่รับผิดชอบในไทย


" ถ้ากระแสการตอบรับจากผู้บริโภคมีผลต่อการผลักดันให้องค์กรธุรกิจต้องดำเนิน ธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม นักลงทุน ก็ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการที่จะช่วยส่งเสริม CSR ให้เกิดขึ้นได้จริงในภาพใหญ่ และเป็นการส่งเสริมให้บริษัทที่ใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้เปรียบในการแข่งขันด้วยการมีต้นทุนที่ต่ำกว่าในการดำเนินธุรกิจ" ผศ.ดร. สุทธิศักดิ์ ไกรสรสุธาสินี นักวิชาการ CSR จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นต่อปัจจัยบวกต่อการขับเคลื่อนแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR : corporate social responsibility) หากการลงทุนที่มีความ รับผิดชอบต่อสังคม (social reponsible investment) เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย

จาก ความพยายามขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างเป็นจริงเป็นจังของหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง อาทิ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ฯลฯ ในขณะนี้

ถ้า ดูแนวโน้มที่เกิดขึ้นทั่วโลกในวันนี้จะเห็นว่า กองทุนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (SRI fund) ที่คำนึงถึงการลงทุนในธุรกิจที่ใส่ใจต่อเรื่องสิ่งแวดล้อม (environment) สังคม (social) และธรรมาภิบาล (governance) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า ESG ของธุรกิจ ประกอบกับผลตอบแทนทางการเงินและความเสี่ยง กำลังมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นมาทัดเทียมกับการลงทุนในกระแสหลัก (mainstream) ที่คำนึงเพียงผลตอบแทนที่สูงที่สุด

SRI ทางเลือกการลงทุน

เฉพาะ สหรัฐอเมริกา ประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนใน SRI ที่ใหญ่ที่สุดนั้น ในระยะเวลาเพียง 10 ปี มีจำนวนสินทรัพย์ที่เพิ่มมากขึ้นจาก 600 พันล้านเหรียญสหรัฐใน ปี 2538 มาเป็น 2,300 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2548

ศ. ดร.อัญญา ขันธวิทย์ ศาสตราจารย์ในสาขาวิชาการเงินการธนาคาร จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉายภาพถึงการเติบโตของ SRI ไว้ระหว่างงานสัมมนา "ลงทุนดี มีสุขใจ ได้มูลค่า" ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ว่า "อัตราการเติบโตของสินทรัพย์ที่ลงทุนในสหรัฐอเมริกาถือเป็นการเติบโตที่เร็ว มาก แม้ว่าสมัยก่อนจะยังทำด้วยความสมัครใจและไม่มีรัฐบาลหรือองค์กรพัฒนาเอกชน ให้ความสนใจเรื่องนี้เท่าใดนัก ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันที่รัฐบาลในหลายประเทศเริ่มออกกฎหมายบังคับทั้งทาง ตรงและทางอ้อมให้การลงทุนต้องพิจารณาถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวด ล้อม ในเอเชียก็เริ่มมีประเทศที่ให้ความสำคัญอย่างญี่ปุ่น เกาหลี ในไทยเองยังมีไม่มากนัก แต่ก็หวังว่าจะโตขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้ลงทุนส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้ลงทุนสถาบัน"



สำหรับ การเติบโตของกองทุนเหล่านี้ ไม่เพียงเกิดขึ้นเพราะนักลงทุนส่วนหนึ่งพึงพอใจต่อคุณค่าที่ได้รับจากการลง ทุนในธุรกิจที่จะสร้างผลดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่มผู้ลงทุนที่เชื่อว่า การลงทุนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมยัง ส่งผลถึงอัตราผลตอบแทนที่มากขึ้นด้วย

ลบข้อกังขาผลตอบแทนต่ำ

" จากการศึกษาของประเทศอื่นพบว่า การลงทุนใน SRI ไม่ได้ด้อยไปกว่าการลงทุนในกระแสหลัก อย่างมีนัยสำคัญและบางครั้งผลตอบแทนนั้นเหนือกว่าด้วยซ้ำ เพราะ SRI ก็คือการลงทุนที่พิจารณาผลตอบแทนทางการเงินและความเสี่ยงเช่นเดียวกับการลง ทุนตามปกติ แต่ใช้ปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจจัยทางการเงินในด้าน ESG พิจารณาประกอบ" ศ.ดร.อัญญากล่าว

และชี้ให้เห็นว่าจากการศึกษาเชิง ประจักษ์ของไทย ผ่านกรณีศึกษาจากการลงทุนของกองทุนรวมภายใต้หลักศาสนาอิสลาม หรือ "อิสลามิก ฟันด์" ซึ่งถือเป็น SRI รูปแบบหนึ่งที่มีความเข้มข้นมากกว่า SRI ปกติ เพราะยึดหลักศาสนาอิสลามมาเป็นข้อจำกัดในการไม่ลงทุนในกิจการบางประเภทเพิ่ม เติมด้วย เช่น ธุรกิจที่มีผลตอบแทนจากดอกเบี้ย ธุรกิจที่สร้าง ผลตอบแทนในระยะสั้นในลักษณะการเก็งกำไร ฯลฯ โดยศึกษาอัตราผลตอบแทน รายเดือนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2544-พฤศจิกายน 2550 พบว่า "การลงทุนที่ใช้หลักการทำดีและยังอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของศาสนาอิสลาม ก็ไม่ได้ให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงที่แตกต่างจากการลงทุนในกระแสหลัก อย่างมีนัยสำคัญ โดยหลังจากปรับค่าความเสี่ยงแล้ว กองทุนนี้ให้อัตราผลตอบแทนเกินกว่าค่าปกติประมาณ 1% ต่อเดือน หรือ 12% ต่อปี ซึ่งผลที่เกิดขึ้นนี้เป็นข้อพิสูจน์ถึงข้อกังขาที่นักลงทุนหลายคนจะกังวลว่า การลงทุนในลักษณะนี้จะให้ผลตอบแทนในระดับที่ต่ำกว่าการลงทุนในแบบปกติ" ศ.ดร.อัญญากล่าวในที่สุด



ว่าด้วยหลักสากล UN PRI

ปัจจุบัน หลักการลงทุนที่มีความรับผิดชอบยังได้รับการยอมรับในระดับสากล ที่สหประชาชาติ (United Nation) ได้เสนอหลักการการลงทุนที่มีความรับผิดชอบ (principles for responsible investment) ให้นักลงทุนสถาบันไว้เพื่อเป็นหลักปฏิบัติด้วยความสมัครใจ

อาทิ การนำประเด็น ESG เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณา วิเคราะห์ และตัดสินใจลงทุน

" สฤณี อาชวานันทกุล" นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า "ประเด็นสำคัญของ SRI fund ไม่เพียงแต่จะใช้ประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมาเป็นตัวคัดกรองในการตัดสิน ใจลงทุน (investment criteria) เท่านั้น แต่ยังมีอีกหน้าที่สำคัญในการเคลื่อนไหวในฐานะผู้ถือหุ้น (shareholder activism) หากบริษัทที่ไปถือหุ้นอยู่ไม่ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ เช่น เปิดโรงงานใหม่โดยไม่มีมาตรการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นต้น ซึ่งตรงนี้จะเป็นเรื่องที่สำคัญมากและจะเป็นของจริงในการผลักดันให้บริษัท ใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม"

ความท้าทายก้าวแรก SRI ไทย

สำหรับ ความเคลื่อนไหวในการผลักดันให้เกิด SRI fund ในไทยนั้น แม้ในด้านหนึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่ดี แต่ประเด็นที่นักวิชาการอย่าง "สฤณี" และ "ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์" เห็นตรงกันก็คือ การจัดทำ SR index หรือเกณฑ์ในการกำหนดว่าบริษัทใดเป็นบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ถือเป็นประเด็นอ่อนไหวที่ต้องระมัดระวัง

เรื่องนี้ "ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์" กล่าวว่า "จุดที่อ่อนไหวมากก็คือวันนี้ เรามองว่า CSR หมายถึงอะไร ถ้าเรามองว่าบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเพียงการกำหนดสัดส่วนของ การบริจาค ก็จะเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะฉะนั้นเวลาพิจารณาต้องอิงมาตรฐานสากล ซึ่งขณะนี้แต่ละมาตรฐานมีจุดร่วมที่เหมือนกันในการดูแลความรับผิดชอบให้ครบ ทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น OECD ISO 26000 ที่ดูตั้งแต่สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติอย่างเป็นธรรม สิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อลูกค้า เป็นต้น ถ้าไม่ระมัดระวังตรงจุดนี้ การผลักดันให้ SRI ก็จะไม่เกิดประโยชน์กับการขับเคลื่อน CSR"

ขณะที่ "สฤณี" เชื่อว่า "แนวทางในการสร้างเกณฑ์ของกองทุนที่มีความรับผิดชอบนั้นมี 2 แนวทาง 1.การสร้างโดยหน่วยงานที่กำกับดูแล SR index ซึ่งแนวทางนี้จะใช้ระยะเวลานาน และถ้าเราดูหน่วยงานอย่างตลาดหลักทรัพย์ฯและ ก.ล.ต. ก็ยังไม่มีความเข้าใจ CSR ที่ชัดเจน ถ้าความรู้ของทางการไม่ดีพอ การกำหนดเกณฑ์เพื่อให้เกิด SRI ก็อาจจะไม่เกิดผล ที่สำคัญใช้ระยะเวลานาน 2.การให้กองทุนสร้างดัชนีกันเอง แต่ในขณะนี้ยังติดเกณฑ์ของทาง ก.ล.ต.ที่ทำให้กองทุนรวมไม่สามารถอ้างอิงกับดัชนีของตัวเอง นอกจากดัชนีที่ตลาดหลักทรัพย์ฯรับรอง โดยหลักการสากล ก.ล.ต.ไม่ควรจำกัดขอบเขตของดัชนีของกองทุน แต่ควรมีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุน เช่น สนับสนุนงบประมาณในการจัดทำดัชนี แก้ไขเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรค ฯลฯ"

เส้น ทางของ SRI ในไทยจึงยังเต็มไปด้วยประเด็นที่ท้าทาย ที่ผู้ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องรับฟัง เพราะไม่เช่นนั้น SRI ก็จะเป็นเพียงพลุที่ถูกจุดขึ้น แต่ไม่ได้เป็นกลไกที่นำไปสู่การสร้างให้เกิดการขับเคลื่อนของ CSR ในทิศทางอันจะเกิดประโยชน์กับธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้จริง !!


ทีี่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 19/1/2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01190152&day=2009-01-19&sectionid=0221

กล่องของขวัญทางความคิด

กล่องของขวัญทางความคิด ที่ช่วยสร้าง Children Social Responsibility (CSR)

หลาย ครั้ง...หลายครา ในแวดวงผู้ใหญ่ใจดี...มีการร่วมใจกันคิดสิ่งดีๆ เพื่อเด็กอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย (ไม่ว่าจะเป็นการร่วมประชุมหารืออย่างเป็นทางการ การส่งต่อความคิดดีๆ ให้กันผ่านอินเทอร์เน็ตหรือโทรศัพท์ แม้กระทั่งการพูดคุยกันใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ที่โรงเรียน) ในวาระวันเด็ก...2552 นี้หลากหลายความคิดได้ถูกนำมาประมวลและถูกจัดเป็นกระบวน "กล่อง ของขวัญทางความคิด" ที่อาจช่วยสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของเด็ก (children social responsibility : CSR)1 ที่หวังว่าจะมีการพัฒนาต่อยอดส่งเสริมให้เป็นนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องอย่างจริงจัง หรือพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะของเด็กๆ2 เองจากประกายฝันของพวกเขา

กล่องที่ 1 : เกมสร้างเมืองคนดี4 (ผสมผสานการส่งเสริมการคิดดี ทำดี มีคุณธรรม แบบเนียนๆ) : เป็นแนวคิดการพัฒนาและเชื่อมโยงเด็กดีมีคุณภาพกับองค์กรภาครัฐและเอกชนที่ดี ดังนั้น การสื่อสารการกระทำดังกล่าวแบบอย่างแบบเนียนๆ ผ่านเกมสนุกๆ ในเมืองที่เด็กสามารถเข้าไปสร้างได้แบบฉลาดคิด สร้างไป ทำดีไปด้วย แถมได้ความรู้ความเข้าใจว่าผู้ใหญ่ในองค์กร หน่วยงานต่างๆ ที่ประกอบเป็นเมืองในวันนี้ทำหน้าที่พลเมืองดีและรับผิดชอบต่อสังคมกันอย่าง ไร การสะสมแต้มคะแนนการทำดีในการเล่นเกม พร้อมที่จะเป็นข้อกำหนดการรับเด็กๆ กลุ่มที่เป็น CSR Junior นี้เข้าฝึกงานหรือร่วมทำงานกับหน่วยงานที่มี CSR เป็นองค์ประกอบภารกิจองค์กรในเนื้อแท้ต่อไป

กล่องที่ 2 : วิชาใหม่แสนสนุก : กล่องใบนี้คล้ายกระเป๋านักเรียน ซึ่งเมื่อเปิดฝากระเป๋า เด็กๆ จะพบกับเนื้อหาในกระเป๋าที่แสนสนุก สะดุดตา

1. "วิชาหน้าพลเมืองดี4 มีคุณธรรม และรับผิดชอบต่อสังคม" วิชานี้จะได้เรียนจากตัวอย่างจริงในสังคม เพื่อมุ่งสร้างเด็กในลักษณะ individual social responsibility (ISR)5

2. แบบฝึกหัดคณิตศาสตร์บูรณาการ6 : ผ่านโจทย์เลขที่มุ่งบูรณาการความรู้ทุกวิชา (สังคม วิทยาศาสตร์ ภาษาไทยและอังกฤษ อ่านจับใจความ ฯลฯ) อย่างมีนวัตกรรม สนุก เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัยของเด็ก และได้ความรู้หลากหลายด้านจากตัวอย่างจริง เช่น สิ่งแวดล้อม7 การช่วยเหลือสังคม การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นต้น พร้อมมีตัวช่วยที่ทันสมัยที่คุณครูจะสามารถไป download package สนุกๆ จาก portal website และพร้อมนำมาสอนได้ทันที

กล่องที่ 3 Good Book บันทึกความดีของหนู8 (ควรทำแบบสมัครใจ) : ลักษณะเป็น scrap book ทำมือของเด็กๆ ที่มีรูปแบบสวยงาม unique เพื่อสะสมสิ่งดีๆ ของเด็กแต่ละคนได้ทำอย่างเป็นระบบ หรืออาจพัฒนาเป็น template พร้อมใช้เพื่อบันทึกความดี การช่วยเหลือสังคมและคนรอบข้าง (ในแต่ละวัน) ตั้งแต่เป็นเด็กจนเป็นผู้ใหญ่

กล่องที่ 4 เกมบันไดงูแนะแนวอาชีพ9 : "โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไรคะ ?" เป็นคำถามที่ตอบได้ยากสำหรับเด็กหลายๆ คน และผู้ใหญ่หลายคนก็ไม่สามารถที่จะชี้ทางสว่างช่วยเด็กๆ ได้ มีเกมดีและสนุก (ที่ผู้ใหญ่ใจดีร่วมกันทำ) เป็นไฟที่ฉายให้เด็กตาม ช่วงวัยอันเหมาะสมที่เด็กๆ สามารถเล่นไปกับคุณครูแนะแนว หรือกับผู้ปกครอง คาดว่าตะกอนความคิดเกี่ยวกับอาชีพของเด็กๆ น่าจะถูกกรองออกมาได้บ้าง และการเรียนและได้ทำงานในสิ่งที่เด็กรักจะนำมาซึ่งสังคมแบบ creative economy ที่ไม่ หยุดยั้ง

กล่องที่ 5 การ์ดสุขภาพดี10 : เปิดกล่องนี้จะพบระบบ Smart Card บันทึกภาวะโภชนาการของเด็กในสถานศึกษา และทุกสิ้นภาคเรียนจะรายงานผลภาวะการเลือกรับประทานอาหารและสารอาหารที่เด็ก ได้รับ (ที่โรงเรียน) ใน 1 เทอม พร้อมส่งให้ผู้ปกครองทราบพร้อมสมุดพก การ์ดนี้เหมาะสำหรับโรงเรียนที่ให้เด็กเลือกซื้ออาหารกลางวันด้วยตนเองและมี ระบบ การซื้อขายอาหารที่เป็นระบบปิด (ภาคธุรกิจที่เกี่ยวกับสุขภาพซึ่งมีองค์ความรู้ในด้านโภชนาการเด็กมีความ ประสงค์จะช่วยสร้างสรรค์การ์ดนี้)

กล่องที่ 6 นโยบายสาธารณะของเด็ก : การฝึกคิด ฝึกจินตนาการ รังสรรค์นวัตกรรมทางสังคมใหม่ ประกวดกันได้รางวัลด้วย หากผู้ใหญ่ช่วยกันสร้างเวที11 กรณีสิ่งแวดล้อม (ด้านอากาศ) น้องเอิร์น ไม่อยากให้กรุงเทพฯ มีฝุ่น ทำอย่างไรดี คุณครูอาจถามความคิดจากเด็ก และมอบหมายงานให้ค้นคว้า...น้องเอิร์นไปพบว่าหากเราปลูกพืชที่มีใบที่มี ลักษณะดักฝุ่นได้มากและอาจส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ (ที่ช่วยลดโลกร้อนได้ด้วย) กรณีสิ่งแวดล้อม (ด้านน้ำ) น้องเอื้องคิดแผนลดมลพิษที่เกิดจากแก้วกาแฟของคุณแม่ โดยให้คุณแม่ดื่มน้ำหลังดื่มกาแฟทุกครั้ง โดยเทน้ำเปล่าลงไปในแก้วกาแฟนั้น เศษกาแฟก้นแก้วก็จะไม่ทำความสกปรกให้แม่น้ำและลำคลอง

และของขวัญ ทั้ง 6 กล่องนี้จะช่วยสร้าง children social responsibility เมื่อเติบใหญ่จะกลายเป็น corporate social responsibility ได้อย่างสมบูรณ์นั้นอยู่ที่การได้รับการดูแลเอาใจใส่จากทุกภาคส่วนในสังคม ภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม

ที่มา

1 "...C..." ในคำว่า CSR หรือ corporate social responsibility มิได้หมายถึง บริษัทแต่เพียงอย่างเดียวแต่ยังหมายรวมถึง กลุ่มคนอื่นๆ ที่มีการอยู่รวมกัน..." คุณมัชฌิมา กุญชร ณ อยุธยา ที่ปรึกษาด้านกิจกรรมเพื่อสังคมตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

2 องค์กรตัวอย่างที่ดำเนินการส่งเสริมในปัจจุบัน เช่น สภาองค์กรพัฒนาเด็กและเยาวชน / โครงการ CSR4Children เป็นต้น 3 คุณนาวิน เหมรัชตานนท์ บริษัท ยู พีแอล กรุ๊ป จำกัด / คุณสุกิจ อุทินทุ กลุ่มบริษัท Minor 4 จากการเดินสายจัดสัมมนา CSR Campus ทุกจังหวัดของสถาบันไทยพัฒน์พบว่ามีความต้องการให้นำวิชาหน้าที่พลเมืองกลับ เข้ามาบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนของเด็กอย่างเป็นรูปธรรมอีกครั้ง 5 คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย กล่าวเน้นประเด็นสำคัญในการพัฒนาตัวบุคคล เยาวชน

6 /10 โครงการ CSR ส.ส.ส. 7 ดร.ไชยยศ บุญญากิจ สถาบัน สิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า การรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้ผลนั้น ต้องบรรจุให้อยู่ในการศึกษาของเด็กอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นความต้องการของเด็กในสภาเด็ก 8 /9 คุณสุกิจ อุทินทุ และโครงการ CSR ส.ส.ส. 12 คุณพิมพร ศิริวรรณ

หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 12/1/2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05120152&day=2009-01-12&sectionid=0221



ซีเอสอาร์ "เมคเกอร์โฮม"

ซีเอสอาร์ "เมคเกอร์โฮม" สร้างบ้าน สร้างคน สร้างองค์กร


ความ ท้าทายของการทำกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างหนึ่งคือ ทำอย่างไรให้กิจกรรมที่จะทำเกิดประโยชน์สูงสุดกับคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน บริษัท หรือสังคม สิ่งแวดล้อม ทั้งหมดที่ว่านี้ กิจกรรมซีเอสอาร์ของบริษัทรับสร้างบ้าน อย่าง "เมคเกอร์โฮม" มีครบ โดยปลายปีที่ผ่านมาบริษัทได้จัดกิจกรรม ซีเอสอาร์ในกิจกรรม Makerhome Creativity Challenge ภายใต้แนวคิด Build for the Champion โดยให้พนักงานร่วมกันออกแบบการสร้างบ้านพักครู จากนั้นจึงหาผู้ชนะเพื่อสร้างบ้านครูให้กับศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จังหวัดนครนายก จำนวน 3 หลัง เนื่องจากก่อนหน้านี้เคยบังเอิญไปพบว่าบ้านพักครูอยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสม และขาดงบประมาณในการดูแล จึงเกิดเป็นโครงการสร้างบ้านพักครูขึ้น โดยเลือก ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติเป็นจุดเริ่มต้น

"ในฐานะที่เป็นบริษัทรับ สร้างบ้านที่มีความชำนาญและยึดถือซีเอสอาร์เป็นหลักในการทำงาน ความท้าทายจึงไม่ได้อยู่ที่แค่เพียงการจัดทำโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อ สาธารณะภายใต้ความชำนาญของตนเอง แต่โครงการจะต้องมีประโยชน์กับองค์กรและส่วนรวมไปพร้อมกันด้วย" พันธุ์เทพ ทานชิติกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมคเคอร์โฮม จำกัด กล่าว

เมื่อ โจทย์คือการสร้างบ้านที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่ต้องมีความสุนทรียศาสตร์ใน งานออกแบบ พื้นที่มีความยืดหยุ่น สามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้และใช้งบประมาณที่เหมาะสม พนักงานที่มีอยู่ 6 ทีม ทีมละ 6 คน ก็ใช้เวลาที่มีอยู่ 1 เดือนกว่าๆ ร่วมกันออกแบบบ้านที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด จากนั้นตัวแทนจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์จะ คัดเลือก 3 ทีมเพื่อจะสร้างบ้านที่สามารถอยู่ได้จริงในพื้นที่ที่เตรียมไว้ โดยผู้ชนะทั้ง 3 ทีมส่วนใหญ่เลือกใช้วัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติและสร้างบ้านตามวิถีของความพอ เพียงตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อบ้านสร้างเสร็จก็ตัดสิน ในวันส่งมอบ ผู้ชนะได้แก่ ทีมเซอร์ไวเวอร์ ทีมคุณพระช่วย และทีมสโลว์บัดชัวร์ตามลำดับ และส่งมอบไปเมื่อต้นเดือนธันวาคมเรียบร้อยแล้ว

ผู้ เข้าร่วมโครงการทุกคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า รู้สึกดีใจที่บริษัทเปิดโอกาสให้พนักงานได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และเกิดความท้าทายในการทำงานและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รวมทั้งการทำงานร่วมกับผู้อื่น

กิจกรรมนี้นอกจากจะใช้ประโยชน์จาก ความชำนาญในการสร้างบ้านของบุคลากรในองค์กรแล้ว ยังได้ประโยชน์ในแง่ของการช่วยเชื่อมความสัมพันธ์ภายในองค์กร การทำงานเป็นทีม ซึ่งนำไปสู่การสร้างผลงานขององค์กรที่จะช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจใน ขั้นตอนการปฏิบัติงานจริง พร้อมสร้างประโยชน์แก่สังคมโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่ฉีกการทำซีเอสอาร์ที่มีแต่การบริจาค

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่12/1/2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04120152&day=2009-01-12&sectionid=0221


ทบทวน CSR ในวิกฤต

ทบทวน CSR ในวิกฤต เตรียมองค์กรรับมือความเสี่ยง

แม้ จะมีการประเมินว่า แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) จะเป็นหนึ่งในทิศทางที่องค์กรนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารการตลาดในปี 2552 แต่ในความเป็นจริง การสักแต่จะทำกิจกรรมเพื่อสังคมและนำมาประชาสัมพันธ์เพื่อ สร้างภาพองค์กรให้ดูดีนั้น เป็นคำตอบของการขับเคลื่อน CSR ในองค์กรจริงหรือ

" ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับ "ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ" นายกสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ถึง "ทิศทางการสื่อสารในปี 2552 เพื่อจะก้าวข้ามวิกฤต" และเขายืนยันว่า การประชาสัมพันธ์ภาพกิจกรรมเพื่อสังคมเพียงชั่วครั้งชั่วคราว นั้นไม่ใช่คำตอบทั้งหมด

ดร.พจน์บอกว่า "แม้เราจะไม่ได้ปฏิเสธว่าทำกิจกรรมเพื่อสังคมแล้วประชาสัมพันธ์ไม่ได้ เพียงแต่ต้องพอเหมาะพอสม ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า การบริหารภาพลักษณ์กับการสร้างภาพนั้นต่างกัน ซึ่งขึ้น อยู่กับองค์กรว่าจะให้น้ำหนักทางไหน และเชื่อว่าองค์กรทำอะไรก็ได้อย่างนั้น ถ้าเราทำกิจกรรมเพื่อสังคมแค่เพื่อต้องการสร้างภาพ และผลที่เกิดระยะสั้น ผมว่ามันไม่เกิด แต่ CSR จะมาช่วยบริหารภาพลักษณ์ขององค์กรในระยะยาวมากกว่า"

และนั่นหมายความ ว่า ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องทบทวนอย่างหนักหากจะตัดสินใจชะลอการขับเคลื่อน CSR ในองค์กร เพราะเขาเชื่อว่า CSR ไม่ใช่เรื่องที่สามารถทำแล้วประสบความสำเร็จในช่วงข้ามคืน หากเป้าหมายอยู่ที่การเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร

เขาอธิบายว่า "CSR ถือเป็นการบริหารความเสี่ยง (crisis management) อย่างหนึ่ง ดังนั้นยิ่งในภาวะวิกฤตที่มีความเสี่ยงสูง องค์กรจึงละทิ้งเรื่องเหล่านี้ไม่ได้ เพราะ CSR ก็เป็นเหมือนบุญเก่าที่ต้องสะสมและจะช่วยองค์กร เมื่อเกิดความผิดพลาด ลูกค้าและคนในสังคมก็พร้อมที่จะให้อภัย หรือถ้าถูกใส่ความเราก็จะมีโอกาสที่จะอธิบายให้เขาเข้าใจได้ง่ายขึ้น ผมว่าความเติบโตขององค์กรใครๆ ก็คงอยากได้ แต่การจะเติบโตอย่างมั่นคงและอยู่ในใจคนตลอดไปต้องใช้เวลา"

"องค์กร ก็เหมือน personal brand การเป็นคนดีของสังคมไม่มีใครปฏิเสธอยู่แล้ว ถ้าคุณบอกว่าบริษัทไม่มีงบประมาณ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำไม่ได้ เพียงแต่ต้องปรับวิธีคิดในการทำ CSR และทำแบบเดิมๆ ไม่ได้ ก็เท่านั้น"

ดัง นั้น สิ่งที่ ดร.พจน์แนะนำว่า ในการขับเคลื่อน CSR ในวันนี้ไม่ได้เป็นการใช้ งบประมาณมากๆ ในการสร้างอะไรใหม่ แต่เป็นการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการองค์กรสู่รูปแบบใหม่ (new model management) และการดำเนินโครงการเพื่อสังคมที่เป็นภาวะเร่งด่วนของสังคม

ใน เรื่องแรก เขาอธิบายว่า "CSR ที่ดีที่สุดคือ การเข้าไปอยู่ในทุกระบบและทุกส่วนของการบริหารจัดการองค์กรสมัยใหม่ และเป็นจุดหนึ่งที่ใช้ในการขับเคลื่อนองค์กร เพราะ CSR จะต้องขับเคลื่อนโดยตัวเอง CSR จะต้องขับเคลื่อนโดยพฤติกรรม การกระทำ จึงจำเป็นที่จะต้องให้ทุกหน่วยงานเรียนรู้ ไม่ใช่แค่ปฏิบัติกิจกรรม แต่พนักงานในองค์กรจะต้องเข้าใจแนวคิดที่แท้จริง"

"ในวิกฤตเช่นนี้ องค์กรต้องกลับไปดูที่ วิธีคิด นโยบายด้านโครงสร้างว่าองค์กรจะสามารถตอบสนองสังคมส่วนไหน และจำเป็นต้องให้คนในองค์กรได้เรียนรู้ถึงมิติทางสังคมมากขึ้น ในงานที่เขาทำอยู่ แทนที่ฝ่ายการตลาด จะได้เรียนรู้พฤติกรรมผู้บริโภคอย่างเดียวแต่เขาก็ต้องเรียนรู้พฤติกรรม สังคมด้วย หรือ สินค้าบริการที่จะตอบสนองประโยชน์ของสังคม ซึ่งขึ้นอยู่กับวิธีคิดว่าจะนำมาเชื่อมโยงได้อย่างไร"

เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อาจจะยอมลดกำไรลงส่วนหนึ่ง และอาจทำโครงการในลักษณะที่สามารถช่วยให้คนที่มีโอกาสเข้าถึงบ้านได้น้อยลง สามารถซื้อบ้านได้ในราคาที่ถูกลง ธุรกิจโรงแรมที่เริ่มมีการลดจำนวนวันทำงานของพนักงานก็อาจจะใช้เวลาที่เหลือ ของพนักงานมาช่วยเพิ่มทักษะให้กับนักเรียน นักศึกษา ฯลฯ ซึ่งกำลังจะเรียนจบเพื่อเพิ่มโอกาสในการมีงานทำในอนาคต

สำหรับเรื่องที่ 2 การดำเนินโครงการเพื่อสังคมที่เป็นภาวะเร่งด่วนของสังคม

" ทุกวันนี้เราต้องยอมรับว่า โครงสร้างทางการเมืองมีผลต่อการแก้ไขปัญหาสังคมอย่างลึกซึ้งไม่มี แต่เราสามารถพึ่งภาคเอกชนได้ และหลายอย่างไม่ต้องรอ นโยบาย จากการทำวิจัย "ภาพลักษณ์ประเทศไทย" ที่ผ่านมาของสมาคมเรา เห็นว่าในปี 2551 คะแนนทุกด้านต่ำกว่า 5 ทุกด้านจากคะแนนเต็ม 10 ทั้งด้านการเมือง ความเชื่อมั่น และสังคมและคิดว่าไม่อยากเห็นประเทศไทยต่ำกว่าเกณฑ์ที่เป็นอยู่ในวันนี้ไป อีก"

"ที่ผ่านมาเวลาองค์กรจะช่วยเหลือสังคมหรืออะไรก็ตาม เรามักให้เหตุการณ์เป็นตัวกำหนด อย่างที่เห็นในเหตุการณ์ธรณีพิบัติ สึนามิ เมื่อหลายปีก่อน แต่ในความเป็นจริงวิกฤตเศรษฐกิจที่จะเกิดในปีนี้จะรุนแรงและเลวร้ายกว่าสึนา มิ และมีคนที่ได้รับผลกระทบมากกว่าอีก ถ้าเรามองปัญหาทางสังคมที่อย่างน้อยที่สุดก็จะมีคนจำนวนกว่า 1 ล้านคนที่จะต้องตกงาน ซึ่งจะส่งผลกระทบตามมาถึงครอบครัว การศึกษา ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่ธุรกิจต้องเข้ามาช่วย ดังนั้นเราจะทำ CSR แบบเดิมๆ ไม่ได้ เราไม่ได้บอกว่าให้องค์กรเลิกทำในกิจกรรมที่ทำอยู่เพียงแต่ต้องจัดลำดับความ สำคัญและให้น้ำหนักกับประเด็นเหล่านี้มากขึ้น"

"สิ่งที่น่ากลัว วันนี้ก็คือ เราได้คุยกับหลายองค์กรที่บอกว่าอาจจะชะลอตัวเรื่องงานด้านสังคม ซึ่งผมมองว่าในภาวะอย่างนี้มันชะลอไม่ได้ เพียงแต่ต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ บางทีการทำ CSR อาจจะเป็น zero budget ก็ได้ เพราะเราสามารถใช้ทรัพยากร คน ข้อมูลที่องค์กรมีอยู่"

เพียงแต่องค์กรธุรกิจจะต้องตีโจทย์ให้แตกว่า ในท้ายที่สุด ความถนัดขององค์กรคืออะไร และความสนใจของผู้บริโภคคืออะไร อยากให้ทบทวนและมองว่า ประเทศนี้กำลังต้องการอะไร

เพราะในท้ายที่สุดการไม่ละทิ้ง สังคมในช่วงวิกฤตเช่นนี้ จะเป็นอีกบทพิสูจน์ว่า องค์กรนั้นๆ มีความจริงจังและจริงใจมากน้อยแค่ไหน !!


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่่ 12/1/2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03120152&day=2009-01-12&sectionid=0221

เหลียวหลังแลหน้า ซีเอสอาร์ ปี 2552

เหลียวหลังแลหน้า ซีเอสอาร์ ปี 2552 From "Strategic CSR" to "Creative CSR"

พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์
กล่าวว่า ใน ปี 2551 ที่ผ่านพ้นไป กระแสแห่งความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ หรือที่สถาบันไทยพัฒน์ เรียกว่า "บรรษัทบริบาล" หากจะเปรียบเหมือนดวงไฟ ก็ต้องบอกว่าได้จุดติดไปในทุกวงการเป็นที่เรียบร้อยโรงเรียนซีเอสอาร์อย่าง โชติช่วงชัชวาล

ในแวดวงธุรกิจ ไม่มีองค์กรใดที่ไม่รู้จักคำว่า ซีเอสอาร์ รวมไปถึงพนักงานที่อยู่ในองค์กรเองต่างก็พร้อมใจกันขวนขวายศึกษาหาความรู้ซี เอสอาร์กันอย่างขะมักเขม้น กระทั่งบรรดาหน่วยงานผู้ให้บริการแก่องค์กรธุรกิจเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น นักการตลาด นักสร้างแบรนด์ นักวางกลยุทธ์ นักประชาสัมพันธ์ นักโฆษณา ฯลฯ ต่างก็หยิบฉวยเอาซีเอสอาร์มาเป็นเครื่องมือในการให้บริการลูกค้ากันอย่าง ขนานใหญ่

ในแวดวงการศึกษา สถาบันอุดมศึกษากำลังยกเครื่องวิชาจริยธรรมทางธุรกิจที่มีมาช้านาน เพื่อให้ครอบคลุมเรื่องซีเอสอาร์ในยุคสมัยปัจจุบัน หลายแห่งได้มีการบรรจุวิชาซีเอสอาร์เข้าไว้ในหลักสูตรบริหารธุรกิจ ขณะที่บางแห่งถึงกับเตรียมเปิดเป็นหลักสูตรซีเอสอาร์ทั้งในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท พร้อมทำการเรียนการสอนได้ในปีการศึกษา 2552 นี้เลยทีเดียว

ใน แวดวงราชการ หน่วยงานรัฐหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องซีเอสอาร์ก็ได้ขยับบทบาทตนเองใน การเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนภาคธุรกิจในเรื่องซีเอสอาร์นี้มาตั้งแต่ปีที่ แล้ว และเป็นที่คาดหมายได้ว่าจะมีความต่อเนื่องเข้มข้นยิ่งขึ้นในปีนี้ ขณะที่รัฐวิสาหกิจหลายแห่งได้มีการบรรจุเรื่องซีเอสอาร์ไว้เป็นวาระการ ดำเนินงานหลักขององค์กรควบคู่กับการดำเนินธุรกิจ บางแห่งได้มีการปรับเปลี่ยนทั้งวิสัยทัศน์ พันธกิจ คุณค่า และเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อให้สะท้อนถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของรัฐวิสาหกิจ นั้นๆ กันอย่างชัดแจ้งอีกด้วย

หากย้อนมองพัฒนาการของซีเอสอาร์ในปีที่ผ่าน มา จะพบว่า นอกจากที่องค์กรธุรกิจได้ให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อมกันอย่างถ้วนหน้า แล้ว จุดเน้นอีกประการหนึ่งที่องค์กรธุรกิจซึ่งมีการดำเนินกิจกรรม ซีเอสอาร์อยู่แล้วได้ให้ความสำคัญไม่แพ้กัน ได้แก่ การพัฒนาซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ หรือ strategic CSR ซึ่งมีองค์ประกอบสองส่วนสำคัญ คือ การให้ความสำคัญกับความ ต้องการของสังคม (ฝั่งอุปสงค์) และการคำนึงถึงความเชี่ยวชาญขององค์กรในการตอบสนองต่อประเด็นทางสังคม (ฝั่งอุปทาน)

ในองค์ประกอบแรกที่เป็นการสำรวจความต้องการของสังคม หรือชุมชนในพื้นที่ที่องค์กรต้องการเข้าไปดำเนินงานนั้น เป็นลักษณะของการวิเคราะห์ในแบบ outside-in ซึ่งคล้ายคลึงกับการดำเนินงานทางธุรกิจ ที่องค์กรจำต้องสำรวจความต้องการของตลาดหรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ก่อนที่จะพัฒนาหรือลงมือผลิตสินค้าและบริการสู่ตลาดนั้นๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จของผลิตภัณฑ์

ด้วยเหตุนี้ การดำเนินงานซีเอสอาร์ที่มีการพิจารณาถึงปัญหาของชุมชนหรือประเด็นทางสังคม ที่แท้จริง จะทำให้ได้มาซึ่งประสิทธิผล (effectiveness) ที่สูงกว่าการที่องค์กรนึกอยากจะช่วยเหลือสังคมแล้วนำอะไรต่อมิอะไรไปมอบให้ ด้วยคาดคะเนเอาว่าชุมชนหรือสังคมจะได้รับประโยชน์จากเจตนารมณ์ที่ดี และการลงมือทำดีของตนเอง โดยที่ไม่ยอมให้ใครมาท้วงติงกิจกรรมความดีนั้นได้อีกต่างหากเพราะยึดหลักว่า "ฉันทำซีเอสอาร์แล้ว จะมาอะไรกับฉันอีก"

ในองค์ประกอบที่สองเป็นการ สำรวจขีดความสามารถหรือทรัพยากรที่องค์กรมีอยู่ ว่าสามารถเข้าไปดำเนินงานซีเอสอาร์นั้นได้ดีเพียงใด เป็นลักษณะของการวิเคราะห์ในแบบ inside-out ซึ่งคล้ายกับการวิเคราะห์ SWOT ในทางธุรกิจเพื่อการกำหนดตำแหน่งและการสร้างความสำเร็จขององค์กร และด้วยการประเมินศักยภาพและความเชี่ยวชาญขององค์กรในการตอบสนองต่อประเด็น ทางสังคมนี้ จะทำให้การดำเนินงานด้านซีเอสอาร์ได้มาซึ่งประสิทธิภาพ (efficiency) ที่สูงแก่สังคม เพราะหากสำรวจแล้วพบว่ากิจการยังขาดทรัพยากรหรือความเชี่ยวชาญที่ต้องใช้ใน การดำเนินงาน องค์กรก็จำต้องแสวงหาทรัพยากรจากภายนอกด้วยการร่วมเป็น หุ้นส่วน (partnership) หรือมอบหมายให้หน่วยงานภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ หรือในพื้นที่นั้นๆ ดำเนินงานให้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องลงมือทำเองโดยลำพัง

การ ดำเนินงานซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ด้วยการคำนึงถึงสององค์ประกอบข้างต้น นอกจากที่สังคมจะได้ทั้งประสิทธิภาพ และประสิทธิผลจากการดำเนินกิจกรรม ซีเอสอาร์ขององค์กรแล้ว กิจการยังสามารถวางตำแหน่งองค์กรและสร้างความได้เปรียบในทางธุรกิจที่เหนือ กว่าองค์กรอื่นจากการมอบผลลัพธ์และอรรถประโยชน์ให้แก่สังคมได้อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่เหนือกว่านั่นเอง

สำหรับแนวโน้มของซี เอสอาร์ในปี 2552 นี้ องค์กรธุรกิจที่พัฒนาซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ได้ดีในระดับหนึ่ง จะเริ่มสร้างความแตกต่างทางกลยุทธ์ด้วยการคิดค้นนวัตกรรม (innovation) และแพลตฟอร์มของการทำงานร่วมกัน (collaboration platform) ในการสร้างสรรค์กิจกรรมซีเอสอาร์ และผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสังคม (social-friendly products) ภายใต้แนวทางที่เรียกว่า creative CSR เพื่อสร้างให้เกิดผลกระทบที่เป็นคุณค่าเพิ่ม (value-added impact) แก่สังคมอย่างยั่งยืน

ในเดือนมกราคมนี้ สถาบันไทยพัฒน์จะนำเสนอแนวโน้มซีเอสอาร์ในแนวทาง ดังกล่าวนี้อย่างละเอียด รวมทั้งการเปิดเผยถึงทิศทางซีเอสอาร์ประจำปี 2552 ในประเทศไทย ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยและในสภาวการณ์ที่ทุกธุรกิจต่างก็ต้องปรับตัว เพื่อความอยู่รอดนี้

ดีกรีของซีเอสอาร์ในปีฉลู จะแผ่วลงหรือไม่ และรูปแบบของซีเอสอาร์ที่เหมาะสมในปีนี้ควรจะเป็นอย่างไร

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 12/01/2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s
_tag=02csr02120152&day=2009-01-12&sectionid=0221


ทิศทาง CSR ปี 2552

ทิศทาง CSR ปี 2552 คลื่นของ "มาตรฐานความรับผิดชอบ"


ไม่ เพียงการดำเนินธุรกิจในวันนี้จะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ท้าทายจากปัจจัยวิกฤต เศรษฐกิจที่รุมเร้า แต่ดูเหมือนว่าแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) ที่ในช่วงปีที่ผ่านมา กำลังกลายเป็นกระแสในแวดวงธุรกิจไทย กำลังตกอยู่ในสภาวะที่ท้าทายไม่แพ้กัน

เพราะจากการรวบรวมและประมวล ข้อมูลของ "ประชาชาติธุรกิจ" ตลอดระยะเวลาของปี 2551 ผ่านการสัมภาษณ์ ผู้บริหารองค์กรหลายสิบแห่ง ผ่านการสอบถามผู้เชี่ยวชาญจากทั้งเอเชียและในไทย ไปจนกระทั่งการเก็บข้อมูลและความเคลื่อนไหวบนเวทีสัมมนา CSR ในช่วงเวลาที่ผ่านมา

นั้นพบว่าการดำเนินการ CSR ในไทยกำลังเดินมาถึงจุดที่พลิกผัน จากเดิมที่อาจเคยดำเนินความรับผิดชอบเหล่านั้นด้วยความสมัครใจ

แต่ ถึงวินาทีนี้ชัดเจนอย่างยิ่งแล้วว่า CSR กำลังจะกลายเป็นมาตรฐานการดำเนินธุรกิจใน พ.ศ.นี้ ที่หากไม่ทำนั่นหมายถึงโอกาสในการแข่งขันและการอยู่รอดได้ในเวทีธุรกิจกำลัง ลดน้อยถอยลง

และจากนี้คือ ทิศทางที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) ที่เราเชื่อว่าจะเกิดขึ้นในปี 2552

ซึ่งเป็นโจทย์ที่ยากขึ้นและท้าทายขึ้นสำหรับ "องค์กรธุรกิจไทย"

1.บริษัทลดงบประมาณ-เพิ่มประสิทธิภาพ

แม้ ในองค์กรขนาดใหญ่หลายแห่งจะออกมาประกาศตั้งแต่ช่วงปลายปี 2551 ว่า จะไม่มีการตัดลดงบประมาณในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) หากแต่ในความเป็นจริง ถ้าสแกนองค์กรส่วนใหญ่จะเห็นว่าทิศทางที่ปฏิเสธไม่ได้คือ งบประมาณที่ลดลง อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดในการขับเคลื่อน CSR ในองค์กร

แนวโน้มในปี นี้ หลายองค์กรจึงอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องทำงานขับเคลื่อน CSR อย่างยากลำบากขึ้น ดังนั้นจะเห็นว่าประเด็นในเรื่องของประสิทธิผลจากการดำเนินการโครงการเพื่อ สังคมจึงเป็นโจทย์ท้าทายโจทย์แรกสำหรับองค์กร อย่างที่ "มงคลนิมิตร เอื้อเชิดกุล" กรรมการและ ผู้จัดการประชาสัมพันธ์ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "แม้เราจะไม่ได้ตัดลดงบประมาณในการทำ CSR แต่สิ่งที่เรามองมาตลอดและต้องให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้น คือประสิทธิภาพในการทำงานที่มีการประเมินผลและมีตัวชี้วัดอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะผลที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน และพยายามทำอย่างไรที่จะให้เกิดประโยชน์กับทั้งองค์กรและสังคม"

2.ธุรกิจเตรียมปรับตัวรับมาตรฐาน CSR

ใน ขณะนี้มาตรฐานว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (SR) หรือ ISO 26000 ซึ่งเป็นมาตรฐานว่าด้วยความรับผิดชอบในระดับนานาชาติที่จะเป็นที่ยอมรับ ครั้งแรกทั่วโลก ที่แม้จะเลื่อนการประกาศใช้อย่างเป็นทางการมาแล้วหลายครั้ง แต่จนถึงวันนี้ ร่าง ISO 26000 กำลังเดินมาถึงปลายทาง เพราะกำลังอยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการชุดสุดท้าย ก่อนที่มาตรฐานนี้จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการในปี 2553 ที่จะถึง ซึ่งความท้าทายของมาตรฐานนี้ ไม่เพียงอาจจะถูกนำมาใช้เป็นมาตรการกีดกันทางการค้า ในเวลาเดียวกัน มีหลายประเด็นที่อ่อนไหวที่ธุรกิจจำเป็นต้องให้ความสำคัญ

นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจอีกมากโดยเฉพาะองค์กรที่ทำธุรกิจระหว่าง ประเทศ หรือเป็นธุรกิจในซัพพลายเชนของบริษัทข้ามชาติที่กำลังกลายเป็น แรงกดดันที่ทำให้ธุรกิจต้องปรับตัว อย่างที่ "อเล็กซ์ มาโวร" ผู้ก่อตั้ง "โซเชียล เวนเจอร์ เน็ตเวิร์ก" บริษัทที่ปรึกษาด้าน CSR เคยกล่าวว่า "วันนี้ถ้าเปรียบเทียบกลุ่มที่ทำโดยความสมัครใจกับกลุ่มที่ต้องทำเพราะเป็น มาตรฐานทางการค้า ผมว่ากลุ่มหลังมีมากกว่า แต่ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าบริษัทต้องทำเพราะถูกบังคับหรือสมัครใจ แต่การทำ CSR ในองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับวิธีการและเนื้อของงานมากกว่า"

3.การมาถึงของมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูล (GRI)

แม้ ว่าการเปิดเผยข้อมูลด้าน CSR ในไทยอาจจะยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายมากนัก แต่หากดูความเคลื่อนไหวล่าสุด ในขณะนี้องค์กรจำนวนไม่น้อยที่กำลังอยู่ในระหว่างการจัดทำรายงาน CSR Report หรือ SD Report ดังนั้นให้จับตาว่าในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ เราอาจจะได้มีโอกาสยลโฉมรายงาน CSR ขององค์กรไทยกันมากขึ้น

ถ้าถาม ว่า แล้วการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวข้องกับ CSR อย่างไร "ริชาร์ด เวลฟอร์ด" ผู้ก่อตั้ง CSR Asia ที่ใช้เกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลในการจัดอันดับบริษัทที่มีความรับผิดชอบใน เอเชีย เมื่อปีที่ผ่านมา บอกว่า "ส่วนสำคัญของ CSR ก็คือ การมีธรรมาภิบาลที่ดี ดังนั้นการเปิดเผยข้อมูลย่อมเป็นหนึ่งในสิ่งที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความรับ ผิดชอบของบริษัท"

อย่างไรก็ตามถ้าพูดถึงรายงาน CSR คงต้องกล่าวถึง GRI หรือ global reporting innitiative ถือเป็นมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้าน CSR ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดของบริษัททั่วโลก ที่ก่อตั้งโดย CERES เอ็นจีโอขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ร่วมกับสถาบัน Tellus โดยการสนับสนุนของ UNEP ในการเปิดเผยข้อมูล CSR ของบริษัทผ่านรายงานที่เรียกว่า รายงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SD Report) ปัจจุบันไม่เพียงเป็นหลักการที่บริษัทหลายพันแห่งทั่วโลกนำมาใช้ ขณะนี้คณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทจด ทะเบียน กำลังอยู่ในระหว่างการจัดทำหลักการและแนวทางเบื้องต้นในการจัดทำรายงาน CSR โดย อิงมาตรฐาน GRI ดังนั้นในอนาคตอันใกล้การเปิดเผยข้อมูลในไทยย่อมมีแนวโน้มที่ชัดเจนขึ้น

4.โอกาสของการเกิดนโยบาย CSR แห่งชาติ

ใน ช่วงปี 2551 ที่ผ่านมา สถาบันไทยพัฒน์ร่วมกับศูนย์ธุรกิจเพื่อสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ลงพื้นที่ทั่วประเทศในการระดมสมองและเก็บข้อมูลในการจัดทำข้อเสนอ CSR เชิงนโยบาย ที่จะนำไปสู่การเสนอคณะรัฐมนตรี และจัดทำเป็นยุทธศาสตร์ CSR ในระดับประเทศ เพื่อให้กลไกภาครัฐเอื้อต่อการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ รวมถึงการควบคุมให้องค์กรธุรกิจต้องให้ความสนใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อาทิ เพิ่มการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนจะกลายเป็นจริงได้ มากน้อยแค่ไหนคงต้องติดตามต่อไป

5.การเติบโตของผู้บริโภคและนักลงทุนที่มีความรับผิดชอบ

หลาย คนอาจจะประเมินว่า "ผู้บริโภค" ที่มีความรับผิดชอบหรือตระหนักต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมยังมีไม่มากพอที่จะ กลายเป็นแรงกดดันของธุรกิจ แต่ในมุมของนักการตลาดอย่าง "อุณา ตัน" แห่งโนเกีย (ประเทศไทย) ประเมินไว้ว่า "ยืนยันได้ว่า ผู้บริโภคสีเขียวมีในไทย เพียงแต่ระดับความเข้มข้นนั้นแตกต่างกัน ดังนั้นถ้ามองภาพระยะยาว เราจึงพยายามใส่เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปอยู่ในโปรดักต์" หาก มองความเคลื่อนไหวขององค์กรผู้บริโภคซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนในไทยอย่าง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่าย แล้วจะเห็นว่าในปีนี้ราวเดือนมีนาคม จะเป็นครั้งแรกที่มีการประกาศผลบริษัทยอดเยี่ยมและยอดแย่ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะกระตุ้นเตือนให้บริษัทให้ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับ ผิดชอบต่อสังคมมากยิ่งขึ้น

สำหรับนักลงทุนที่มีความรับผิดชอบ ปัจจุบันอาจจะยังไม่เกิดขึ้นจริงในไทย แต่ความพยายามในการส่งเสริมการ ลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ (social responsibility investing) ที่จะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในกิจการที่บริหารงานอย่าง มีความรับผิดชอบ "มัชฌิมา กุญชร ณ อยุธยา" ที่ปรึกษาด้านกิจกรรมเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า "เชื่อว่า SRI จะสามารถเกิดขึ้นได้ในไทย และขณะนี้เรากำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาเพื่อจะทำ SR Index ซึ่งเป็นดัชนีในการจัดอันดับบริษัทที่มีความรับผิดชอบ คล้ายๆ กับที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ"

ถึงบรรทัดนี้ ไม่ว่าองค์กรของคุณกำลังจะตัดลดงบประมาณหรือชะลอการทำ CSR คงเห็นแล้วว่า มาตรฐานและแนวปฏิบัติต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นเป็นเสมือนเครื่องยืนยันว่า CSR ในไทยกำลังเดินเข้าสู่ช่วงเวลาเปลี่ยนจากยุคกิจกรรมเพื่อสังคม สู่มาตรฐานใหม่ในการทำธุรกิจ !!


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 12/01/2009
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01120152&day=2009-01-12&sectionid=0221

วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2552

บทพิสูจน์หลังธุรกิจเอ็นจีโอ 1 ปี "แบ่งปัน"


เป็น เวลากว่า 1 ปีนับตั้งแต่วันแรกที่โครงการแบ่งปันเพื่อสังคมที่ยั่งยืน ภายใต้การดำเนินงานของ เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (SVN) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เกิดขึ้น

โดยการวางตัวในการเป็นสะพานเชื่อมหรือ "match maker" ในการจับคู่ให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่าง "องค์กรธุรกิจ" และ "องค์กรพัฒนาเอกชน" ในการแบ่งปันทรัพยากร ทั้งงบประมาณ เงิน คนและความสามารถที่ทั้งธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชน ในการช่วยเหลือสังคม

ผล จากการทำงานในระยะเวลาที่ผ่านมาโดยสามารถจับคู่ "ธุรกิจ" และ "เอ็นจีโอ" ไปได้แล้วจำนวน 78 คู่ และเกินกว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้ เพราะเดิมทีใน 2 ปีแรกของโครงการตั้งเป้าไว้ 200 คู่ ซึ่งขณะนี้เพียงปีเดียวก็เดินมาไกลเกินกว่าที่ตั้ง เป้าหมายไว้

และ ถือเป็นตัวเลขที่ไม่ธรรมดาของการทำงานบนโจทย์ที่ท้าทายนี้ เพราะแม้ว่าการทำงานจะตั้งอยู่บนโจทย์ของการเติมเต็มความต้องการระหว่างกัน แต่ต้องยอมรับว่า ทั้ง "ธุรกิจ" และ "เอ็นจีโอ" นั้นพูดคนละภาษา และเป็นเรื่องที่ยากที่สุดที่ทำให้ในรูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กร ธุรกิจและเอ็นจีโอที่ผ่านมาเกิดขึ้นได้ยาก ทั้งๆ ที่ในขณะที่ภาคธุรกิจมีเงิน มีความสามารถในการช่วยเหลือแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ขณะที่องค์กรพัฒนาเอกชน มีทักษะความสามารถในการช่วยเหลือ แต่มีงบประมาณและบุคลากรที่จำกัด

"สุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง" ประธานกรรมการโครงการแบ่งปันเพื่อสังคมที่ยั่งยืนและประธานเครือข่ายธุรกิจ เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า "เราจึงทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อม เป็นเพราะนวัตกรรมในการทำ match maker ยังมีไม่มากนักในไทย และด้วยนิสัยของคนไทยที่โอบอ้อมอารี ถ้าบริจาคอะไรได้ก็บริจาค แต่บางทีหลายคนก็มักตั้งคำถามในใจว่าเงินที่บริจาคถูกนำไปใช้อย่างมี ประสิทธิภาพและเห็นผลหรือไม่ เมื่อเรามีความโปร่งใส และการให้ที่เกิด ผลจริงเป็นผลทำให้โครงการถูกกระจายไปอย่างรวดเร็ว"

ความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นกับมูลนิธิส่งเสริมและพัฒนาคนพิการ จังหวัดนนทบุรี ภายในระยะเวลาเพียง 5 เดือนนั้นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่ปรากฏให้เห็นจากประสิทธิผลของการให้ที่ เกิดจากการระดมทรัพยากรขององค์กรธุรกิจจำนวนกว่า 10 บริษัท นำความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทรัพยากรที่มีในองค์กร แรงงาน ซอฟต์แวร์ องค์ความรู้ มาต่อยอดเพื่อพัฒนาศักยภาพคนพิการ แทนการบริจาค จากเดิมที่มูลนิธิแม้จะสามารถฝึกอบรมให้เด็กมีศักยภาพแต่ก็ไม่สามารถสร้าง โอกาสในการทำงานให้ผู้พิการได้

การเข้ามาของ บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จำกัด ออกแบบหลักสูตร นำวิทยากรมาสอนการทำเว็บไซต์เพิ่มเติมให้นักเรียนอย่างเข้มข้น ทำให้หลายคนได้งานเป็นเว็บมาสเตอร์ การเข้ามาของบริษัท ดอคคิวเมนท์ พาร์เซล เอ็กซ์เพรส จำกัด นำพนักงานมาทำความสะอาดสนาม ซ่อมห้องน้ำให้คนพิการ และติดโปรเจ็กเตอร์ให้ห้องเรียน ทำให้ทั้งครูและนักเรียนสามารถเรียนวิชาการต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ฯลฯ

ผล จากความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการ "แบ่งปัน" ที่ไม่ใช้เงิน แต่เป็นการแบ่งปันทรัพยากรที่แต่ละองค์กรมีเข้าไปให้ความช่วยเหลือ ในการทำงานที่ผ่านมายังมีรูปแบบของการแบ่งปันในลักษณะของการ "ร่วมแรงร่วมใจ" ที่ภาคเอกชนเป็นคนออกเงินให้และภาคสังคมเป็นผู้ออกแรง อาทิ โครงการห้องเรียนพ่อแม่ ที่ "มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก" ได้ออกแบบกิจกรรมและนำวิทยากรเข้าไปทำกิจกรรมให้พนักงาน ของบริษัท แพรนด้าจิวเวลลี่ จำกัด บริษัทเน็กซ์ โปรดักส์ และบริษัท วันเดอร์เวิร์ล โปรดักส์ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ชีวิตครอบครัวและการเลี้ยงดูลูก ที่ถูกต้อง

รวมไปถึงรูปแบบสุดท้าย คือความร่วมมือและการแบ่งปันทรัพยากรที่ทำให้เกิดนวัตกรรมการให้แบบใหม่ ผ่านโครงการพัฒนาผู้ประกอบการทางสังคม ภายใต้ความร่วมมือของมหาวิทยาลัยศรีปทุม บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และโครงการแบ่งปันฯได้มีการจัดหลักสูตร อบรมให้ความรู้ทั้งเรื่องการตลาด ไอที การบริหาร กฎหมาย ให้เอ็นจีโอในกรุงเทพฯกว่า 50 แห่ง

"จากการทำงานที่ผ่านมาพิสูจน์ให้ เราเห็นว่า ถ้าเราสามารถเข้าถึงผู้ประกอบการ และสามารถไปเสนอในสิ่งที่เขาแบ่งปันได้ เขาก็ยินดี เพียงแต่ที่ผ่านมาบริษัทไม่มีใครคิดเรื่องนี้ ไม่มีใครป้อนเรื่องนี้ และไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร และไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร แต่พอมีคนที่สามารถประสานได้เขาก็ยินดีทำต่อ"

เพราะไม่เพียงประโยชน์ ของความสุขใจในการแบ่งปันเพื่อสังคม "จากหลายกรณีจากการแบ่งปันของโครงการพบว่า ผลจากการช่วยเหลือยังย้อนกลับไปยังองค์กร ซึ่งหลายบริษัทสามารถสร้างความผูกพันระหว่างองค์กรและพนักงานได้เพิ่มมาก ขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นทุนเอาไว้ให้บริษัทได้ต่อสู้ในยามวิกฤต"

และ แม้ว่า "วิกฤตเศรษฐกิจ" ที่เกิดขึ้นอาจจะส่งผลกระทบต่อ "การแบ่งปัน" บ้าง แต่เงินก็ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย มากเท่าสิ่งที่โครงการนี้คาดหวังก็คือ การแบ่งปันทรัพยากรและความสามารถที่มีร่วมกันและสร้างแรงกระเพื่อมของการ แบ่งปันออกไปให้กว้างไกลที่สุด

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 5 มกราคม 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04050152&day=2009-01-05&sectionid=0221


"ต้นแบบชุมชนยั่งยืน"

3 ประโยชน์ "เจ้าสัวธนินท์" 30 ปี "ต้นแบบชุมชนยั่งยืน"


ถ้าพูด ถึง "แบรนด์ไทย" หรือ "องค์กรธุรกิจ" ไทยที่ก้าวไปยืนอยู่บนเวทีโลกได้ หนึ่งในนั้นต้องมีชื่อของ เครือเจริญโภคภัณฑ์หรือ "ซี.พี." ธุรกิจเกษตรครบวงจร ที่มี "ธนินท์ เจียรวนนท์" เป็นผู้กุมบังเหียน

ถ้าได้ฟังปาฐกถาของเขา บ่อยครั้งที่จะได้ยินปรัชญาเบื้องหลังการทำธุรกิจของเครือ ซี.พี. ที่ว่าด้วยหลัก 3 ประโยชน์

เขา ย้ำเรื่องนี้อีกครั้งเมื่อกล่าวปาฐกถา ในงาน "ฉลองครบรอบ 30 ปี หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร" ระหว่างลงพื้นที่ จ.กำแพงเพชร เมื่อปลายปี 2551 ที่ผ่านมา

"ซี.พี.มีคำพูดอยู่สามคำ คือ ประชาชนได้ประโยชน์ ประเทศไทยได้ประโยชน์ และ ซี.พี.ได้ประโยชน์"

ปรัชญา นี้ไม่เพียงถูกถ่ายทอดลงมาสู่ทุกส่วนในการดำเนินธุรกิจของบริษัทในเครือ กระทั่งวิธีคิดใน "การให้" กับผู้ด้อยโอกาสในสังคม ก็เป็นเช่นนั้น

กว่า 30 ปีในการดำเนินโครงการ "หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร" ซึ่ง ซี.พี.เข้าไปร่วมมือกับส่วนราชการ อ.เมืองกำแพงเพชร ธนาคารกรุงเทพ สาขากำแพงเพชร โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักใน การสร้างชีวิตให้เกษตรกร ในการให้การช่วยเหลือประชาชนให้มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง และมีโอกาสในการประกอบอาชีพ โดยจัดสรรที่ดินเปล่ากว่า 6,000 ไร่ ใน ต.คณฑี และ ต.เทพนคร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ให้กับเกษตรกรกว่า 64 ครัวเรือนมาตั้งแต่ปี 2522 ในการสร้างที่อยู่อาศัย โรงเรือนสำหรับเลี้ยงสุกร

และการให้เงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการเลี้ยงสุกรและการเพาะปลูก ให้ความรู้เทคนิคและวิชาการสมัยใหม่ และให้การช่วยเหลือด้านการตลาด

ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นหัวใจหลัก ที่เจ้าสัวซี.พี.มองว่า จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกษตรกรจะสามารถอยู่รอดได้จากการทำอาชีพเกษตร

อย่างที่เขาบอกว่า "ประเทศไทยเต็มไปด้วยโอกาส เกษตรกรไทยไม่ได้น้อยหน้ากว่าใครเลยหากแต่ขาดอยู่ 3 เรื่อง คือ 1.เรื่องความรู้เทคโนโลยีเรื่องการเพาะปลูก 2.ขาดทุนไม่มีเงินทุนพอที่จะก้าวไปสู่ชั้นวิชาการสูงแต่ไม่ได้หมายความว่า เกษตรกรเรียนรู้ไม่ได้ และสุดท้ายที่สำคัญคือขาดตลาด ถ้าเกษตรกรมีทุกอย่างพร้อมแต่ไม่มีตลาดรองรับก็จะมีความสำเร็จยาก ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ เราจะขายสินค้าให้ใครต้องมีจำนวนสม่ำเสมอไม่ใช่วันนี้มี พรุ่งนี้ไม่มีแล้ว ให้ผู้รับซื้อเที่ยวหาซื้อ ดังนั้น เครือเจริญโภคภัณฑ์ก็จัดให้คนขายมาเจอกับผู้ซื้อ เรามารับความเสี่ยง แต่เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เพราะเรามีทุนพอที่จะรับความเสี่ยงแต่เกษตรกรไม่มีทุนพอที่จะเสี่ยงเรา เหมือนเป็นคู่ชีวิต ต้องช่วยกันให้ก่อนได้ทีหลัง ตามหลักศาสนาพุทธแล้ววันหลังคุณค่อยเอามาคืน วันนี้เราต้องให้ก่อน ไปเอาก่อนไม่ได้"

โครงการนี้ยังเป็นการทดสอบแนวคิดการทำเกษตรแบบ ผสมผสาน เพื่อเพิ่ม รายได้ให้กับเกษตรกร โดยไม่ต้องเพิ่มราคาสินค้า ในแต่ละบ้านจะได้รับการจัดสรรที่ดิน 25 ไร่ โดยทำที่พักอาศัย โรงเรือน แม่พันธุ์สุกร 30 ตัว พ่อพันธุ์ 2 ตัว อุปกรณ์การเลี้ยง อาหารสัตว์ ยาป้องกันรักษาโรค และบ่อปลาอีก 1บ่อ โดยรายได้ หลักของสมาชิกจะมาจากการจ้างเลี้ยง โดยมีรายได้เฉลี่ย 10,000-15,000 บาทต่อเดือน และรายได้เสริมจาการเลี้ยงปลา ปลูกผัก ฯลฯ อีกราว 60,000-70,000 บาทต่อปี

โครงการนี้ยังเป็นการทดสอบแนวคิดว่า เกษตรกรจะต้องมีการจัดรูปแบบองค์กรแบบเดียวกับองค์กรธุรกิจ เพื่อลดความเสี่ยงในด้านราคาผลผลิตและรายได้ ด้วยการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มความแน่นอนในการคืนเงินกู้ให้ กับสถาบันการเงิน ที่ผ่านมาไม่เพียงจะเข้าไปให้ความรู้ด้านการเกษตรและการบริหารงานที่ครบวงจร ซี.พี.ยังเป็นผู้ค้ำประกันให้กับเกษตรกร ซึ่งกู้เงินมาทำโรงเรือนเลี้ยงสุกรจากธนาคารกรุงเทพ โดยหลังจากระยะเวลา 10 ปีหลังจากู้เงินและชำระเงินกู้คืนทั้งหมด เกษตรกรในโครงการจะได้รับกรรมสิทธิ์ ทั้งบ้านที่ดิน โรงเรือนและบ่อปลา

ทั้งยังเป็นการทดสอบแนวคิดที่ว่าเกษตรกรจำเป็นต้องมีความสามัคคี รวมตัวกันเพื่อลดต้นทุนการผลิตและต่อรอง

"ง้วง ศรีจันทร์" ประธานหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร เล่าว่า

" เรามีทั้งรายได้หลักและรายได้เสริมแต่จะมีการจัดสรรกันว่าใครจะทำตอนไหน เพราะทำพร้อมกันไม่ได้ไม่อย่างนั้นสินค้าจะล้นตลาด เราประสานงานเรื่องประสิทธิภาพโต้แย้งไม่ให้เหลื่อมล้ำอะไรกัน ดำเนินการตามกติกาที่วางไว้ ลูกบ้านทุกคนรู้หน้าที่ว่าต้องแข่งกับตัวเอง คอยให้มีความสามัคคี ความร่วมมือ ที่นี่ไม่มีทั้งอาชญากรรมและยาเสพย์ติด"

นี่จึงเป็นอีกบทพิสูจน์ของการช่วยเหลือสังคมอย่างมีประสิทธิผล ที่มีเวลา ความทุ่มเท และความต่อเนื่อง เป็นคำตอบ !!

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 5 มกราคม 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03050152&day=2009-01-05&sectionid=0221


ใช้ CSR ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ


โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย sopon@thaiappraisal.org

จั่ว หัวบทความข้างต้นอาจทำให้หลายท่านงงว่าจะเป็นไปได้อย่างไร มีแต่คนคิดตัดงบประมาณ CSR กันทั้งนั้น !?! แล้ว CSR จะมาช่วยฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจได้อย่างไร

ที่หลายคนงง คงเป็นเพราะเราเข้าใจคำว่า CSR ผิดเพี้ยนไป เรามักเขาใจ CSR คือการบริจาค การให้ การทำบุญ การทำดี การอาสาสมัคร เป็นต้น ซึ่งในยามฝืดเคืองคงแทบไม่มีใครทำ

แต่ในความเป็นจริง CSR (corporate social responsibility) หรือความรับผิดชอบทางสังคมของวิสาหกิจนั้นหมายถึงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วน ได้ส่วนเสีย (stakeholders) ซึ่งหมายถึงตั้งแต่ผู้ถือหุ้น ลูกจ้าง ลูกค้า คู่ค้า (supplier) ชุมชนที่วิสาหกิจนั้นตั้งอยู่ ตลอดจนสังคมโดยรวม

ความ รับผิดชอบไม่ใช่หมายเฉพาะถึงการบริจาคหรือการทำดีเอาหน้า แต่ยังรวมถึงการไม่ละเมิด การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียตามกฎหมาย (hard laws) โดยเคร่งครัด และรวมถึงการยึดถึงมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ หรือ soft laws อีกด้วย

CSR แก้วิกฤตได้อย่างไร

ใน ภาวะวิกฤตของธุรกิจทั้งหลาย ย่อมหมายถึงการที่รายได้หดหายไปจนไม่เพียงพอกับรายจ่าย โดยทั่วไปลูกค้าก็จะลดน้อยลง ลูกค้าก็จะเลือกสรรคู่ค้าเช่นเรามากขึ้น ในยามนี้เราจึงยิ่งต้องมี CSR ซึ่งก็คือการมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า เพื่อครองใจและรักษาลูกค้า และเพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าให้มากขึ้นจากการที่เรามีความรับผิดชอบต่อลูกค้า คู่ค้า ของเรานั่นเอง

ถ้าเราดำเนินธุรกิจโดยไม่ละเมิด ไม่โกงลูกค้า และยึดถือมาตรฐานจรรยาบรรณการประกอบธุรกิจ หรือจรรยาบรรณวิชาชีพ (ในกรณีบริษัทให้บริการวิชาชีพ เช่น สถาปนิก วิศวกร ผู้ประเมินค่าทรัพย์สิน เป็นต้น) วิสาหกิจของเราก็จะได้รับความเชื่อถือและสามารถยืนฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจให้ผ่าน พ้นไปให้ได้

ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราถือหลักประหยัดแบบไม่ลืมหูลืมตา จนกลายเป็น "เสียน้อย เสียมาก เสียยาก เสียง่าย" เราก็จะเสียลูกค้าไป และยิ่งถ้าเราขาด CSR โดยมีพฤติกรรม "ด้านได้ อายอด" หรือทำธุรกิจแบบ "โกงไป โกงมา" แทนที่จะเป็นแบบ "ตรงไปตรงมา" ธุรกิจของเราก็จะประสบกับความวิบัติ ถูกฟ้องร้องและล้มละลายในที่สุด

CSR ยังช่วยสร้างยี่ห้อสินค้า

CSR ยังสามารถช่วยให้ธุรกิจไม่ว่าจะเป็น SMEs (small and medium enter prises หรือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) หรือธุรกิจขนาดใหญ่ สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนด้วยการพัฒนายี่ห้อสินค้าหรือบริการของวิสาหกิจ ของตนได้อีกด้วย

ที่ผ่านมา วิสาหกิจทั้งขนาดเล็ก กลางและใหญ่หลายแห่ง มีปัญหาการขาด CSR ปรากฏการณ์ที่มักได้ยินข่าวทั่วไป เช่น

1.แม่ค้าขายขนมจีน เอากระดาษทิสชูผสมลงไปในน้ำยา เพื่อให้ดูข้นขึ้น

2.พ่อค้าขายสินค้าโดยโกงตาชั่ง

3.เจ้าของหมู่บ้านจัดสรรใช้วัสดุคุณภาพต่ำกว่าที่กำหนด และใช้สัญญาเอาเปรียบ ผู้บริโภค ฯลฯ

การ ทำธุรกิจแบบ "แก้ผ้า เอาหน้ารอด" ไปเช่นนี้ ย่อมทำให้ธุรกิจไม่ยั่งยืน ผู้บริหารจำเป็นต้องพัฒนาวิสาหกิจของตนเองให้มียี่ห้อที่เข้มแข็ง ดังนั้นวิสาหกิจที่มี CSR คือ ต้องปฏิบัติต่อพันธกิจตามกฎหมายโดยเคร่งครัด ประกอบสัมมาอาชีพตามกรอบมาตรฐานและจรรยาบรรณทางธุรกิจหรือของวิชาชีพโดย เคร่งครัด และ (เมื่อโอกาสอำนวย) ก็ยังให้การบริจาคหรือให้การช่วยเหลือสังคมตามควร

วิสาหกิจใดทำได้ เช่นนี้ ย่อมจะสามารถสร้างตรายี่ห้อสินค้าและบริการของวิสาหกิจของตน และยี่ห้อเหล่านี้ก็มีมูลค่าโดยเฉพาะวิสาหกิจที่มีการเติบโตอย่างยั่งยืน นั่นเอง

ทำ CSR ให้ถูกต้อง

อย่าลืมว่า CSR ในด้านการบริจาค การอาสาทำดีนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ CSR อาจกล่าวได้ว่า CSR แบ่งออกเป็น 3 ระดับสำคัญดังนี้ :

1. ระดับที่กำหนดตามกฎหมาย เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายอาคารและผังเมือง ฯลฯ เป็นระดับที่สำคัญที่สุดที่ขาดเสียมิได้ การไม่ทำตามถือเป็นการละเมิดต่อปัจเจกบุคคล กลุ่ม ชุมชนหรือความสงบสุขของสังคม ถือเป็นอาชญากรรม นักวิชาชีพอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด หาไม่อาจเป็นอาชญากร (ทางเศรษฐกิจ) ได้

2.ระดับที่ปฏิบัติตาม จรรยาบรรณหรือจริยธรรม ซึ่ง SMEs ใด ดำเนินการตามนี้ก็จะได้รับการยกย่องว่ามีความน่าเชื่อถือ หาไม่อาจถูกตำหนิจากสังคม เช่น ถ้าเป็นกรณีนักวิชาชีพต่างๆ ก็อาจถูกพักใบอนุญาตหรือกระทั่งถูกไล่ออกจากวงการ ไม่สามารถประกอบอาชีพ เช่น วิศวกร สถาปนิก ผู้ประเมินค่าทรัพย์สิน นายหน้า เป็นต้น

3. ระดับอาสาสมัคร เช่น เป็นผู้อุปถัมภ์ ผู้บริจาค ผู้อาสาทำดีในรูปแบบต่างๆ ทั้งต่อบุคคล กลุ่ม ชุมชนหรือสังคมโดยรวม กิจกรรมเหล่านี้จะทำหรือไม่ก็ได้ ไม่ได้มีกำหนดไว้ แต่หากทำดี สังคมก็จะยกย่องและชื่นชม เข้าทำนอง ทำดีได้ดี แต่การทำดีก็อาจเป็นแค่การสร้างภาพก็ได้

วิสาหกิจใดที่คิดจะฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจจึงขาดเสียมิได้ที่ต้องดำเนินการตามข้อ 1 เพื่อคุ้มครองผู้มีส่วนได้

ส่วน เสีย โดยเฉพาะผู้บริโภคตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ต้องทำตามข้อ 2 เพื่อการเป็นนักธุรกิจ นักวิชาชีพที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี สร้างความแข็งแกร่งให้แก่ตรายี่ห้อสินค้าเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ และควรทำตามข้อ 3 ซึ่งถือเป็นการตลาดอย่างอ่อนๆ (soft marketing) เพื่อการสร้างภาพลักษณ์ และถือเป็นมงคลต่อวิสาหกิจและ ผู้เกี่ยวข้องในการทำดีนั้น

ทำ CSR มีแต่ได้กับได้

สังคมธุรกิจ และวิสาหกิจต่างๆ ควรมีความเข้าใจเสียใหม่ว่า การทำ CSR นั้น ไม่ใช่ภาระของเรา แต่เป็นการลงทุนสำคัญ การทำ CSR นั้น ได้ประโยชน์หลายสถาน

1. เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน การมีหลักประกันสินค้าหรือบริการ และการทำดีต่อผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย เป็นการแข่งขันในอีกมิติหนึ่งที่จะช่วยให้เราขายสินค้าได้มากขึ้น หรือทำให้วิสาหกิจของเรามีขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น การมี CSR จึงเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จที่ขาดไม่ได้

2.สร้างมูลค่าเพิ่ม การมี CSR ก่อให้เกิดความเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลาย การดำเนินธุรกิจที่ขาดความรับผิดชอบ "ด้านได้-อายอด" มุ่งแต่เอาเปรียบคนอื่น ย่อมไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ

3.ลดความ เสี่ยงของธุรกิจ โอกาสที่จะถูกลูกค้า คู่ค้าฟ้องร้องก็จะน้อยลงเพราะมี CSR ทำให้ตัดสินใจทำธุรกิจอย่างเป็นธรรม ลดความเสี่ยงที่จะกระทำผิดกฎหมาย ดังนั้น ตลาด ผู้บริโภค และลูกค้า จึงยินดีต้อนรับ

4.เข้าถึงแหล่ง ทุนยิ่งขึ้น วิสาหกิจที่มี CSR ย่อมได้รับความเชื่อถือต่อการประกอบการจากการประเมินของแหล่งทุน ทำให้มีโอกาสหาเงินกู้หรือทุนมาต่อยอดพัฒนาวิชาชีพได้มากขึ้นและสะดวกกว่า ธุรกิจที่ขาด CSR

โดยสรุปแล้ว การทำ CSR จึงไม่ใช่การ "สร้างภาพ" ไม่ใช่การทำ "ผักชีโรยหน้า" ไม่ใช่การ "ทำบุญเอาหน้า" ไม่ใช่การสร้างภาระให้กับวิสาหกิจ แต่เป็นการลงทุนที่สำคัญที่จะทำให้วิสาหกิจสามารถฝ่าวิกฤต แต่กลับเติบโตอย่างแข็งแรง มีจังหวะก้าวมั่นคงในอนาคต และช่วยลดความเสี่ยงต่อความล้มเหลวจนสามารถอยู่ยั้งยืนยงในภายภาคหน้า และที่สำคัญก็คือ การอยู่อย่างสร้างสรรค์ อยู่อย่างมีเกียรติ ไม่ได้ไปปล้นใครกิน หรือตลบแตลงเพื่อความ อยู่รอดอย่างไร้ศักดิ์ศรี

วิสาหกิจ ที่หวังจะรอดจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2552 นี้ จึงควรทำ CSR อย่างจริงจังสมดังปณิธานที่ประชาชาติธุรกิจอุทิศหน้า CSR ถึง 2-3 หน้าต่อสัปดาห์

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 5 มกราคม 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02050152&day=2009-01-05&sectionid=0221


7 วิธีบริหาร CSR องค์กร ในภาวะวิกฤต




ใน ขณะที่หลายองค์กรกำลังมองว่า จำเป็นต้องลดระดับความสำคัญด้วยการตัดลดงบประมาณ CSR แต่จากการประมวลความคิดเห็นและแบบตัวอย่างของหลากหลายองค์กรที่เกิดขึ้นใน ช่วงเวลาที่ผ่านมา จะเห็นว่าในความเป็นจริงแล้ว ในช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้ อาจจะเป็นเวลาที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุดในการขับเคลื่อน CSR ในองค์กร

และนี่คือ 7 วิธีในการบริหาร CSR ในภาวะวิกฤต ที่ "ประชาชาติธุรกิจ" รวบรวมมา

1.หันกลับมาทบทวนตัวเอง

ไม่ ว่าองค์กรของคุณจะเคยมอง CSR ในมุมมองใด ตั้งแต่การสร้างแบรนด์ มอง CSR เป็นเพียงการคืนกำไรสู่สังคม หรือมอง CSR ในมิติของความรับผิดชอบที่มี ต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม (stakeholders) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อและสิ่งที่องค์กรคาดหวังว่าจะได้รับ

แต่ ในมุมที่เรากำลังจะพูดถึงในวันนี้คือความคาดหวังว่า CSR จะช่วยสร้างประสิทธิผลการทำงานภายในองค์กรให้ดีขึ้น ซึ่งจะเป็นเช่นนั้นได้ก็ต่อเมื่อ CSR จะต้องเข้าไปอยู่ในทุกๆ ส่วนและทุกๆ วันของการดำเนินธุรกิจ โดยมองความรับผิดชอบที่มีต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งเป็นมุมมองที่เป็น สากลและได้รับการยอมรับมากที่สุด

อย่างที่ "อเล็กซ์ มาโวร" ที่ปรึกษาด้าน CSR ผู้บริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท โซเชียล อิมแพ็ค เวนเจอร์ เอเชีย เคยบอกว่า "ในเวลาที่ไม่เกิดวิกฤต บริษัทก็จะอยู่ไปเรื่อยๆ ไม่พยายามศึกษาและปรับปรุงภายใน แต่เวลาแบบนี้เขากลับต้องมาคิดใหม่ว่า สิ่งที่ทำอยู่เดินมาถูกทางหรือไม่ ดังนั้นในเวลาเช่นนี้สิ่งที่เราจะเห็นก็คือแนวโน้มที่บริษัทจะต้องปรับปรุง การดำเนินงานใหม่ เพื่อความอยู่รอด โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างผลงานที่ดี การดูแลพนักงานไปในทิศทางที่ยั่งยืนขึ้น"

2.ทำ CSR ให้ฟิตกับองค์กร

เมื่อ ทบทวนแนวคิดและความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างคนในองค์กร จากนั้นจึงจะมาหารูปแบบมาทำ CSR อย่างไรจึงจะเหมาะกับองค์กรนั้นๆ นั่นเป็นเพราะ CSR ไม่ใช่สูตรสำเร็จ อย่าว่าแต่โมเดลที่ประสบความสำเร็จในประเทศหนึ่งอาจจะไม่ประสบความสำเร็จใน อีกประเทศ อย่าว่าแต่โมเดลที่ใช้แล้วประสบความสำเร็จในองค์กรขนาดใหญ่ จะไม่สามารถนำไปใช้ได้ในองค์กรขนาดเล็ก กระทั่งองค์กรที่มีขนาดเท่ากัน อยู่ในธุรกิจเดียวกัน แต่ถ้าอยู่ในแต่ละพื้นที่ยังมีความแตกต่างในการดำเนินการ CSR ให้ประสบผลสำเร็จ โดยพิจารณาถึงขนาดขององค์กร ทรัพยากร ความสามารถและงบประมาณที่องค์กรมี การดำเนินการ CSR ที่เหมาะสมควรจะอยู่ในระดับไหน โดยอาจจะยึดแนวปฏิบัติของสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่ได้จัดทำขึ้นผ่าน "เข็มทิศธุรกิจ" นั้นแบ่ง CSR ออกเป็น 4 ขั้น ขั้นที่ 1.คือการปฏิบัติตามกฎหมาย 2.คือระดับประโยชน์ทางเศรษฐกิจขององค์กร 3.จรรยาบรรณทางธุรกิจ และ 4.ทำโดยความสมัครใจ

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ เคยเสนอแนะไว้ "องค์กรอาจจะไม่สามารถทำได้ในทุกๆ เรื่อง แต่อย่างน้อยที่สุดก็สามารถปฏิบัติตัวในการใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยการปฏิบัติตามกฎหมาย สามารถตอบโจทย์ทางเศรษฐกิจ ฉะนั้นในการทำงานต้องดูถึงความเหมาะสมขององค์กรและงบประมาณเป็นหลัก"

เพราะ แม้ว่าถ้าเพียงธุรกิจสามารถดำเนินความรับผิดชอบได้ในขั้นต้น อย่างน้อยที่สุดก็สามารถลดความเสี่ยงของธุรกิจในภาวะวิกฤตได้เช่นกัน

3.วางกลยุทธ์ CSR

ด้วยขีดความสามารถหลัก

ใน หลายองค์กรที่ผ่านมาอาจจะไม่มีการวางกลยุทธ์ CSR ดังนั้นในภาวะเช่นนี้อาจถึงเวลาที่ต้องวางกลยุทธ์ CSR ขององค์กร เพราะในภาวะที่งบประมาณและทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด "ประสิทธิผล" จึงเป็นโจทย์สำคัญในการทำงานในปี 2552 ซึ่งการวางกลยุทธ์และมีการขับเคลื่อนไปสู่ ทุกส่วนขององค์กรอย่างชัดเจน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของขีดความสามารถหลัก (core competency) ขององค์กร ควรมีการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพันธมิตรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจนั้นๆ พนักงานมีส่วนร่วมในการวางแผนและดำเนินกิจกรรม ผู้บริหารให้ความสำคัญและเป็นผู้นำทีมสู่การบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ กลุ่มเป้าหมายของ CSR ได้มีส่วนร่วมในการออกความคิดและทำให้แคมเปญนั้นๆ ต่อเนื่องและยั่งยืน นอกจากนี้ยังควรต้องสามารถวัดและประเมินผลได้ เพื่อการปรับปรุงพัฒนากลยุทธ์ในอนาคต

4.มองความต้องการ

ของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders)

การ สอบถามความต้องการและมุมมองที่ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิ พนักงาน ลูกค้า ผู้ถือหุ้น คู่ค้า ชุมชน ฯลฯ มีต่อองค์กรได้อย่างแท้จริง จะสามารถทำให้องค์กรสามารถปรับตัวที่จะรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ โดยเฉพาะในแง่ของมิติผลกระทบเชิงลบที่ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต้องการให้ องค์กรพึงกระทำ ผู้เชี่ยวชาญ CSR เคยกล่าวไว้ว่า ถ้าจะทำ CSR ให้ประสบความสำเร็จโดยที่องค์กรคาดเดาความต้องการของผู้ที่มีส่วนได้ส่วน เสียเอาเองโอกาสที่จะขับเคลื่อน CSR ให้ประสบความสำเร็จมีเพียงไม่ถึง 20% ที่ผ่านมาองค์กรชั้นนำหลายองค์กร อาทิ เครือซิเมนต์ไทย โตชิบา ฯลฯ เคยเลือกใช้เวทีในการเปิด รับฟังความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ก่อนจะนำมาเป็นกลยุทธ์ในการทำงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

5.มีโครงสร้างองค์กรรองรับการขับเคลื่อน

แม้ จะไม่ต้องถึงกับมีการตั้งแผนกหรือฝ่าย CSR ภายในองค์กร ซึ่งในต่างประเทศเองก็ก้าวไกลไปจากจุดนี้ โดยไม่ได้มีการตั้งแผนกรองรับ แต่ส่วนใหญ่ใช้วิธีการตั้งคณะกรรมการ CSR โดยมีตัวแทนจากทุกฝ่าย และมีผู้บริหารเบอร์ 1 ในองค์กรเป็นประธาน ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้นโยบายและการทำงาน CSR จะถูกถ่ายทอดลงสู่ทุกส่วนของการทำงานในองค์กร เพราะถ้าดูกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรมใหม่จากการทำ CSR ที่เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ อาทิ โทรศัพท์ที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของโนเกีย ไอเดียกรีนของเอสซีจีเปเปอร์ ก็ล้วนแล้วแต่มาจากวิธีการถ่ายทอดความรับผิดชอบลงไปสู่กระบวนการดำเนิน ธุรกิจในทุกกลุ่มเช่นกัน

6.สร้างขวัญกำลังใจพนักงาน

ในภาวะ วิกฤตเศรษฐกิจที่พนักงานส่วนใหญ่มีความรู้สึกไม่มั่นคง บทเรียนจากวิกฤต 2540 พบว่ามีหลายองค์กร ที่ใช้โอกาสและเวลาของการทำงานที่ลดลงของพนักงาน มาเป็นช่องทางในการสร้างขวัญกำลังใจและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพนักงานเพื่อ นำไปสู่การสร้างประสิทธิผลของการทำงานที่ดีขึ้นในอนาคต ตัวอย่างเล็กๆ ของโครงการห้องเรียนพ่อแม่ ซึ่งมูลนิธิพิทักษ์สิทธิเด็กร่วมกับบริษัทใน "factory land" ในการอบรมพนักงานกลุ่มเสี่ยงในการดูแลครอบครัว ผลที่ได้นอกจากลดความเครียดของพนักงานลง พนักงาน ยังรู้สึกดีที่บริษัทยอมจ่ายเงินเพื่อแก้ปัญหาชีวิตของพวกเขาและรู้สึก ผูกพันกับองค์กรมากขึ้น

7.เลือกทำในสิ่งที่จำเป็น

เพราะภาย ใต้งบประมาณที่มีอยู่จำกัด การทำโครงการเพื่อสังคมจำนวนมากอาจจะไม่ใช่ทางที่จะตอบโจทย์ความรับผิดชอบ ต่อสังคมใน พ.ศ.นี้ โดยต้องพยายามมองหาประเด็นทางสังคมที่มีความจำเป็นกับสังคมและเหมาะสมกับ องค์กร เครือซิเมนต์ไทย เคยถ่ายทอดบทเรียนในการ "โฟกัส" การทำงาน CSR ให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งตัดลดบางโครงการที่มองว่าไม่จำเป็นออกตั้งแต่ 5-6 ปีก่อน นอกจากเป็นการสร้างการรับรู้ที่ชัดเจนขึ้นในการสื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมาย ในเวลาเดียวกันยังทำให้ประสิทธิผลของโครงการมากขึ้นด้วย

ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย เสนอแนะว่า ในช่วงเวลาวิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้ สิ่งที่องค์กรควรเลือกทำนั้นควรมองผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤตครั้งนี้เป็น หลัก เพราะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตครั้งนี้มีจำนวนมาก และมากกว่าเมื่อครั้งเหตุการณ์สึนามิเสียอีก เพียงแต่อาจจะไม่ได้เห็น ฉะนั้นองค์กรควรเลือกประเด็นปัญหาเหล่านี้ในการทำ CSR อาทิ ปัญหาคนว่างงาน ปัญหาครอบครัว ปัญหาการศึกษา ฯลฯ มาเป็นส่วนในการพิจารณานอกเหนือจากโครงการเพื่อสังคมในภาวะปกติ โดยไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณมาก แต่หันไปใช้ทรัพยากรคน เวลา สถานที่ องค์ความรู้ที่องค์กรมีเพื่อมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสังคมที่เร่งด่วนในขณะ นี้

และนี่คือการบริหารในภาวะวิกฤตที่จะเป็นคำตอบที่ทำให้องค์กร สามารถขับเคลื่อน CSR ต่อและเป็นการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดขององค์กร โดยไม่ทิ้งความเสียหายไว้ข้างหลัง

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 5 มกราคม 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01050152&day=2009-01-05&sectionid=0221