วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2551

ส่องร่างยุทธศาสตร์ CSR ไทย ระดมสมองตั้งกระทรวง CSR



การ พัฒนาแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (corporate social responsibility : CSR) ของไทยในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นว่าภาคส่วนที่มีความตื่นตัวที่สุดในสังคมยังกระจุกตัวอยู่ในภาคธุรกิจ ซึ่งมีความตื่นตัวในเรื่องนี้มาก ทั้งๆ ที่ภาคส่วนที่สำคัญในการขับเคลื่อนแนวคิดนี้ให้เกิดขึ้นในสังคม อย่างยั่งยืนนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าย่อมต้องอาศัยแรงหนุนของภาครัฐเช่นเดียวกัน อย่างที่หลายต่อหลายประเทศได้ทำมาก่อนหน้านี้

ที่สำคัญการส่งเสริม ความรับผิดชอบของภาคธุรกิจในปัจจุบันนั้น มิได้จำกัดอยู่เพียงการใช้อำนาจรัฐ (mandating) ผ่านกฎหมายแบบบังคับและควบคุม วางระเบียบหรือใช้เพียงมาตรการทางภาษาที่ใช้เป็นแรงจูงใจเท่านั้น แต่หากมองจากมุมมองของธนาคารโลกจะเห็นว่า บทบาทของรัฐที่จะมีต่อเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ (CSR) นั้นยังประกอบด้วย มิติอื่นๆ ทั้งในเรื่องของการอำนวยการ (facilitating) ที่ใช้บทกฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษ ตลอดจนการเป็น หุ้นส่วน (partnering) ฯลฯ รวมไปถึงบทบาทในการสนับสนุนของภาครัฐ (endorsing) ด้วยการสนับสนุนจากภาคการเมือง และการประกาศเกียรติคุณต่อสาธารณชน

ใน มิติที่กล่าวมา บทบาทรัฐของไทยนั้นยังแทบจะมองไม่เห็น แต่เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่มีสัญญาณบางประการ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันไทยพัฒนา สถาบันศึกษาและวิจัยด้าน CSR และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มีโครงการระดมสมอง CSR ระดับภูมิภาค ซึ่งเดินคู่ไปกับโครงการให้ความรู้ด้าน CSR กับโครงการ "CSR Campus" ซึ่งกำลังจะปิดฉากลงในเร็ววันนี้ หลังจากเดินสายครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ

ผลส่วนหนึ่งทำให้นำมาสู่บทสรุปในการนำเสนอ การขับเคลื่อน CSR ในเชิงนโยบายที่จะนำไปสู่การกำหนดทิศทางและนโยบาย CSR ในระดับประเทศ

ดร. พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒนา กล่าวถึงความคืบหน้าในเรื่องนี้ว่า โจทย์ของความร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ก็คือการระดมสมองจากภาคธุรกิจและสังคมจาก ทั่วประเทศเพื่อนำเสนอ CSR ในเชิงยุทธศาสตร์ว่า ภาครัฐควรจะขับเคลื่อน CSR อย่างไร โดยผ่านการระดมสมองจากผู้เชี่ยวชาญด้าน CSR ในโครงการ CSR Camp ก่อนที่จะผ่านการกลั่นกรองอีกชั้นหนึ่งในการระดมสมองในระดับภูมิภาคทั่ว ประเทศในช่วงที่ผ่านมา และคาดว่าจะสามารถทำนโยบาย CSR เสนอกระทรวงในช่วงปลายเดือนกันยายนนี้ ผลจากการกลั่นกรองพบว่า ควรแบ่งการทำงาน CSR ของภาครัฐออกเป็น 4 หมวด 1.การเป็นผู้ใช้อำนาจ 2.การเป็นผู้อำนวยความสะดวก 3.การเป็นหุ้นส่วน และ 4.การรับรอง

โดย ในหมวด 1.การใช้อำนาจ ผลจากการระดมสมองระบุว่า บทบาทของรัฐในด้านชุมชนและสังคม ควรจะเข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาเชิงสังคม ขณะที่ในด้านของการกำกับดูแลกิจการ ควรมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างกติกาตลาดเสรีที่เป็นธรรม และในด้านสิ่งแวดล้อม ควรมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน รวมไปถึงการกำหนดผังเมืองที่ชัดเจน มีการกำกับสื่อในการประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการรักษา สิ่งแวดล้อม โดยภาครัฐต้องให้แนวปฏิบัติกับผู้ประกอบการ

สำหรับหมวด 2.การอำนวยการหรืออำนวยความสะดวก ในภาพรวมควรมีการยกระดับความเข้าใจของภาครัฐในเรื่อง CSR ด้วยองค์ความรู้จากทั้งในและต่างประเทศ โดยจัดทำองค์ความรู้แบบองค์รวม โดยให้ทุกส่วนสามารถทำงานเชื่อมโยงกันอย่างมีการบูรณาการ ขณะเดียวกันภาครัฐยังสามารถมีมาตรการจูงใจด้านภาษี ใช้มาตรฐานการเงินและการคลัง รวมทั้งมีมาตรการสนับสนุนกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสังคม สำหรับภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งปลูกจิตสำนึกสาธารณะและภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งใช้สื่อในการกำกับดูแลเพื่อการส่งเสริมการขับเคลื่อน CSR

หาก โฟกัสบทบาทการอำนวยการของภาครัฐ ในด้านชุมชนและสังคม ผลจากการระดมสมองระบุว่า ควรมีการยกระดับความประพฤติสู่วัฒนธรรมองค์กร โดยสร้างความรู้และความเข้าใจให้กับทุกภาคส่วนแบบองค์รวม มีแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับวิถีของสังคมไทยในแบบเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งควรส่งเสริมให้มีการจัดการศึกษา CSR ในหลักสูตรระดับโรงเรียน

อย่าง ไรก็ตามในเรื่องการอำนวยการ ในด้านการกำกับดูแลกิจการ รัฐควรกำหนดนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนองค์กรที่ทำดี ให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในกระบวนการทำ CSR มีการกำหนดหน่วยงาน CSR ในระดับจังหวัด และมีการนำหลัก CSR สากลมาใช้เป็นแนวปฏิบัติสำหรับกิจการเพื่อมุ่งสู่ความเป็นผู้นำในเอเชีย นอกจากนี้ควรมีการก่อตั้งหน่วยงานอิสระในกำกับของรัฐ และสร้างสิ่งจูงใจให้องค์กรที่ทำ CSR อย่างมีนวัตกรรม รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดต้นแบบ (role model) เพื่อเป็นแบบอย่าง สำหรับการอำนวยการในด้านสิ่งแวดล้อม รัฐควรมีนโยบายในการจัดซื้อ จัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวลด้อม มีการนำร่องในการใช้หรือปฏิบัติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวลด้อม การบริหารจัดการมลพิษ รวมไปถึงการส่งเสริมการออกแบบสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมให้เกิดหลักสูตรดังกล่าว

ส่วนหมวด 3.ที่ว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วน มีข้อเสนอว่าในด้านชุมชนและสังคม รัฐควรมีบทบาทในการบริหารจัดการที่ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจและ สังคม โดยในด้านการกำกับดูแลกิจการ รัฐต้องมีบทบาทในการขยายผลและสร้างเครือข่าย โดยพัฒนาฐานข้อมูล CSR ให้มีความเชื่อมโยงและบูรณาการ รวมไปถึงการสร้างกลไกเชื่อมโยงเอกชนและท้องถิ่น ขณะที่ในด้านสิ่งแวดล้อม ควรให้หน่วยงานทำงานอย่างสอดคล้องและสนับสนุนกัน

ในหมวดสุดท้าย 4.การสนับสนุน ในด้านการกำกับดูแลกิจการ ภาครัฐควรส่งเสริมให้มีการผนวก CSR เข้ากับกระบวนการดำเนินธุรกิจ โดยกำหนดให้มีกระทรวง CSR ขณะที่ด้านสิ่งแวดล้อม ภาครัฐควรสนับสนุนในเรื่องของการอนุรักษ์เพื่อใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน รณรงค์ให้ผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมการออกแบบสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

และ นี่เป็นข้อเสนอที่หากเป็นไปได้จริง น่าจะเป็นแรงผลักดันสำคัญให้ CSR ไทยก้าวไปอีกระดับ ส่วนจะถึงฝั่งฝันหรือไม่คงต้องรอลุ้นและเอาใจช่วย !!


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 15 กันยายน 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04150951&day=2008-09-15&sectionid=0221

ภาคธุรกิจกับงานสิทธิมนุษยชน


พร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย
หลายปีก่อนที่ CSR จะมาได้รับความนิยมเช่นปัจจุบัน ผมเคยจัดประชุมของมูลนิธิรักษ์ไทยเรื่องการทำงานเชิงสิทธิในงานพัฒนา โดยผู้เข้าร่วมประชุมเป็นองค์กรภาคีภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนด้วยกัน นอกจากนั้นผมได้เชิญเพื่อน CEO ต่างชาติหนึ่งท่าน บริษัทของ CEO นี้เป็นบริษัทต่างประเทศที่ทำงานในประเทศไทยและเป็นบริษัทที่สนับสนุนการ ช่วยเหลือชุมชนผ่านมูลนิธิ ซึ่ง CEO ท่านนั้นได้กรุณามาร่วมประชุมตามคำเชิญ ในการประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนวิธีการทำงานพัฒนาเชิงสิทธิ หรือ rights-based approach ซึ่งไม่ใช่การเรียกร้องสิทธิร่วมกับชุมชน แต่เน้นการพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้เป็นผู้วิเคราะห์ และหยิบยกประเด็นสิทธิและหน้าที่ เพื่อตนเองและชุมชนได้เข้าถึงสิทธิ เมื่อประชุมเสร็จลง CEO คนนั้นเดินมาขอบคุณที่ได้ร่วมประชุม พร้อมกับพูดเกือบเสียงเหมือนกระซิบ เหมือนมีความเกรงใจในคำพูดตนเองว่า "ผมชอบงานที่คุณทำอยู่ แต่ถ้าจะดึงดูดความสนใจของภาคธุรกิจอาจจะต้องไม่ใช้คำว่า สิทธิ ได้ไหม"

มา ถึงวันนี้ที่ CSR เป็นคำที่กล่าวถึงกันเฉกเช่นเป็นของธรรมดา ผมจึงได้กลับมาคิดว่า ภาคธุรกิจจะทำงานสิทธิไม่ได้หรือ และคำตอบที่อยากให้ทุกคนได้ยินคือได้ และได้แน่นอน บริษัทธุรกิจต่างๆ ทำงานเสริมสร้างสิทธิมนุษยชนได้ทุกบริษัท และน่าจะพิจารณาว่า CSR เป็นเครื่องเสริมสร้างสิทธิพื้นฐานในสังคม

บางคนอาจจะคิดว่า CSR ยังมีเป้าหมายที่สนับสนุนการดำเนินงานและผลกำไรของบริษัทในระยะยาว แล้วจะเกี่ยวข้องกับการทำงานเชิงสิทธิ

ได้ อย่างไร แต่เมื่อพิจารณาคำ CSR หรือตัวเต็มว่า corporate social responsibility แปลความหมายถึง ความรับผิดชอบทางสังคม ความรับผิดชอบของบริษัทก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการทำงานเชิงสิทธิ ความรับผิดชอบต่อสังคมอาจจะเริ่มจากการทำงานภายในบริษัท จนกระทั่งการรณรงค์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การเสริมสร้างโอกาสด้านการ ศึกษาของประเด็นยากจน การเสริมพลังการคิดและภาวะผู้นำของเยาวชน หรือการช่วยเหลือคนที่ตกในภาวะชายขอบ ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางสังคมได้ เช่น ชนชาติพันธุ์ หรือแม้กระทั่งการทำงานด้านการศึกษาพื้นฐานให้เด็กแรงงานข้ามชาติที่มาทำงาน ในประเทศไทย ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีฐานการทำงานเชิงสิทธิอยู่

ลักษณะ สำคัญของการทำงานเชิงสิทธิ คือการเสริมสร้างโอกาสในการเข้ามามีส่วนร่วม participation โดยวิถีการเพิ่มพลังในตัวตน หรือ empowerment ของผู้ที่ตกอยู่ภาวะชายขอบ การทำงานเชิงสิทธิมิได้มองว่าคนเกิดมาจน เกิดมาอยู่ในครอบครัวที่อยู่ชายขอบ สังคมต่างหากที่ไม่ได้เปิดโอกาสในการเข้าถึงบริการที่จำเป็น หรืออย่างน้อยส่งเสริมให้เขาได้แก้ปัญหาด้วยตนเอง การเพิ่มพลังในคน ตัวอย่างง่ายๆ เช่น การช่วยเหลือให้เด็กๆ ในพื้นที่ยากจนมีโอกาสทางการศึกษามากขึ้น การช่วยเหลือครอบครัวที่ยากจนให้มีโอกาสด้านอาชีพมากขึ้น หรือการเสริมสร้างโอกาสให้ชุมชนในพื้นที่ป่ามีส่วนร่วมในการดูแลจัดการ ทรัพยากรป่าไม้ การพัฒนาความทัดเทียมระหว่างหญิงและชาย

หลักการเอ็ม พาวเวอร์เมนต์ถูกเปรียบ เปรยเหมือน หากเราต้องการช่วยเหลือครอบครัวคนจนครอบครัวหนึ่ง แทนที่จะนำปลามาให้ครอบครัวนี้ได้กินเป็นมื้อๆ เราน่าจะแนะนำครอบครัวที่ยากจนถึงวิธีการจับปลาด้วยตนเอง เพราะเขาสามารถจับปลาได้ทุกวันโดยไม่ต้องรอการช่วยเหลือสงเคราะห์จากผู้อื่น

งานพัฒนาที่เน้นความสำคัญของ "คน" จึงเป็นงานที่มีพื้นฐานเชิงสิทธิ แต่ในการทำงานเชิงสิทธิเรามักจะรวมถึงความพยายามในการแก้ไข "สาเหตุ" ของความด้อยโอกาส นั่นหมายถึงการพิจารณารากเหง้าของความไม่ด้อยโอกาส และความเชื่อว่าคนเราอาจไม่สามารถเลือกเกิดได้ในครอบครัวที่มีทุกอย่างพร้อม แต่สมาชิก สังคมทุกคนมีความรับผิดชอบในการทำอย่างไร ให้คนที่ด้อยโอกาสมีทางเลือก มากขึ้น

การพัฒนาเพื่อแก้ไขสาเหตุที่มี ความไม่ทัดเทียม นอกจากจะทำงานแบบเอ็ม พาวเวอร์เมนต์ ยังทำงานกับผู้ที่มีความรับผิดชอบหรือหน้าที่ต่อการพัฒนาผู้ด้อยโอกาส เช่น ครู หน่วยงานราชการ องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น โดยมีการส่งเสริมให้ผู้ที่มีความรับผิดชอบอยู่แล้วได้ทำบทบาทนั้นได้ดีขึ้น จึงมีความแตกต่างระหว่างการให้ทุนช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสเป็นครั้งๆ การทำงานพัฒนาแต่อย่างเดียว กับการทำงานพัฒนาเชิงสิทธิ

ตัวอย่าง ครอบครัวที่รู้จักจับปลาด้วยตนเองแล้ว แต่ไม่มีแหล่งน้ำเพื่อที่จับปลานั้น การทำงานเพื่อแก้ไขสาเหตุรากเหง้าก็จะเน้นการ "เข้าถึง" หรือสิทธิการใช้แหล่งน้ำที่มีปลา ทั้งนี้การใช้แหล่งน้ำนั้นๆ ก็ต้องทำด้วยความรับผิดชอบ คือผู้ใช้ มีวิธีการใช้ ที่เน้นความพอเพียง ความยั่งยืนของแหล่งปลานั้นด้วย

การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนของ ชุมชนคือการวางระเบียบการใช้แบบทดแทน และการทำงานเป็นเครือข่ายของผู้ใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั่งเดิมในพื้นที่ป่า อีกตัวอย่างคือการทำงานร่วมกับกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย ซึ่งมาวันนี้ได้กลายเป็นตัวอย่างของงานเชิงสิทธิที่ยอมรับระดับนานาชาติ โดยผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความสำเร็จในด้านการเข้าถึงสิทธิพื้นฐาน คือสิทธิการเข้าถึงการรักษา เสริมสร้าง "พื้นที่ทางสังคม" ได้อย่างน่าชื่นชม

บริษัทที่ทำงานเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบทาง สังคมน่าจะเสริมสร้างความเข้าใจในการทำงานเชิงสิทธิ เสริมสร้างการมีส่วนร่วม การเกิดพลังในการพัฒนาตนเอง ผมเชื่อว่างาน CSR จะเป็นการเดินไปอีกก้าวที่สำคัญในการพัฒนาสังคม ซึ่งตรงนั้นน่าจะเป็นเรื่องยินดี ทั้งผู้ประกอบการ พนักงาน และสังคมโดยกว้าง

หากบริษัทใดสนใจหรือต้องการข้อมูลเรื่องการทำงาน เชิงสิทธิ หรือการทำงาน พัฒนาในรูปแบบ CSR อื่นๆ หรือบริษัทมีตัวอย่างดีๆ ที่อยากเล่าสู่กันฟัง สามารถติดต่อผมได้ด้วยความยินดี ที่ Email promboon@raksthai.org และหาข้อมูลมูลนิธิรักษ์ไทยที่เว็บไซต์ www.raksthai. org

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 15 กันยายน 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03150951&day=2008-09-15&sectionid=0221


6 คุณสมบัติรายงานที่มีคุณภาพ


แม้ จะยังมีข้อถกเถียงระหว่างความเหมือนและความต่างของรายงานความรับผิดชอบต่อ สังคม (CSR report) และรายงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SD report) แต่จะอย่างไรดูเหมือนว่าแนวโน้มของรายงานประเภทหลังจะได้รับความนิยมมากกว่า เนื่องจากครอบคลุมประเด็นได้กว้างขวางกว่า และมีคุณสมบัติเฉพาะ โดยเฉพาะหากรายงานฉบับนั้นมีคุณภาพ สำหรับคุณลักษณะของรายงานที่ดีประกอบไปด้วย 6 ประการ

1.การบอกทั้ง ข่าวดีและข่าวร้าย (balance) คือบอกทั้ง 2 ด้าน เช่น ข่าวร้ายว่ามีคนงานเสียชีวิตเท่าไร ซึ่งเป็นการเรียนรู้ในการแก้ไขปรับปรุง มิใช่บอกแต่เรื่องที่ดีที่อยากบอก การสร้างสมดุลของข้อมูลทั้ง 2 ด้าน จะทำให้รายงานมีความน่าเชื่อถือ

2.เปรียบเทียบได้ (comparability) โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลของปีที่ผ่านมา ซึ่งจะสะท้อนภาพการทำงานที่มีการพัฒนาขององค์กร

3.ความถูกต้อง (accuracy) รายงานข้อมูลที่ถูกต้อง

4.ทันสมัย (timeliness) รายงานข้อมูลที่ทันสมัยและทันการในเวลานั้นๆ เช่น หากรายงานทุก 1 ปี หรือ 2 ปี ก็ต้องอัพเดตข้อมูลล่าสุด

5.มีความชัดเจน (clarity) อ่านแล้วเข้าใจได้ไม่ยาก มีข้อมูลแสดงในรูปแบบต่างๆ ประกอบ

6.เชื่อถือได้ (reliability)

ทั้ง หมดเป็นคุณลักษณะที่ดีของรายงาน อย่างไรก็ตาม ตามมาตรฐานของ GRI นั้น เปิดโอกาสให้บริษัทให้เกรดตัวเองโดยดูถึงความครบถ้วนตามเกณฑ์ที่วางไว้ และ สามารถการันตีได้ด้วยตราแสตมป์ของ GRI ซึ่งแบ่งเป็น 3 รูปแบบ แบบหนึ่งคือองค์กรรายงานครบถ้วน แบบหนึ่งคือมีผู้ตรวจสอบจากภายนอก และอีกแบบคือการได้รับการรับรองจากหน่วยงานของ GRI


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 15 กันยายน 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02150951&day=2008-09-15&sectionid=0221

CSR ยุคใหม่ต้องวัดผลได้ (2)

GRI มาตรฐานการจัดทำรายงานความยั่งยืน


จะว่าใหม่ก็ไม่ใหม่นักในเรื่องของมาตรฐานการจัดทำรายงานเพื่อการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน โดยเฉพาะในกรอบของ global reporting innitiative (GRI) ซึ่งเริ่มต้นพัฒนามาตรฐานการจัดทำรายงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาตั้งแต่ ปี 2540 จนถึงวันนี้ได้พัฒนามาถึงเวอร์ชั่นที่ 3 ซึ่งเรียกว่า G 3

แม้ว่าปัจจุบันจะมีมาตรฐานการจัดทำรายงานความรับผิดชอบต่อสังคมและรายงานการ พัฒนาอย่างยั่งยืน จะมีหลากหลายมาตรฐาน อาทิ UN Global Compact OECD Guideline แต่เหตุที่ GRI เป็นที่ได้รับความนิยมและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางไปทั่วโลก สะท้อนภาพจากแบรนด์ชั้นนำในโลก ไม่ว่าจะเป็นไมโครซอฟท์ โคคา-โคลา จีอี ไอบีเอ็ม โนเกีย ฯลฯ ต่างก็เลือกใช้มาตรฐานนี้ในการจัดทำรายงานของตน รวมไปถึง "ท็อปโกลบอลแบรนด์" กว่า 80% และเกือบครึ่งหนึ่งของ 100 บริษัทชั้นนำทั่วโลกต่างเลือกใช้มาตรฐานนี้ โดยระบุด้วยว่าจากการจัดทำรายงานทำให้ผลกำไรดีขึ้น

เพราะอะไร GRI จึงได้รับความนิยม ผศ.ดร.สมพร กมลศิริพิชัยพร นักวิชาการจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง CSR กล่าวไว้ในระหว่างการอบรมเชิงปฏิบัติการ "CSR Academy" ที่หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ และสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ในหัวข้อ "แนวทางการประเมินผลและการจัดทำรายงาน CSR" ซึ่งเป็นหนึ่งใน 6 หัวข้อซึ่งจัดขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2551 ว่า

"เหตุที่ GRI ได้รับการยอมรับเพราะที่ผ่านมามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (stekeholders) ในทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมและนำมาสู่การปรับปรุงมาตรฐานจนถึง เวอร์ชั่นปัจจุบัน"

"ปัจจุบันแนวโน้มการจัดทำรายงานเพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืน (sustainability report) นั้นเกิดขึ้นทั่วโลก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะแรงกดดันของสังคม ไม่ว่าจะจากสาธารณะ องค์กรพัฒนาเอกชน สหภาพแรงงาน เพราะในโลกยุคโลกาภิวัตน์ พวกเขาอยากรู้ว่า เมื่อไปเปิดกิจการในที่อื่นๆ เขาทำเหมือนที่บ้านตัวเองหรือเปล่า โดยเฉพาะต้องดูในเรื่องของสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย"

เสียงเรียกร้องจากนักลงทุน

" ยิ่งในปัจจุบันนักลงทุนที่สนใจในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของบริษัทมีมากขึ้น มีกองทุนที่เลือกลงทุนกับธุรกิจลักษณะนี้มากขึ้น นักลงทุนจึงต้องการเห็นผลการดำเนินการในเรื่องต่างๆ มากกว่าเพียงรายงานทางการเงิน เพราะเขาต้องการรู้ว่าบริษัทนั้นๆ ดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมหรือไม่ เพราะหากทำถือเป็นการลดความเสี่ยงทางการลงทุนอย่างหนึ่งของธุรกิจ"



แม้ ว่าปัจจุบันกองทุนในลักษณะนี้ในไทยจะยังไม่เกิด ซึ่งทำให้ความตื่นตัวในเรื่องการจัดทำรายงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในบ้านเรายังมีไม่มากนัก รวมถึงไม่มีมาตรการใดๆ เป็นการบังคับ เพียงแต่ปัจจุบันน่าจะมีสัญญาณที่ดีขึ้น จากการส่งเสริมเรื่องนี้อย่างจริงจังของตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ต้องการให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดจัดทำรายงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งครอบคลุม 3 มิติ คือ ด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม มากไปกว่าเพียงการจัดทำรายงานทางการเงินหรือรายงานประจำปีเพียงอย่างเดียว

โดย ปัจจุบันการจัดทำรายงาน CSR (CSR report) หรือรายงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainability report) ได้รับการบรรจุอยู่ในแนวปฏิบัติและหลักการเบื้องต้นในการแสดงความรับผิดชอบ ต่อสังคมของธุรกิจ ที่ชื่อ "คู่มือเข็มทิศธุรกิจ" ซึ่งจัดทำโดยคณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัท จดทะเบียน หลายองค์กรอาจจะมองว่านี่เป็นภาระที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจ แต่ในฐานะ ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง GRI ผศ.ดร.สมพรบอกว่า "เมื่อเราทำ CSR แล้ว ก็ต้องสื่อสารในความเป็นจริง การจัดทำรายงานซึ่งมีกรอบมาให้เราในทุกๆ เรื่องทั้ง 3 มิติ ไม่เพียงแต่จะทำให้เราสามารถสื่อสารข้อมูลทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านดี และด้านไม่ดี กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อที่จะเข้าใจองค์กรมากขึ้นกว่าเพียงข่าวร้ายที่ปรากฏผ่านหน้าสื่อ หนังสือพิมพ์ ในเวลาเดียวกัน ยังช่วยให้องค์กรที่จัดทำรายงานตามมาตรฐาน GRI สามารถทบทวนตัวเองและนำไปปรับปรุงการดำเนินธุรกิจการดำเนินธุรกิจอย่างมี ความรับผิดชอบเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับองค์กรของตน"

โอกาสของธุรกิจจาก GRI

ตัวอย่าง เช่น มีบริษัทไทยบริษัทหนึ่ง ก่อนหน้าที่จัดทำรายงาน เขาไม่รู้และตระหนักเลยว่าการเปิดโอกาสให้พนักงานพัฒนาตัวเองผ่านการฝึกอบรม ในแต่ละปี ผ่านหลักสูตรอบรมต่างๆ นั้น กระจุกอยู่ในระดับผู้บริหาร แต่เนื่องจากเรื่องนี้เป็นหมวดหนึ่งที่ GRI กำหนด เมื่อต้องทำรายงานทำให้พบข้อผิดพลาดเรื่องนี้ ดังนั้นจึงกลายเป็นที่มาที่ทำให้บริษัทนั้นนำไปปรับปรุงกลยุทธ์ในการดำเนิน งานด้านทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งในท้ายที่สุดประโยชน์ก็จะตกอยู่กับองค์กรในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม เท่าที่ "ประชาชาติธุรกิจ" ได้สอบถามไปยังธุรกิจต่างๆ ที่ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ในปัจจุบันเกี่ยวกับเรื่องการจัดทำรายงานตามมาตรฐาน GRI พบว่าองค์กรส่วนใหญ่คิดว่ามาตรฐานสากลในการจัดทำรายงานนี้เป็นเรื่องยากและ ยังเข้าใจได้ยาก

แต่หากพิจารณาแนวทางในการจัดทำรายงานเพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืนตามที่ ผศ.ดร.สมพรได้แนะแนวทางไว้ในหลักสูตร "CSR Academy" น่าสนใจว่า การจัดทำรายงานตามมาตรฐานสากลนั้นไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไป โดยเวอร์ชั่น G 3 ของ GRI แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนหนึ่งคือหลักการและแนวปฏิบัติ ส่วนที่ 2 การเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐาน และส่วนที่ 3 การรายงานข้อมูลอื่นๆ

เมื่อจะต้องทำ SD report

" ในส่วนแรกก่อนที่จะจัดทำรายงาน เราก็ต้องพิจารณาก่อนว่าเราจะรายงานอะไร เพราะเขาไม่ได้ออยากได้น้ำ แต่อยากได้เนื้อๆ ในสิ่งที่องค์กรทำจริง โดยต้องเป็นข้อมูลที่ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรสนใจ และมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของเขา ถ้าเป็นนักลงทุนก็ต้องดูว่าจะส่งผลให้เขาตัดสินใจลงทุนกับบริษัทเรา ฉะนั้นต้องดูแนวคิดและความสนใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย โดยที่องค์กรเองก็ต้องมีการจัดอันดับความสำคัญของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้ดี แต่โดยส่วนใหญ่ในต่างประเทศจะเน้นไปที่นักลงทุน"

จะค้นหา เนื้อหาสาระที่จะสื่อสารได้เช่นนั้นได้ มีกระบวนการในการทำงานอยู่ 3 ขั้นตอน 1.รวบรวมประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบริษัท 2.พิจารณาประเด็นที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย 3.ทบทวนและวิเคราะห์

ผศ.ดร.สมพรยกตัวอย่าง "รายงานของฟอร์ด" ว่า "ฟอร์ดนี่แรกเริ่มเขาเลือกประเด็นและเก็บข้อมูลต่างๆ มา 500 ประเด็น จากนั้นก็ให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรเข้ามาให้ความ เห็นว่าสนใจเรื่องไหน ก่อนจะเหลือ 15 หัวข้อ จากนั้นเขาเอามาจัดลำดับความสำคัญของฟอร์ด เขาพิจารณาจากว่าเป็นประเด็นที่มีผลกระทบต่อบริษัทหรือไม่ ผู้ที่เกี่ยวข้องสนใจไหม และเป็นเรื่องที่สามารถควบคุมได้ จากนั้นมีการนำมาทบทวนโดยมีการเวิร์กช็อปภายในองค์กรอีกครั้ง อาจมีเอ็นจีโอเข้ามาช่วยดูด้วยว่าประเด็นที่จะรายงานนั้นครอบคลุมสิ่งที่ สังคมอยากรู้ หรือไม่"

โดยหัวใจสำคัญในขั้นตอนนี้ คือ การจัดลำดับความสำคัญของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ว่าองค์กรจัดอันดับความสำคัญอย่างไร เพื่อที่จะสามารถจำแนกและแยกแยะประเด็นที่จะรายงานที่ตรงกับความต้องการ

องค์ประกอบของรายงาน

" เมื่อเราหาข้อมูลเตรียมที่จะรายงานได้แล้ว ต้องมาพิจารณาว่า จะต้องรายงานใน 3 ส่วนตามที่ GRI กำหนด คือ ข้อมูลของบริษัท (profile) วิธีที่บริหารจัดการให้เป็นไปตามเป้าหมาย (management approach) และเครื่องมือชี้วัดประสิทธิผล (performance indicators) โดยเขาจะเรียงลำดับมาให้ว่า ข้อ 1.1 ควรรายงานอะไร 1.2 ไล่ไปเรื่อยๆ ซึ่งเราก็สามารถใส่ข้อมูลตามนั้น

หน้าแรกเปิดมาเลยก็คงเป็น CEO statement หลายคนไม่เข้าใจ แต่ที่ต้องทำเพราะเมื่อมีรูปมีคำมั่นของซีอีโออยู่ข้างหน้านั่นเป็นภาพ สะท้อนว่ารายงานฉบับนี้ต้องเชื่อถือได้ ส่วนที่ 2 เรื่อง profile ของบริษัทก็ต้องมีโครงสร้างขององค์กร ซึ่งตอนนี้บริษัทใหญ่ๆ ก็มีผู้บริหารระดับสูงดู เนื่องด้วย CSR รวมไปถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจ และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในส่วนขององค์กร"

ในส่วนของ management approach เราก็ต้องรายงานทั้ง 3 มิติ คือ ด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม

" หมายถึงว่าเราต่องบอกวิธีที่จะทำให้การบริหารจัดการใน 3 มิตินั้นเป็นไปตามเป้าหมาย เช่น management approach ด้านสิ่งแวดล้อมของโคคา-โคลา จะมีระบบที่เรียกว่า quality system evaluation approach ซึ่งเป็นมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่องค์กรกำหนดขึ้นมาและใช้ทั่วโลก หรือในเรื่องนี้จะมีการใส่มาตรฐานต่างๆ จากภายนอก อาทิ มาตรฐาน ISO ที่องค์กรนำมาใช้"

สำหรับเครื่องชี้วัด ซึ่งต้องรายงานทั้ง 3 ส่วนเช่นเดียวกัน

" บางทีเราก็จะนึกไม่ออกว่าจะรายงานด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ได้อย่างไร แต่ที่เราเห็นๆ จากตัวอย่างของต่างประเทศจะเห็นว่าในส่วนนี้เขารายงานว่า คุณค่าทางด้านเศรษฐกิจ คือรายได้ที่บริษัทได้รับมากระจายไปในส่วนใดบ้าง และเป็นรายได้กี่เปอร์เซ็นต์ ลงไปถึงผู้ถือหุ้น ซัพพลายเออร์ กี่เปอร์เซ็นต์ และกระจายไปที่ชุมชนเท่าไร หรืออย่างด้านสิ่งแวดล้อม เราก็สามารถรายงาน หมวดใหญ่ก็มีเรื่องวัตถุดิบ พลังงาน น้ำ ของเสียที่ปล่อยออกมา อย่างเทสโก้ฯนี่ทำเรื่องคาร์บอนฟุตพรินต์ ว่าเขาสร้าผลกระทบอะไรบ้าง และพูดถึงแผนในอนาคต"

"จะเห็นได้ว่า รายงานทำให้เราสามารถมองเห็นการวางแผนของธุรกิจ ที่ไม่ใช่พูดเฉพาะเรื่องกำไร ขาดทุน แต่หมายถึงว่าเขาจะต้องรับผิดชอบต่อโลกอย่างไร และจะต้องแก้ไขอะไรบ้าง" ผศ.ดร.สมพรกล่าวในที่สุด

และนี่เป็นภาพบางส่วนของ GRI ที่เป็นเครื่องสะท้อนว่าจะนำไปใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือการประเมินองค์กรได้ อย่างไร การให้ความสำคัญเรื่องนี้ของหลายองค์กรในไทยรวมถึงมาตรฐานด้านความรับผิดชอบ ต่อสังคมต่างๆ นี่จึงอาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่า เมื่อถึงวันหนึ่งธุรกิจยากจะหลีกเลี่ยง !!

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 15 กันยายน 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01150951&day=2008-09-15&sectionid=0221

ป่าใต้น้ำ "นวัตกรรม" อนุรักษ์ปะการังของ "วีนิไทย"



จาก ความคิดของเด็กๆ และครูจากโรงเรียนพลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ที่ "ประสาน แสงไพบูลย์" พยายามผลักดันให้เด็กเรียนรู้จากการแก้ไขปัญหาจริง ปะการังที่ถูกทำลายจำนวนมากในพื้นที่แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี กลายเป็นที่มาของกิจกรรมในการทดลองเพาะเลี้ยงปะการังเพื่อเติมเต็มสิ่งที่ กำลังขาดหายไปในธรรมชาติ และค้นพบว่าท่อ พีวีซีเป็นวัสดุที่ดีที่สุดที่สามารถนำมาเพาะเลี้ยงปะการังจริง และสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติ แต่ในวันนั้นด้วยข้อจำกัดในแง่ งบประมาณทำให้กิจกรรมที่ว่าไม่สามารถขยายผลได้เท่าไหร่นัก

แต่ทันที ที่ข่าวการค้นพบถูกเผยแพร่ผ่านสื่อและปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ ทำให้ ผู้บริหาร บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทผลิตผงพีวีซี สนใจและเริ่มต้นในการเข้ามาสนับสนุน และกลายเป็นที่มาของการตั้งมูลนิธิกิจกรรมวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการอนุรักษ์ โดยมี "ประสาน" เป็นประธานมูลนิธิ

"เพราะผมไม่อยากให้ความรู้อยู่ที่ ผมคนเดียว การมีมูลนิธิจะทำให้การอนุรักษ์และฟื้นฟูปะการังนั้นสามารถดำเนินต่อไปได้ อย่างยั่งยืน" ประสานกล่าว

แม้ว่าในปี 2547 หลังจากเริ่มก่อตั้งมูลนิธิและทำงานในพื้นที่จะได้รับแรงต้านจากชุมชนด้วย ความไม่เข้าใจถึงสิ่งที่พวกเขากำลังทำ แต่เมื่อเริ่มให้ความรู้และสร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชน ทำให้ทุกวันนี้ชุมชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมดูแลทรัพยากรธรรมชาติ เพราะอย่างน้อย ชาวบ้านก็รู้ดีว่าทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพที่ดีนั้นจะส่ง ผลดีกลับมาที่ชุมชน ทั้งกับอาชีพประมงที่เป็นอาชีพหลัก รวมไปถึงการท่องเที่ยว

จากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 5 ปี ในการลองผิดลองถูก ผ่านการเรียนรู้ จนทำให้มูลนิธิสามารถหาวิธีการในการดำเนินการปลูกปะการังเขากวางในท่อพีวีซี ได้อย่างมีประสิทธิผล และกลายมาเป็นจุดตั้งต้นของการทำโครงการวีนิไทยร่วมใจปลูกปะการัง 80,000 กิ่ง ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญ พระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา โดยนำนวัตกรรมที่ได้มาปลูกปะการังกว่า 80,000 กิ่ง ในระยะเวลา 5 ปีนับจากนี้

โดยไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯเสด็จฯเป็นองค์ประธานในการเปิดโครงการและปลูก ปะการัง กิ่งแรก เลขที่ 00001 ที่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

มร.กุนเธอร์ นาโดนี กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "หลายปีที่ผ่านมาเราสามารถปลูกปะการังไปได้กว่า 10,000 กิ่ง จากนี้เราจึงต้องการขยายโครงการให้ได้อีก 80,000 กิ่ง ในพื้นที่เกาะเสม็ด จ.ระยอง เกาะหวาย จ.ตราด เกาะทะลุ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ฯลฯ ที่เราให้การสนับสนุนการทดลองปลูกปะการังนี้มาตลอด เพราะเรามองว่าในฐานะที่บริษัททำผงพีวีซี และให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การดำเนินการผลิต จนถึงการร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ทำงานร่วมกับชุมชน เราจึงสนใจกับการทดลองปลูกปะการังในท่อพีวีซี โดยเริ่มตั้งแต่การทำวิจัย จนประสบความสำเร็จและกลายเป็นที่มาของโครงการนี้"

อย่างไรก็ตามในมุมมองของเขามองว่า ผลจากการดำเนินโครงการที่เกิดขึ้นจะสำเร็จไม่ได้เลยถ้าไม่ให้ชุมชนเข้ามามี ส่วนร่วม

" แม้เราจะสนับสนุนเงินและมีมูลนิธิที่ทำในเรื่องวิจัย แต่การลงไปดูแลในแต่ละพื้นที่ ตามเกาะต่างๆ ที่เราไปปลูก เราอาจจะไม่มีกำลังไปดูแลอย่างใกล้ชิด แต่ต้องอาศัยชุมชนเป็นผู้ดูแล จึงจะเห็นว่าสิ่งที่เราพยายามสร้างคือการดึงชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมกับเรา ทั้งภาครัฐ เอกชน โรงเรียน และผู้นำชุมชน เขาเริ่มต้นเข้ามาช่วยตั้งแต่เรื่องการปลูก เราเชื่อว่าถ้าทำแบบนี้ทุกคนก็จะรู้สึกมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากร ธรรมชาติ"

งานนี้ไม่ได้จบลงเพียงแค่การปลูกปะการัง แต่ภารกิจในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลยังคงทำ ต่อไป ภายใต้การทำงานของมูลนิธิ โดยบริษัทกำลังให้ความสนใจที่จะสนับสนุนให้ทำงานวิจัยทดลองปลูกปะการังชนิด อื่นเพิ่มขึ้นด้วย

นี่เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เชื่อมโยงขีดความสามารถ หลักของธุรกิจ โดยเข้าไปเติมเต็มกิจกรรมเล็กๆ ที่ถูกคิดค้นโดยคนในพื้นที่ ให้สามารถก่อร่างสร้างตัว และจะอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 8 กันยายน 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03080951&day=2008-09-08&sectionid=0221

ได้เวลา CSR กับ "ณรงค์ สีตสุวรรณ"

ทัศนคติที่สร้างสรรค์คือผลพลอยได้


ใน บทบาทหนึ่ง "ณรงค์ สีตสุวรรณ" นั่งในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) โดยมีหน้าที่หลักในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานและการขยายการลงทุนของบริษัท และบริษัทในเครือทั้งในและต่างประเทศ

2 ปีที่ผ่านมานอกจากการขับเคลื่อนธุรกิจ สิ่งที่หนึ่งที่เขาให้ความสำคัญคือการจัดระบบการทำงานขับเคลื่อน CSR ในองค์กร

"ประชาชาติธุรกิจ" ตั้งคำถามเมื่อมีโอกาสพูดคุยกับเขาว่า "คิดว่าเป็นการทำตามกระแสหรือไม่"

" ณรงค์" บอกว่า "เรื่องนี้อยู่ในสายตาผมมาตลอดและเห็นว่าที่ราชบุรีฯก็ทำกิจกรรมเพื่อสังคม มามาก เมื่อผมมาที่นี่เมื่อ 2 ปีก่อน ผมเห็นว่าที่นี่ก็ทำงานเพื่อสังคมมาก ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะของชุมชนสัมพันธ์ที่ทำกันมานาน เพียงแต่ว่าไม่ได้ทำเป็นระบบและทำในวงกว้าง"

และเชื่อว่าวันนี้เป็น เวลาที่พอเหมาะ เมื่อบริษัทเจริญเติบโตและค่อนข้างมีความแข็งแกร่งและสามารถมีความรับผิดชอบ ในระดับพื้นฐาน ทั้งการทำตามกฎหมายและการปฏิบัติตาม

หลักเกณฑ์ของ ตลาดหลักทรัพย์ฯในฐานะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาด ในการที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่าการช่วยเหลือเฉพาะในพื้นที่ ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า

และเป็นเวลาที่พอเหมาะในการจัดระบบการทำงาน CSR เสียใหม่ โดยตั้งส่วนกิจกรรมสังคมขึ้นมาเพิ่มเติม อยู่ภายใต้การดูแลของฝ่ายสื่อสารองค์กร ขณะเดียวกันมีการปรับโฟกัสเรื่องนี้ให้ชัดขึ้น โดยเลือกให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการป่าชุมชนที่ ปัจจุบันมีกว่า 8,000 แห่งทั่วประเทศให้มีความยั่งยืน รวมไปถึงการวางระบบงาน

"ผมเชื่อว่าการจัดระบบจะทำให้มีความยั่งยืน ถ้ามีถ้าผมไปเรื่องนี้ก็ยังอยู่ เหมือนป่าชุมชน ถ้าไม่มีราชบุรีฯเขาก็ต้องอยู่ได้ และผมมองว่าเมืองไทยให้ความสำคัญกับบุคคลมากเกินไป ดังนั้นถ้าจะให้ยั่งยืนในทุกเรื่องต้องมีการสร้างดุลยภาพระหว่างระบบและ บุคคลให้สมดุลกัน"

เช่นเดียวกับการเลือกทำโครงการ "คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน"

เขา บอกว่า "ผมเชื่อว่าเราต้องโฟกัสประเด็นให้ชัดมากขึ้น โดยดูศักยภาพในสิ่งที่บริษัททำได้ จริงๆ เรื่องปลูกป่าก็มีคนทำเยอะแล้ว ผมคิดว่าโครงการนี้เป็นการสร้างทั้งป่าและคน ปัญหาในสังคมที่เกิดขึ้นทุกวัน ม็อบที่เราเห็นๆ ก็เกิดจากความหวาดระแวงและมีทัศนคติในแง่ลบต่อกันของคนในสังคม ผมว่าในโครงการนี้จะเป็นการสร้างสังคมด้วย"

โดยขยายความว่า "การที่ป่าจะมีคุณภาพได้ สมดุลไม่เสื่อมโทรม จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีชุมชนที่เข้มแข็ง คนมีคุณภาพ ใช้เหตุใช้ผล มีความรู้ ไม่ให้ใครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ตักตวง พอเขาเรียนรู้เรื่องแบบนี้ ไม่ว่าจะไปทำอะไร วิธีคิดแบบนี้จะติดตัวเขาไปด้วย สังคมก็ดีตาม"

ดัง นั้นเวทีการประกวดป่าชุมชนที่ในปีนี้ซึ่งถือเป็นครั้งแรก มีชุมชนที่ร่วมส่งประกวดกว่า 800 แห่ง และได้รับการคัดเลือกในระดับจังหวัด ระดับภาคและระดับประเทศรวม 125 แห่ง ไม่เพียงจะเป็นการยกย่องให้คนในชุมชนมีกำลังใจ หากแต่ยังมีเป้าหมายสำคัญเพื่อให้เกิดต้นแบบ เพื่อสร้างการเรียนรู้ระหว่างกัน โดยระหว่างทางของการดำเนินโครงการจะมีการจัดกิจกรรมเป็นระยะๆ เพื่อให้แต่ละชุมชนมีโอกาสแลกเปลี่ยนบทเรียนระหว่างกัน มีค่ายเยาวชนและกิจกรรมอาสาสมัครพนักงานเข้าไปเรียนรู้

"สิ่งที่เรา ทำจะสะท้อนกลับมาสู่องค์กร ไม่เพียงแต่พนักงานจะเกิดความภาคภูมิใจ คุณค่า (value) อีกอย่างที่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นคือ ทัศนคติในทางที่สร้างสรรค์ เพราะเวลาทำงานสิ่งสำคัญแทนที่จะมาคอยกล่าวหากันว่าใครผิด แต่สิ่งที่เราต้องถามก็คือ มีวิธีที่ดีกว่านี้หรือไม่ ผมเชื่อว่าถ้าเกิดทัศนคติแบบนี้ได้ นี่คือผลพลอยได้จากการทำกิจกรรม CSR ซึ่งจะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าขององค์กร" ณรงค์กล่าวในที่สุด

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาติธุรกิจ วันที่ 8 กันยายน 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02080951&day=2008-09-08&sectionid=0221

ให้การ "ปลูกป่า" เป็นมากกว่าแฟชั่น !!



" จากกระแสโลกร้อนที่ผ่านมาทำให้ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาเห็นได้ชัดเจนว่ามีคนสนใจมาปลูกป่าชายเลนในพื้นที่กับเรามากขึ้น บางทีก็มากันเป็นครอบครัว 5-10 คน หรือบางทีบริษัทก็จัดพาพนักงานมาปลูกป่า เฉพาะแค่ในรอบปีที่ผ่านมาเราสามารถขยายพื้นที่ป่าได้มากถึง 78 ไร่ หรือปลูกต้นไม้ไปเกือบ 1 แสนต้น ซึ่งโดยปกติเราไม่สามารถทำได้มากถึงขนาดนี้" จ่าสิบเอกนิเวช ชูปาน เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมศึกษา ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก บางปู เล่าให้ฟังถึงความตื่นตัวของคนในสังคม ตลอดจนองค์กรธุรกิจ จากกระแสรณรงค์เรื่องปัญหาโลกร้อนที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา

แม้ ในฐานะคนที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม เขามีข้อเป็นห่วงว่า ทุกวันนี้หลายพื้นที่การปลูกป่าถูกจัดขึ้นแค่เป็นกิจกรรม โดยหลงลืมการมองความยั่งยืนในระยะยาว ทำให้อัตราการรอดของต้นไม้แทบจะไม่มี รวมไปถึงความไม่เข้าใจในพื้นที่ เช่น การนำไม้พันธุ์ต่างถิ่นมาปลูก การปลูกโดยไม่ใส่ใจวิธีการปลูกที่ถูกต้อง รวมไปถึงการไม่มี งบประมาณในการดูแลรักษาซึ่งต้องใช้เวลาดูแลต่อจากวันที่ปลูกไปอย่างน้อยก็ 2-3 ปี

นี่เป็นเสียงสะท้อนจากคนในพื้นที่ ของความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม "ปลูกป่า" ยอดนิยมและทำให้กิจกรรมในลักษณะนี้ของหลายองค์กรในวันนี้ถูกมองเป็นเรื่อง ของแฟชั่น บางครั้งก็เป็นแค่กิจกรรมประชาสัมพันธ์ที่ผิวเผิน

อะไรคือทางออกและจะสามารถก้าวพ้นสิ่งที่ว่านั้น !!

ดร. พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเรื่อง CSR กล่าวว่า "แม้แต่กิจกรรมปลูกป่า ถ้าเรามองในเชิงนวัตกรรม CSR ก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ โดยเฉพาะวันนี้ถ้าเราคุยกับผู้เชี่ยวชาญจะรู้ว่าป่าที่ไปปลูกๆ กันมีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่รอด เพราะสิ่งสำคัญกว่านั้นคือการดูแลรักษาให้ต้นกล้าแข็งแรงและเติบโตซึ่งต้อง ใช้งบประมาณในการดูแลรักษาต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 3 ปี ซึ่งถ้าสมมติว่ามีองค์กรใดองค์กรหนึ่งเข้าไปเลือกที่จะดูแลรักษาต้นไม้อย่าง เดียว อย่างนี้ผมถือว่าเป็นกิจกรรมที่สร้างความแตกต่างได้และถือเป็นนวัตกรรม"

ทั้งนี้ต้องมองความต้องการของสังคมเป็นฐานบวกกับวิธีคิดที่แตกต่าง !!

เมอร์ค : Care for Green

วัน หยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาก็เช่นเดียวกับวันหยุดอื่นๆ ที่องค์กรธุรกิจมักจะเข้ามาจัดกิจกรรมปลูกป่าที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก บางปู แต่ผิดกันก็ตรงที่ครั้งนี้ถือเป็นการระดมคนที่เข้ามาลงแรงในการปลูกป่ามาก ถึง 1,000 คน ซึ่งถือเป็นคณะใหญ่ที่สุดตั้งแต่เคยมีการจัดกิจกรรมในพื้นที่นี้ โดยมีเป้าหมายในการปลูกต้นไม้กว่า 12,000 ต้น ในช่วงระยะเวลาเพียง 2-3 ชั่วโมง ภายใต้โครงการ "Care for Green : รักษ์ผืนป่ากับเมอร์ค ประเทศไทย ครั้งที่ 2" เพื่อเป็นการสานต่อเจตนารมณ์การลดความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลก ร้อน โดยร่วมมือกับมูลนิธิ Plant-A-Tree Today รวมไปถึงกองทัพบกและเทศบาลเมืองสมุทรปราการ

บริษัทตั้งต้นด้วยการ บริจาคต้นไม้ 2,008 ต้น ส่วนที่เหลือเป็นต้นไม้ที่ได้มาจากการบริจาคของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง หมด ตั้งแต่ลูกค้า ซัพพลายเออร์ กระทั่งผู้ถือหุ้น โดยเปิดโอกาสให้คนเข้ามามีส่วนร่วมและสามารถซื้อต้นไม้บริจาคต้นละ 40 บาท ซึ่งเป็นราคาของต้นกล้ารวมกับงบประมาณในการดูแลรักษาต่อไปอีกอย่างน้อย 2 ปี

แม้จำนวนคนเข้าร่วมงานจะเป็นเครื่อง ชี้วัดของความสำเร็จหนึ่งที่น่าสนใจของบริษัทที่มีพนักงานเพียง 190 คน แต่จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมกลับ

ไม่ใช่เป้าหมายปลายทางของกิจกรรมนี้ ทั้งหมด หัวใจของกิจกรรมนี้อยู่ที่การสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมให้กับผู้ที่ มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร โดยดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม กิจกรรมเล็กๆ ที่ถูกเสริมเข้าไปคือการสร้างมัคคุเทศก์น้อยจากโรงเรียนในพื้นที่ซึ่งได้รับ การอบรมด้านสิ่งแวดล้อม โดยจะทำหน้าที่ให้ความรู้เรื่องระบบนิเวศและการปลูกป่าที่ถูกวิธีกับอาสา สมัครที่ลงพื้นที่ปลูกป่า

ในเวลาเดียวกันยังสามารถตอบโจทย์สำคัญใน การขับเคลื่อน CSR ของเมอร์ค ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานและลูกค้า ทั้งยังสอดคล้องกับกลยุทธ์ CSR ที่ 1 ใน 3 ด้านคือการดูแลสิ่งแวดล้อม

"เราเห็นว่าที่ผ่านมาภาย ในกระบวนการทำธุรกิจเราทำเรื่องสิ่งแวดล้อมมามากมาย แต่เราต้องการเปิดโอกาสให้ลูกค้าและ พนักงานได้มีส่วนร่วมในการตระหนักต่อ สิ่งแวดล้อม เราถึงมาทำเรื่องปลูกป่า ที่สำคัญเมื่อหัวใจหลักอีกอย่างหนึ่งของกิจกรรมเราอยู่ที่การสร้างความ สัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและพนักงาน การได้มาร่วมประสบการณ์ในการทำกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกัน ทำให้ตอบโจทย์เรื่องนี้ได้" สุวรรณา สมใจวงษ์ ผู้จัดการฝ่ายความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัท เมอร์ค ประเทศไทย กล่าว

CSR ฉบับบูรณาการ

ที่ ผ่านมาเป้าหมายหลักของการทำงาน CSR อยู่ที่การสร้างการมีส่วนร่วม โดยมีการบูรณาการ CSR ลงไปในทุกกิจกรรมขององค์กร รวมไปถึงกิจกรรมการตลาดของบริษัท เช่น การนำเงินรายได้จากค่าสัมมนาเข้ามูลนิธิรักษ์ไทย การทำกิจกรรมในการประชุมประจำปีเพื่อระดมเงินบริจาคให้เด็กพิการ เป็นต้น เรื่องเหล่านี้กลายเป็นประเพณีปฏิบัติที่ทำกันในบริษัท

การบูรณาการ CSR ในรูปแบบนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน

จาก การสำรวจความคิดเห็นพนักงานทุก 6 เดือนของบริษัท พบว่าพนักงานมีความ พึงพอใจ คะแนนด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทนั้นได้ 100% ในขณะที่ผลการสำรวจความคิดเห็นลูกค้าแนวโน้มเรื่องความพึงพอใจกับความรับผิด ชอบต่อสังคมที่บริษัททำก็มีอัตราเติบโตอย่างต่อเนื่อง

หาจุดสมดุล "นโยบาย-การมีส่วนร่วม"

หาก พิจารณาจากกรณีศึกษาขององค์กรธุรกิจที่ผ่านมา ดร.พิพัฒน์ บอกว่า "ผลจากการศึกษาวิจัยวิสาหกิจที่ผ่านมาพบว่าเงื่อนไขสำคัญ 2 เรื่องในการจะขับเคลื่อน CSR ไปสู่ความสำเร็จคือ การหาจุดสมดุลจากการมีส่วนร่วมจากพนักงาน และจากการให้ความสำคัญของผู้บริหารเกี่ยวกับเรื่องนี้ผ่านการกำหนดนโยบายและ ปฏิบัติเป็นแบบอย่าง"

การเริ่มต้นจัดทัพ CSR ที่บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ดูเหมือนเลือกที่จะเดินในทิศทางนี้ ในการเคลื่อนขบวน CSR อย่างเป็นระบบในปีแรก

พร้อมๆ กับการเปิดตัวโครงการ "คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน" ซึ่งโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชุมชน โดยร่วมมือกับกรมป่าไม้ และใช้ เวทีการประกวดป่าชุมชนเป็นต้นทางในการกระตุ้นเพื่อให้เกิดกระบวนการในการ อนุรักษ์และพัฒนา ป่าอย่างเข้มแข็ง (อ่านรายละเอียดใน ล้อมกรอบ)

ที่ ผ่านมามีการจัดกิจกรรมให้ "พนักงาน" ลงไปปลูกป่าในพื้นที่ป่าชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ โดยมีนัยของการสร้างจิตสำนึก เรียนรู้ถึงความสำคัญและการมีส่วนร่วมกับกิจกรรม CSR หลักในเรื่องของป่าชุมชน นับจากนี้

สร้างคน-สังคม

" ณรงค์ สีตสุวรรณ" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "เป็นเรื่องที่ดีที่พนักงานจะได้มีโอกาสเรียนรู้ว่าบริษัทกำลังจะทำอะไร เราพยายามสร้างให้เขามีส่วนร่วมกับสิ่งที่บริษัทกำลังทำ นับตั้งแต่วันแรกในการประชุมประจำปีนอกสถานที่ของพนักงาน ในบริษัท เราเปิดโอกาสให้มีการระดมสมองว่า ถ้าเราจะต้องทำกิจกรรมเพื่อสังคมภายนอก เราจะทำอะไรกัน มีประเด็นต่างๆ ที่ถูกหยิบยกมามากมาย จากนั้นเราใช้เวลากว่า 6 เดือนเพื่อที่จะคัดกรองโดยตั้งอยู่บนพื้นฐาน 2 เรื่อง 1.การเกิดผลในวงกว้าง 2.เป็นเรื่องที่ยังไม่มีคนทำ เพื่อที่เราจะได้เข้าไปเกื้อกูลในระยะยาว แม้ระยะแรกเราจะวางไว้เพียง 5 ปี แต่ในระยะยาวเราไม่ได้มองจุดสิ้นสุด และจะทำไปจนกว่าจะประสบความสำเร็จ"

แม้ จะอีกยาวไกลกว่าไปถึงปลายทางแต่อย่างน้อยก็สามารถสะท้อนวิธีคิดของการ "ปลูกป่า" ไม่ว่าจะในรูปแบบของกิจกรรมเสริมหรือกิจกรรมหลัก แต่หากผ่านการคิดและการทำอย่างเป็นระบบ การปลูกป่านอกจากจะสร้างผลกระทบในเชิงบวกให้กับ สิ่งแวดล้อม ยังคงมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ตามมาและอาจทำให้การปลูกป่าก้าวไปไกลกว่าคำ ว่า "แฟชั่น" !!

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 8 กันยายน 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01080951&day=2008-09-08&sectionid=0221

พิทักษ์ ต.เต่า ปลุกสำนึก "อนุรักษ์เต่าทะเล"


แม้ ธรรมชาติจะสร้างให้ "เต่า" เป็นสิ่งมีชีวิตที่อายุยืนนับร้อยปี ออกไข่ได้ทีละหลายร้อยฟอง แต่โชคร้ายที่อัตราการรอดชีวิตของลูกเต่าก่อนที่จะถึงวัยเจริญพันธุ์จะเหลือ เพียงหนึ่งในพันตัวเท่านั้น โดยเฉพาะเต่าทะเลที่อุตส่าห์แอบมาฟักไข่ที่ชายหาดในเวลากลางคืน ก็ยังหนีไม่พ้นเงื้อมมือของมนุษย์ที่จ้องขโมยไข่ไปบริโภค หนำซ้ำเต่าทะลยังต้องเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมากจากการนำไปบริโภคและใช้กระดอง ทำเครื่องประดับ ยังไม่นับรวมถึงผลกระทบจากการปล่อยของเสียลงสู่ท้องทะเลและสภาวะโลกร้อนที่ ส่งผลต่อการกำหนดเพศ และการที่สัตว์ใหญ่เข้ามาทำร้ายระหว่างการว่ายน้ำลงสู่ทะเล เพราะหลังการฟักตาของลูกเต่ายังมองเห็นไม่ชัดเจน สาเหตุดังกล่าวทำให้จำนวนเต่าทะเลลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วและอยู่ในสถานการณ์ ที่น่าเป็นห่วง

จากข้อมูลของศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ ให้ข้อมูลว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมส่งผลต่อการลดจำนวนลงของเต่าทะเล ทั้งสิ้น ที่สำคัญกว่าเต่าทะเลจะเอาชีวิตรอดและเติบโตได้นั้นต้องใช้เวลานานนับ 10 ปี

จากจำนวน 1,000 ตัว เต่าทะเลจะสามารถเหลือรอดได้จากการดำรงชีวิตในธรรมชาติวันนี้เพียง 1-2 ตัว

เรียกได้ว่าจากไข่เต่า จนกลายเป็นตัวและเติบโต "เต่าทะเล" มีโอกาสที่จะรอดและมีชีวิตเพียงแค่ 0.1-0.2% เท่านั้น

สถานการณ์ ที่เกิดขึ้นทำให้เต่าทะเลที่เคยชุกชุมทั้งบริเวณฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน กำลังตกอยู่ในสภาพวิกฤตโดยเฉพาะบริเวณฝั่งอ่าวไทยที่มีเหลือน้อยมาก

" นี่เป็นครั้งแรกที่มีการนำลูกเต่าทะเลมาอนุบาลในรูปแบบอะควาเรียม หรือทะเลธรรมชาติเสมือนจริงในระบบปิด ที่เชื่อว่า นอกจากจะทำให้เต่าทะเลมีโอกาสรอดสูงกว่าในธรรมชาติแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และสร้างจิตสำนึกให้กับเด็กๆ โดยสามารถเข้าชมการให้อาหารลูกเต่าได้วันละ 2 รอบ คือ 12 นาฬิกา และ 16 นาฬิกา นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงเต่า 2 สายพันธุ์อย่างเต่าตนุและเต่ากระ และนิทรรศการแสดงข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับวงจรชีวิตเต่าทะเลให้ชม" เจฟ ออลสัน ผู้จัดการทั่วไป บริษัทสยามโอเชี่ยนเวิร์ล กรุงเทพฯ กล่าวถึงกิจกรรมอนุบาล ต.เต่า ซึ่งเป็นหนึ่งใน 4 กิจกรรมหลัก ภายใต้โครงการ "รักษ์เต่า ทะเลไทย" ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 2 โดย "สยามโอเชี่ยนเวิร์ล" ร่วมกับ "ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ" เพื่อสร้างการรับรู้สำหรับคนไทยต่อสถานการณ์เต่าทะเลที่ลดลง รวมถึงการมีส่วนร่วมในการรณรงค์ดูแลให้เต่าทะเลมีชีวิตรอดจนกลับคืนสู่ท้อง ทะเลได้อย่างปลอดภัย

ในกิจกรรมนี้ ผู้ปกครองและเด็กๆ จะได้มีโอกาสมีส่วนร่วมดูแลลูกเต่า โดยเป็น "ผู้ปกครองน้องเต่า" ตลอดระยะเวลา 3 เดือน โดยร่วมบริจาคเงินในการดูแลเต่าไปจนกระทั่งถึงวันที่ปล่อยเต่าสู่ท้องทะเล และร่วมเดินทางไปปล่อยเต่าทะเลคืนสู่ธรรมชาติในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ ที่ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ฐานทัพเรือสัตหีบ ในกิจกรรมชื่อ "ต้วมเตี้ยมแตะน้ำ" พร้อมๆ กับการเรียนรู้เรื่องเต่าทะเล ที่ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลด้วย

โครงการนี้ยังมี "แก๊งเด็กรักษ์เต่าทะเลไทย" ซึ่งจะมีสมาชิกตัวน้อยออกเดินสายให้ความรู้เพื่อปลุกจิตสำนึกของคนไทยผ่าน การเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล

ผู้ที่สนใจ สามารถเข้าร่วมโครงการพร้อมป้อนอาหารเต่าร่วมกับครอบครัว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เคาน์เตอร์บริการสยามโอเชี่ยนเวิร์ล ศูนย์การค้าสยามพารากอน หรือ โทร.0-2687-2000 ตั้งแต่วันนี้จนถึงกันยายนนี้

ก่อนที่อนาคตเยาวชนไทยจะเหลือเพียงรูปภาพของเต่าทะเลไว้ให้ศึกษา

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 1 กันยายน 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05010951&day=2008-09-01&sectionid=0221

เส้นทางเพื่อสังคม

"เกียรตินาคิน" จาก "งานการกุศล" ถึง "CSR"


ถ้า พูดถึง "งานการกุศล" นี่อาจจะถือเป็นวิถีปฏิบัติขององค์กรธุรกิจไทย ซึ่งไม่น้อยให้ความสำคัญเรื่องนี้มายาวนานกว่า 37 ปีบนเส้นทางการเติบโตของ "ธนาคารเกียรตินาคิน" ก็เช่นเดียวกัน "งานการกุศล" ถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับการดำเนินธุรกิจของบริษัทมาตลอด

จำนวนนักเรียนกว่า 37,000 คน ตลอด 37 ปีที่ผ่านมาที่มีโอกาสได้ทุนการศึกษาเพื่อเรียนหนังสือ

จำนวนประชาชนกว่า 1 แสนคนในช่วงเวลา 15 ปีที่เข้าถึงธรรมะและยกระดับจิตใจ

เป็นเพียงบางส่วนที่เป็นผลจากการทำงาน "การกุศล" อย่างต่อเนื่องมายาวนาน

หาก แต่ท่ามกลางกระแสของการเปลี่ยนผ่าน กว่า 2 ปีที่ผ่านมา ที่ธนาคารเริ่มปรับมุมคิดและดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ใหม่ ที่มีเป้าหมายสู่การยกระดับการทำงานเพื่อสังคมหรือกิจกรรม CSR ให้มีประสิทธิผลมากขึ้น

ผ่านการจัดระบบระเบียบใหม่ ด้วยการก่อตั้ง "มูลนิธิเกียรตินาคิน"

" มูลนิธิทำให้เราทำงานง่ายขึ้น ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องไปผูกพันกับผลการดำเนินงานของบริษัทว่าจะกำไรหรือขาด ทุน ทำให้สามารถทำงานเพื่อสังคมได้อย่างต่อเนื่อง และเราถือว่าเป็นหน้าที่" "ฐิตินันท์ วัธนเวคิน" ประธานสายธุรกิจเงินฝากและการตลาด ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ในฐานะรองประธานมูลนิธิ เกียรตินาคินกล่าว

การทำงานภายใต้มูลนิธิ เป็นการคัดเลือกและรวบรวมโครงการเพื่อสังคมในอดีต พร้อมทั้งใส่โครงการใหม่ ด้วยแนวคิด "พัฒนาคน พัฒนาชาติกับเกียรตินาคิน" ที่มุ่งเน้นการให้โอกาสทางการศึกษาเพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติ และพัฒนาคุณภาพของประชาชนในสังคมเป็นหลัก

เป็นการส่งเสริม "คนดีและเก่ง" เพราะเชื่อว่าเมล็ดพันธุ์เหล่านี้จะขยายผลไปสู่การสร้างสังคมที่ดีได้ !!

" ฐิตินันท์" กล่าวว่า "เป้าหมายของเราอยากให้มีคนดีเยอะๆ พอเขาดีและเก่งเขาก็ไปช่วยเหลือสังคมต่อได้ โดยเราส่งผ่านความเชี่ยวชาญของเรากับเงินไปสนับสนุน อย่างการเลือกเด็กให้ทุนการศึกษาเราไม่ได้ให้คนที่เก่งเป็นตัวตั้ง แต่เราจะเลือกเด็กที่ดี มีความประพฤติดีและขาดแคลน เพราะเราเห็นว่าคนเก่งมีคนสนับสนุนมากแล้ว แต่เราต้องการส่งเสริมคนดีให้มีโอกาสเก่งด้วย เพราะถ้าสนับสนุนคนให้เก่งแต่ไม่มีจริยธรรมก็เหมือนเป็นดาบสองคม"

กิจกรรม CSR ของธนาคารและมูลนิธิ ภายใต้โครงการนี้ ประกอบด้วย 1.ด้านการศึกษา ในเรื่องการให้ทุนการศึกษา โครงการทุนการศึกษาต่อเนื่องระดับปริญญาตรีที่เริ่มในปี 2551 เป็นทุนต่อเนื่อง 6 ปีจำนวน 468 ทุน ใช้งบประมาณ 18 ล้านบาท โครงการ Kiatnakin Responsibility Award@Sasin ในการให้ทุนลงทะเบียนกับนักศึกษาเอ็มบีเอ ศศินทร์ฯ ให้ลงทะเบียนข้ามประเทศ ฯลฯ

2.ด้านจริยธรรม ภูมิคุ้มกันสังคม การสนับสนุนยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย เยาวชนสัมพันธ์ตำรวจนครบาล ที่ทำให้เยาวชนกว่า 40,000 คนรู้โทษยาเสพย์ติด โครงการสนับสนุนการออมให้แก่ชุมชนของมูลนิธิดวงประทีป และ 3.ด้านบรรเทาทุกข์และการกุศลอื่นๆ ช่วยผู้ประสบภัยพิบัติ

จึงให้ความสำคัญกับการที่พนักงานและผู้บริหารที่เข้าไปมีส่วนร่วม

เรื่องนี้ "ฐิตินันท์" กล่าวว่า "CSR ในความหมายของเราไม่ต้องใช้เงินเป็นหลัก แต่เป็นจิตสำนึกของคนในองค์กร"

สิ่ง ละอันพันละน้อย จึงถูกสร้างขึ้นในธนาคารในการ "สร้างจิตสำนึกที่ดี" และเป็นจุดเล็กๆ ที่เชื่อว่าจะกลายเป็นจุดใหญ่และเกิดความเปลี่ยนแปลงในอนาคต

เรื่อง เล็กๆ เรื่องหนึ่งที่ "ฐิตินันท์" เล่าให้ฟัง อย่าง "วันแม่" ที่ธนาคารซื้อดอกมะลิจากสภาสังคมสงเคราะห์และแจกพนักงานทุกคน เพื่อให้เอาไปให้แม่ ซึ่งเป็นเรื่องเล็กๆ ที่เชื่อว่าจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในครอบครัว

"ไม่ว่าเขาจะ เอาไปมอบให้แม่หรือไม่ แต่เราก็พยายามจะทำ พยายามจะสร้างในสิ่งที่ไม่เป็นภาระกับเขา เพราะทุกเรื่องเชื่อมโยงกัน และเราก็เชื่อว่าจิตสำนึกก็เริ่มจากเรื่องเล็กๆ แบบนี้ เราเชื่อว่า CSR ที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องเริ่มที่ผู้บริหาร มีนโยบายให้ชัด แต่เมื่อมีนโยบายแล้วต้องเริ่มจากจิตสำนึกข้างล่าง และทำทั้งองค์กร

ใน ปี 2551 สิ่งที่จะถูกเพิ่มเข้าไปในการขับเคลื่อน CSR ในองค์กรของธนาคาร เกียรตินาคิน คือ การเพิ่มพลังขับเคลื่อนจากข้างล่างให้มากที่สุด โดยพยายามกระจายงบประมาณลงสู่สาขา สาขาละ 1-2 ล้านบาท ในการทำงาน CSR ในแต่ละพื้นที่ โดยมีโจทย์อยู่ว่าไม่ใช่แต่การให้เงินบริจาค แต่ทุกโครงการที่ทำ จะต้องให้พนักงานเข้าไปมีส่วนร่วม

"แม้จะเชื่อ ว่าการจะทำงานเรื่องนี้ให้สำเร็จ การทำในคราวเดียวอาจจะเป็น เรื่องยาก แต่ถ้าค่อยๆ ทำนี่ไม่ใช่เรื่องที่ยาก" ฐิตินันท์กล่าวในที่สุด

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 1 กันยายน 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04010951&day=2008-09-01&sectionid=0221

สภาพแวดล้อม...เรื่องที่ไม่ควรลืม


ดร.อัศวิน จินตกานนท์ กรรมการ มูลนิธิรักษ์ไทย
กล่าวว่า CSR มีความหมายที่หลากหลายต่อคนหลายๆ กลุ่ม และขึ้นอยู่กับความสนใจว่าธุรกิจนั้นสนใจเรื่องใด เรื่องที่คุยกันอย่างกว้างขวางคือ เรื่องการพัฒนาสังคมที่ด้อยโอกาส และการทำกิจกรรมเพื่อสังคม

ในวันนี้ผมขอพูดถึงความรับผิดชอบของ ธุรกิจต่อสังคมที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม และสภาวะโลกร้อนซึ่งมีผลกระทบต่อคน ทั่วโลกและคนไทย สภาวะโลกร้อนกำลังทำให้ภูเขาน้ำแข็งที่ขั้วโลกทั้งสองละลายอย่างน่ากลัว และทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นจนบางประเทศเริ่มประสบปัญหาน้ำท่วม และระดับน้ำเริ่มสูงขึ้นทุกปี สำหรับประเทศไทยยังไม่มีข้อสรุปว่าน้ำทะเลจะสูงขึ้นจนน้ำจะท่วม เพราะยังมีการถกเถียงกันอยู่ แต่นายโรเบิร์ต นิดอลส์ จากมหาวิทยาลัย Middlesex ที่กรุงลอนดอน คาดว่าภายในปี 2633 ระดับน้ำทะเลในประเทศไทยจะ สูงขึ้นกว่าปัจจุบัน 40 ซ.ม.

การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างเศรษฐกิจไทย

ใน รอบ 30 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงจากประเทศกสิกรรมเป็นประเทศอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในอัตราที่สูงในอันดับต้นๆ ของโลก เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจในอัตราสูงเช่นนี้ ป่าไม้ ป่าชายเลน แหล่งน้ำ ถูกบุกรุกและถูกทำลายเพื่อการขยายโรงงาน

แท้ที่จริงแล้วการวัดความ เจริญและการพัฒนาของประเทศจากรายได้ประชาชาติอย่างเดียวไม่น่าจะเป็นการวัด ที่ถูกต้อง เพราะถ้าไม่มีการกระจายรายได้ที่เหมาะสม ประเทศก็ยังจะมีคนยากจนที่ไม่ได้รับการศึกษาที่ดีและเพียงพอ ไม่ได้รับการดูแลด้านสุขอนามัยที่ดี และทรัพยากรธรรมชาติอาจไม่ได้ถูกใช้ในทางที่เหมาะสม ทำให้เกิดป่าเสื่อมโทรม มีมลพิษและขยะมากมาย

ประเทศไทยร้อนขึ้นจริงหรือ

ผม ขอย้อนเวลากลับไปสัก 50 ปี ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2500 เด็กนักเรียน แต่งกายไปโรงเรียนด้วยสีสันต่างๆ เนื่องจากอากาศหนาวและต้องใส่เสื้อหนาวไปโรงเรียนกัน แต่ทุกวันนี้แม้แต่ในเดือนธันวาคม มกราคม นักเรียนในกรุงเทพฯยังหาวันที่จะต้องใส่เสื้อหนาวไปโรงเรียนไม่ได้ อุณหภูมิในประเทศไทยสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนสูง หรือเกิดจากปฏิกิริยาเคมีจากมูลสัตว์ และการ เน่าเสียของขยะ ของเสียเหลือใช้จากการทำการเกษตร ซึ่งทำให้เกิดก๊าซมีเทน

ใครปล่อยก๊าซเรือนกระจกกันบ้าง

ประเทศ ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนมากที่สุด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณร้อยละ 36.1 ของก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก กลุ่มประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรองลงมา ได้แก่ ประชาคมยุโรป ในเอเชีย ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด คือ ประเทศจีน และอินเดีย

เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ลงบทความที่แสดงให้เห็นว่าประชากรสหรัฐอเมริกาทำ ให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเทียบเท่าคาร์บอน 6.5 ตันต่อปีต่อคน ตามด้วยแคนาดาที่ 6.4 และรัสเซียที่ 3.6 ตันต่อปีต่อคน

ประเทศใน ประชาคมและอีก 141 ร่วมกันปฏิบัติตามพิธีสารเกียวโต เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 โดยมีเป้าหมายที่จะลดก๊าซเรือนกระจกลง แต่สหรัฐอเมริกาไม่เข้าร่วมด้วย โดยประธานาธิบดีบุชให้เหตุผลว่า เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะถูกผลกระทบถ้าอเมริกาต้องบังคับให้อุตสาหกรรมลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง และยังให้เหตุผลต่อไปว่า ตราบใดที่ประเทศกำลังพัฒนา เช่น จีน หรืออินเดีย ไม่ต้องลดก๊าซเรือนกระจก สหรัฐอเมริกาก็จะไม่ปฏิบัติตามพิธีสารเกียวโต

อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากในสหรัฐอเมริกาก็สมัครใจที่จะลดก๊าซเรือนกระจกลงเพื่อลดภาวะโลกร้อนลง

CSR กับการแก้ไขปัญหาโลกร้อน

การ พยายามที่จะแก้ไขปัญหาก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อนของอุตสาหกรรมก็เป็น CSR ที่สำคัญกิจกรรมหนึ่งในประเทศไทย อุตสาหกรรมขนาดใหญ่โดยเฉพาะโรงงานใหญ่ๆ กำลังให้ความสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและพยายามที่จะลดปริมาณเชื้อเพลิง ที่ใช้ โดยเฉพาะ เชื้อเพลิงที่เกิดจากฟอสซิล ที่มีปริมาณคาร์บอนสูง โรงงาน

หลาย แห่ง และยานพาหนะ เช่น รถโดยสาร และรถยนต์ ก็หันมาใช้ก๊าซ NGV และ LPG หรือเชื้อเพลิงทางเลือกที่สามารถทดแทนได้ เช่น แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล

น้ำดิบเริ่มลดน้อยลง

ปัญหา อีกอย่างหนึ่งที่คนทั่วโลกกำลังให้ความสนใจมากคือ ปัญหาเรื่อง น้ำดิบ ทั้งนี้เพราะภาวะโลกร้อนทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ดินฟ้าอากาศแปรปรวน เกิดน้ำท่วมในบางแห่งที่เคยแล้ง และเกิดภาวะแล้งในที่ที่เคยอุดมสมบูรณ์ ประเทศมาเลเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ ปัจจุบันมีปริมาณฝนลดลง แต่ปริมาณน้ำยังเพียงพอต่อการปลูกข้าว ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย แต่ปริมาณฝนที่ลดลงนั้นกลับทำให้การทำนาปรังได้ผลที่ลดลง

ที่น่า ยินดีเป็นอย่างยิ่งคือ บริษัทน้ำดื่มและน้ำอัดลมแห่งหนึ่งประกาศว่า บริษัทกำลังพัฒนาแหล่งน้ำที่มีคุณภาพเพื่อประโยชน์ของคนในชุมชน เพราะเล็งเห็นถึงแหล่งน้ำที่กำลังร่อยหรอไปทุกๆ วัน

เนื่องจากบริษัทเครื่องดื่มนี้ใช้น้ำในการผลิตผลิตภัณฑ์ของเขาเป็นปริมาณสูง เขาจึงเลือกที่จะมี CSR โดยการพัฒนาแหล่งน้ำ ดังกล่าว

มามี CSR กันดีกว่า

CSR ตีความได้กว้างมาก ธุรกิจจึงสามารถที่จะเลือกทำในสิ่งที่กระทบตนเอง เพื่อแก้ไขปัญหาในอนาคต การร่วมมือกันทำประโยชน์ต่อสังคมในทางใดทางหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญ ผมคิดว่าไม่ช้าก็เร็วธุรกิจหมวดใหญ่ในประเทศไทยจะเข้ามาร่วมในกิจกรรม CSR เพื่อความอยู่รอดของสังคมไทย มาช่วยกันเถอะครับ เพื่อลูกหลานของท่านในวันข้างหน้า


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 1 กันยายน 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03010951&day=2008-09-01&sectionid=0221

รู้จักเครื่องมือประเมินผล


ปัจจุบันมีเครื่องมือในการวัดผลและประเมินผล CSR มากมาย ที่แพร่หลายทั่วโลกที่สามารถนำไปหยิบมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับองค์กร อาทิ

- Return of Investment (ROI)

เป็น การวัดผลจากผลตอบแทนจากการลงทุน อาทิ การวัดผลในแง่ของการพัฒนาศักยภาพพนักงานในองค์กรผ่านกิจกรรมอาสาสมัคร พนักงาน การวัดต้นทุนที่ลดลงจากการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

- Important X Performance

เป็น เครื่องมือการวัดและประเมินผลของ "บอสตัน คอลเลจ" โดยดูในแง่ประสิทธิผลของโครงการและการประเมินในลักษณะการตัดสินใจที่จะ ดำเนินหรือไม่ดำเนินโครงการนั้นๆ

- Environmental Management Accounting

บัญชี สิ่งแวดล้อม มีหัวใจสำคัญอยู่ที่การสร้างประสิทธิผลในด้านเศรษฐกิจในการบริหารจัดการสิ่ง แวดล้อม ซึ่งสะท้อนให้เห็นค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมที่แท้จริงที่มักซ่อนอยู่ สามารถนำไปตัดสินใจในการลงทุนด้านบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในองค์กรได้อย่าง ดี

- CSR Accounting Guidelines

บัญชี CSR ของมหาวิทยาลัยเรทากุ เป็นเครื่องมือที่นำระบบบัญชีมาใช้ในการบริหารจัดการ CSR

- Global Reporting Initiatives (GRI)

มาตรฐาน การจัดทำรายงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งได้รับการยอมรับในระดับโลก และสามารถนำมาเป็นแนวปฏิบัติในการประเมินผลและปรับปรุงความรับผิดชอบในระดับ องค์กรได้

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 1 กันยายน 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02010951&day=2008-09-01&sectionid=0221


CSR ยุคใหม่ "ต้องวัดได้ "

ผ่าเครื่องมือ "การประเมินผล"

หลาย คนมักบอกว่า การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) นั้นเป็นเรื่องที่วัดยาก เพราะเรื่องการพัฒนาสังคม เรื่องของการทำดี นั้นไม่รู้จะเอาอะไรวัด อย่างมากถ้าในรูปแบบของกิจกรรมเพื่อสังคมที่แต่ละองค์กรทำ อย่างมากก็วัดผลและประเมินผลโครงการหรือกิจกรรมเพื่อสังคมนั้นจากจำนวนผู้ เข้าร่วม ประมาณว่าถ้ามีคนเข้าร่วมมาก ก็แปลว่าโครงการหรือกิจกรรมนั้นประสบความสำเร็จมาก และกิจกรรมนั้นดีมาก

ในความเป็นจริงแล้ว โครงการหรือ กิจกรรมนั้นๆ ประสบความสำเร็จแล้วจริงหรือ !!

ในความเป็นจริงแล้ว โครงการเพื่อสังคมนั้นๆ ได้ย้อนกลับมาสร้างคุณค่า (value) อะไรให้กับองค์กรได้บ้าง !!

และ นี่คือสิ่งที่หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ "CSR Academy" ที่ หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ และ สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ร่วมกันจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา ในหัวข้อ "แนวทางการประเมินผลและการจัดทำรายงาน CSR" พยายามจะตอบคำถาม

โดยเฉพาะคำถามที่มักพบในองค์กรว่า "CSR เป็นเรื่องที่จับต้องได้ยาก ฉะนั้นจะวัดและประเมินผลได้อย่างไร" !!

" ปัญหาใหญ่ที่คนมักชอบพูดว่า การประเมินเรื่อง CSR มันยากเพราะความดีและผลกระทบทางสังคมเป็นเรื่องที่จับต้องไม่ได้ ผมจะถามว่าแล้วทำไมถึงวัดได้ยาก ก็เพราะในกระบวนการทำงานไม่มีวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน ถ้าไม่มีเมื่อเราจะวัดกิจกรรม เราก็อาจจะวัดได้ในลักษณะแค่จำนวนคนที่เข้าร่วมโครงการ การได้ลงสื่อ อะไรทำนองนั้น จึงไม่สามารถตอบคำถามได้ว่าโครงการหรือกิจกรรมนั้นๆ ดีจริงหรือไม่ สร้างคุณค่าให้องค์กรได้ตรงไหน และถ้าไม่ดี ไม่ดีเพราะอะไร จะกลับเข้าไปแก้ไขได้ที่ใด" อนันตชัย ยูรประถม วิทยากรประจำหลักสูตร CSR Academy บอกในระหว่างการอบรม

แนวคิดในหลักสูตร จึงพยายามมอง "การประเมินผล" ที่ไม่เพียงใช้เครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่ง แต่พยายามสะท้อนให้เห็นระบบและแนวคิดของ "การประเมินผล" ที่หากมองเช่นนั้นแล้ว ในฐานะคนทำงาน CSR สามารถเลือกใช้เครื่องมือการประเมินผลที่มีอยู่มากมายในปัจจุบัน รวมทั้งสามารถคิดค้นเครื่องมือการชี้วัด (indicator) ของตัวเองได้


ยิ่ง ถ้ามอง CSR ในเชิงของการแบ่งปันคุณค่าระหว่าง "องค์กรและสังคม" (shared value) นั่นหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่องค์กรแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม จะสามารถสะท้อนกลับมาสร้างคุณค่าให้กับสังคม พร้อมๆ กับการสร้างคุณค่าให้องค์กร

ฉะนั้นถ้าการทำ CSR ขององค์กรดีจริงๆ จะต้องสามารถย้อนกลับไปตอบตัวชี้วัด (KPI) ของกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจได้

ทำไม CSR ถึงวัดไม่ได้

" ถ้าเราดูสถานการณ์ของการประเมินทุกวันนี้ เราจะเห็นว่าทุกองค์กรมีส่วนแรก คือ มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ มีกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งก็มีตัวชี้วัดและประเมินผลต่างๆ ขณะเดียวกันในแต่ละกิจกรรม CSR ก็มีตัวชี้วัดความสำเร็จของแต่ละกิจกรรม เราก็มักจะบอกว่าดี แต่ในท้ายที่สุด เราไม่มีตัวที่จะมาเชื่อมโยงว่า แล้วที่ว่าดีนั้นมีคุณค่ากับองค์กรอย่างไร เพราะเราขาดส่วนกลางคือการวางกลยุทธ์ CSR และตัวชี้วัดของกลยุทธ์ (ดูโมเดลประกอบ) และการประเมินผลอย่างเป็นระบบ" อนันตชัยกล่าว

ดัง นั้นในการเริ่มต้น "ประเมินผล" จึงต้องเริ่มต้นด้วย การวิเคราะห์และประเมินผลขององค์กร ตั้งแต่ ปัจจัยนำเข้า (input) กระบวนการ (process) ผลที่ได้ (output) และผลที่ตามมา (outcome) ด้วยการมองอย่างเป็นระบบ

ปัจจัยนำเข้า (input) ที่ว่าประกอบไปด้วย ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน บริบทของธุรกิจ ทรัพยากรมนุษย์ และแหล่งเงิน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะนำมาสู่สิ่งที่ผู้บริหารองค์กรจะต้องนำมาสู่กระบวนการ ในการดำเนินการ (process) ตั้งแต่การวางโครงสร้างการทำงาน กลยุทธ์ความยั่งยืน โครงการต่างๆ ไปจนถึงการลงมือปฏิบัติ ซึ่งนำมาสู่ผลลัพธ์ (output) ที่จะออกมาในรูปของประสิทธิผลของความยั่งยืน และความสามารถในการตอบสนองต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) โดยผลลัพธ์ในกลุ่มนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ด้านหลักๆ ด้านการเงิน ผลกระทบทางสังคม และผลกระทบต่อความยั่งยืนทางการเงิน จากนั้นจะนำไปสู่ผลที่ตามมาในระยะยาว (outcome) ที่จะเกิดขึ้น

สิ่งสำคัญคือทุกๆ จุดในระบบนี้จะต้องสามารถวัดผลและประเมินผลด้วยตัวชี้วัดต่างๆ ได้

ประเมิน-วัดบนหลักเหตุและผล

" อนันตชัย" ขยายความโดยยกตัวอย่าง องค์กรองค์กรหนึ่ง ซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรม ปัจจัยนำเข้า ซึ่งมาจากบริบทภายนอกว่าโรงงานต้องมีมาตรฐานในการผลิต ดังนั้นกระบวนการแสดงความรับผิดชอบกระบวนการธุรกิจ อาจจะใช้มาตรฐาน ISO 14001 มาจับ โดยใช้มาตรฐาน เหล่านั้นเป็นตัวประเมินผลของการทำงาน ซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการอีกส่วนหนึ่งในการปรับปรุงเทคโนโลยี ซึ่งประเมินโดยดูที่การพัฒนาเทคโนโลยี จากกระบวนการเหล่านั้นก็จะนำมาสู่ผลลัพธ์ทั้งในเรื่องการปรับปรุงความ ปลอดภัยของผลิตภัณท์ จะนำไปสู่ผลระยะยาวในเรื่องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะวัดได้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ไม่ว่าจะจากสถิติของการลดการปล่อยของเสีย รวมถึงข้อร้องเรียนของชุมชนที่ลดลง เป็นต้น

"เราเรียกการประเมินแบบ นี้ว่า การประเมินในรูปแบบของเหตุและผล เราจะสามารถเชื่อมโยงและเห็นที่มาที่ไปจากการประเมินผลด้วยเครื่องมือและตัว ชี้วัดแบบเป็นขั้นเป็นตอนทุกจุด เวลาผลการประเมินปลายทางไม่ดี เราจะสามารถย้อนกลับมาหาจุดตั้งต้นของผลการประเมินผลในแต่ละลำดับได้ว่าเป็น เพราะอะไร ไม่ว่าจะเป็นเพราะกระบวนการไม่ดี ผู้นำไม่ดี อย่างนี้เราประเมินผลจะนำไปสู่การนำไปปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา CSR ได้ดียิ่งขึ้น"

กิจกรรมก็ประเมินเป็นระบบได้

นั่นเป็น การประเมินผลในภาพรวมขององค์กร และด้วย "วิธีคิด" เดียวกัน ด้วยการมองเป็นระบบตั้งแต่ ปัจจัยนำเข้า (input) กระบวนการ (process) ผลที่ได้ (output) และผลที่ตามมา (outcome) สามารถนำไปประยุกต์ในการประเมินผล CSR ในระดับกิจกรรมได้ด้วยเช่นกัน

เรื่อง นี้ "อนันตชัย" หยิบโครงการ "ช่วยเหลือเด็กพิการ" ที่มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา (EDF) ดำเนินการร่วมกับภาคีทั้งองค์กรธุรกิจ อย่าง เดนโซ่ โรงเรียน ชุมชนและโรงพยาบาล ในการเข้าไปช่วยเหลือเด็กผู้พิการของชุมชนในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจากการประเมินผลด้วยวิธีคิดในระบบนี้ ทำให้พบจุดอ่อนที่ทำให้โครงการบริจาครถเข็นและการมอบทุนการศึกษาให้เด็กผู้ พิการ ถูกพัฒนาไปสู่การปรับปรุงโครงสร้างและสาธารณูปโภคในโรงเรียน

" โจทย์เดิมของโครงการนี้มีปัจจัยนำเข้าที่เรามอง คือ เรื่องการให้ทุนการศึกษาและรถวีลแชร์ โดยใช้กระบวนการความร่วมมือของพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สามารถช่วยเหลือเด็กพิการที่ไม่มีครอบครัว ไม่ได้มีโอกาสไปโรงเรียนได้ไปโรงเรียน โดยมีผลลัพธ์ระยะยาวในการเปลี่ยนทัศนคติพ่อแม่

ผู้ปกครองที่คิดว่า เด็กพิการเป็นเด็กที่มีกรรม เพราะฉะนั้นก็ต้องให้รับกรรมไปตลอดชีวิต แต่พอเราประเมินผลในแต่ละจุด เราพบว่ากระบวนการในการทำงานไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เพราะเราไม่ได้ให้โรงเรียนเข้ามามีส่วนร่วม ครูเองก็ยังไม่พร้อมที่จะรองรับเด็กกลุ่มนี้ ทำให้เราจำเป็นต้องขยายโครงการเข้าไปปรับปรุงสาธารณูปโภคต่างๆ ในโรงเรียนเพื่อให้สามารถรองรับได้ ขณะเดียวกันก็มีการให้ความรู้ครูไปพร้อมๆ กัน ในที่สุดโครงการก็สามารถเดินหน้าไปได้ด้วยดี"

ผลที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่เป็นผลจากการประเมินผลด้วยการมองอย่างเป็นระบบ

อย่าง ที่ "อนันตชัย" กล่าวทิ้งท้ายว่า "ความดีอาจเป็นสิ่งที่จับต้องได้ยาก แต่สิ่งที่เราต้องพยายามทำคือการนำสิ่งที่จับต้องได้ยากนั้นมาสู่สิ่งที่จับ ต้องได้มากที่สุด"

เพื่อจะนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนา CSR ในระดับต่างๆ ขององค์กร ไม่เช่นนั้นคงเป็นเรื่องยากในการเดินไปสู่ปลายทางของความยั่งยืน !!

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 1 กันยายน 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01010951&day=2008-09-01&sectionid=0221

พัฒนา Social Intelligence ทีมงานธุรกิจผ่านงานพัฒนาใน CSR

พร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการ มูลนิธิรักษ์ไทย ผม เคยเดินทางไปจังหวัดอุดรธานี ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น ที่มีความถนัดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อสู่ตลาดญี่ปุ่น ผู้เชี่ยวชาญ คนนี้ใช้เวลานานอยู่ในหมู่บ้าน เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์จักสาน โดยฝีมือชาวบ้านในหมู่บ้านอีสาน และออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งหีบห่อ แบบญี่ปุ่น ซึ่งชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ผลปรากฏว่าเมื่อผู้เชี่ยวชาญคนนั้น ออกจากหมู่บ้านไป ชาวบ้านก็เลิกทำกิจกรรมนั้น พอผมสอบถาม ก็บอกว่า วิธีการใหม่ นั้นต้องลงทุนอีกเยอะ อีกทั้งไม่มีความแน่นอนเรื่องตลาด ดังนั้นความเสี่ยงดูจะไม่คุ้มกับความน่าสนใจ ในผลิตภัณฑ์ใหม่นี้

เรื่อง นี้ทำให้คิดว่า หากคนทำงานในธุรกิจต่างๆ ให้เวลาในการช่วยเหลือ พัฒนาธุรกิจของชุมชนในภาคชนบท คงจะเกิดผลดี แต่ไม่น่าจะเป็นกิจกรรม 4-5 วัน และหายกันไป แต่ต้องทำอย่างเป็นระบบขั้นตอน อันรวมถึงทักษะในการออกแบบ ที่ตรงกับความต้องการตลาด ทักษะการ บริหาร ควบคุมคุณภาพการผลิต และทักษะการตลาด

สิ่งที่ผิดพลาดในการกระบวนการทำงานของผู้เชี่ยว ชาญญี่ปุ่นนั้น คือขาดการวิเคราะห์และแก้ไข โดยใช้ความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย หรือ multidisciplinary ปัญหานี้สะท้อนในงานพัฒนาโดยระบบราชการหลายโครงการเช่นกัน คือการทำงานหน้าเดียว

ในยุคของ CSR หรือความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจต่างๆ นั้น เปิดโอกาสใหม่ๆ สำหรับการร่วมมือระหว่างชุมชนที่ยากจน หรืออยู่ห่างไกลการพัฒนา กับการได้รับประโยชน์ทางเทคนิค หรือวิธีการด้านธุรกิจและการตลาดสมัยใหม่ได้มากขึ้น ความคิดเช่นนี้ที่จริงไม่ใช่ความคิดใหม่ เพราะรัฐบาลในยุคต่างๆ ก็เคยมีความพยายามให้ คนทำงานในด้านธุรกิจออกไปช่วยเหลือชุมชนชนบท แต่ในอดีตมีช่องว่างมากระหว่างการทำธุรกิจและงานพัฒนา

ปัจจุบัน CSR ลดช่องว่างนั้นลงไป เพราะความรับผิดชอบทางสังคมของธุรกิจ ไม่ใช่การให้เงินบริจาคเป็นครั้งคราว หรือการทำ CSR ในรูปแบบ "โฆษณา" แต่ความรับผิดชอบทางสังคม คือการสร้างคุณค่าต่อสังคม ไม่เพียงแต่รักษามาตรฐาน จรรยาบรรณของธุรกิจ แต่เป็นการสร้างสังคมที่ดี

การ พัฒนาที่ยั่งยืน คือการพัฒนาคน ดังนั้นไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นชาวบ้าน พนักงาน ลูกค้าของบริษัท ผู้บริหาร หรือ กรรมการ ดังนั้นผมจึงมีข้อเสนอต่อธุรกิจงาน CSR ของบริษัท คือต้องวัดที่การเพิ่มคุณค่าที่เกิดกับคน คุณค่าที่เกิดกับชาวบ้าน เมื่อเข้าร่วมโครงการ อาจจะเป็นคุณค่าด้านการศึกษา การเกิดรายได้ครอบครัว หรือสุขภาพ ขณะที่คุณค่าที่เกิดกับบริษัทที่เกิดในตัวคนนั้น น่าจะอยู่ที่การเกิดมุมมองต่อโลก world view หรือค่านิยมต่อสังคม ที่กว้างไกลจากงานธุรกิจที่ทำอยู่ วันละหลายๆ ชั่วโมง เพราะหากพนักงาน และโดยเฉพาะผู้จัดการรุ่นใหม่ ไม่มีมิติทางสังคม แต่เกิดจากเบ้าหลอม ของคนเมืองอย่างเดียว ผู้จัดการนั้นกำลังขาดมิติ ที่สำคัญในการทำงาน และการตัดสินใจของนักบริหาร ซึ่งผมเรียกตรงนั้นว่า social intelligence ผู้จัดการรุ่นใหม่จะต้องมองโลกที่กว้างไกล และได้สัมผัสการวิเคราะห์แก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมที่เขาอาจจะไม่คุ้นเคย เช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นที่มองมิติงานของตนเองด้านเดียว คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยฝีมือชาวบ้านสู่ระดับความพอใจของลูกค้าคนญี่ปุ่น

ทั้ง นี้ ทิศทางการพัฒนาธุรกิจที่พัฒนา ผู้จัดการใหม่ สามารถใช้กระบวนการทาง CSR เพื่อเกิดการพัฒนาสติปัญญาทางสังคม social intelligence ประเด็นทักษะที่สำคัญในการ

พัฒนานั้น คือ 1) ทักษะการฟัง 2) ทักษะการวิเคราะห์ นอกระบบที่คุ้นเคย 3) ความยืดหยุ่นในวิธีการแก้ไขปัญหา 4) การประเมินความสำคัญ ด้านปัจจัยวัฒนธรรม 5) การมองการลงทุนทางเศรษฐกิจ ในปัจจัยที่วัดได้ยาก 6) การเชื่อมโยงตลาด

แต่ในทักษะทั้งหลาย เหล่านั้น ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือ การฟัง ซึ่งตรงกับการบริหารสมัยใหม่ เรียนรู้การฟัง ฟังและคิดตาม คิดตามได้แล้ว จึงเสนอแนะได้

หากภาค ธุรกิจส่งเสริมให้ผู้จัดการระดับกลาง เกิดประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ชนบทแล้ว โดยถอดเนกไท ถอดสูท ทีมงานภาคธุรกิจนั่นเอง จะได้รับคุณค่าทั้งในชีวิต ส่วนตัว และชีวิตการทำงาน และรวมถึงความมั่นคงของบริษัทนั่นเอง

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 25 สิงหาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04250851&day=2008-08-25&sectionid=0221

เมื่อ P.R.มอง CSR กลางข้อครหา "สร้างภาพ"


กลายเป็นประเพณีปฏิบัติไปแล้วสำหรับสมาคมนักประชาสัมพันธ์ของหลักสูตรอบรมนัก ประชาสัมพันธ์ประจำปี นอกจากจะอบรมในเรื่องการสื่อสารและแบรนด์ สิ่งหนึ่งที่กลายเป็นหัวข้อที่ได้รับการบรรจุในการอบรมนับตั้งแต่ปีที่ผ่าน มา คือเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR : corporate social responsibility) เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าในหลายหน่วยงานวันนี้ฝ่ายประชาสัมพันธ์หรือสื่อสาร องค์กร เป็นผู้ถูกรับมอบหมายงานขับเคลื่อน CSR ในองค์กร

ฉะนั้น การรู้จริงในประเด็นปัญหาสังคม และความยั่งยืนในการผลักดันกิจกรรมต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ จึงกลายมาเป็นโจทย์ที่ ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมนักประชาสัมพันธ์ พยายามที่จะผลักดันเพื่อให้นักประชาสัมพันธ์มีความรู้ความเข้าใจในประเด็น ปัญหานั้นๆ จริง

ท่ามกลางข้อครหา ว่าการทำกิจกรรม CSR เป็นเพียงการสร้างภาพ !!

เมื่อ เร็วๆ นี้ ดร.พจน์นำทีมนักประชาสัมพันธ์จาก 50 องค์กรลงพื้นที่กว่า 3 วัน 2 คืน ที่เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี เพื่อเรียนรู้ปัญหา "ภาวะ โลกร้อน" นอกเหนือจากจะมีนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมมาให้ความรู้ ยังเป็นเวทีการระดมสมองเพื่อเขียนแผนประชาสัมพันธ์ เรื่องภาวะโลกร้อนที่จะนำไปเผยแพร่ให้กับภาคธุรกิจ หน่วยงานราชการ และองค์กรพัฒนาเอกชน สามารถเลือกหยิบไปใช้

เขากล่าวด้วยว่า "การที่มีนักประชาสัมพันธ์มาร่วมกันถึง 50 องค์กรไม่ธรรมดา การลงพื้นที่จริงโดยตั้งหัวข้อเรื่องโลกร้อน เราไม่อยากให้ทำเป็นแฟชั่น นั่นเป็นจุดที่ทำอย่างไรที่จะได้แผนแม่บทมา 3 แผน 50 คนจะแบ่งเป็น 6 กลุ่ม 3 องค์กร คือ เอกชน ราชการ และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) หัวข้อละ 2 กลุ่ม และมาเวิร์กช็อปที่ต่างจังหวัด ไปตามค่ายต่างๆ เมื่อเราเห็นตัวเลขเลยว่าเราใช้เงินเท่าไร และมีวิธีแก้ ผมเห็นว่ามีประโยชน์มากอยากขยายไอเดียต่อ แต่เราไม่ให้เขียนแผนที่มันเฟก หรือแผนอนุบาล แต่เราอยากทำเป็นแผนที่เป็นโมเดลสามารถส่งให้กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือเอ็นจีโอ และบรรจุไว้ในเว็บไซต์ของสมาคม www.prthailand.com คนที่เห็นประโยชน์สามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้"

การที่เลือกหัวข้อนี้ เพราะ "ภาวะโลกร้อน" กลายเป็นประเด็นที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดในวันนี้ นั่นรวมถึงกิจกรรม CSR ของแต่ละองค์กร ฉะนั้นการปลูกฝังเพื่อให้ต้นทางของคนกิจกรรมอย่างนักประชาสัมพันธ์มีความ เข้าใจปัญหาจริงๆ จะสามารถนำความรู้ไปต่อยอดในองค์กรได้

"ผู้เข้า อบรมแต่ละคนมาจากองค์กรใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น ปตท. ไทยพาณิชย์ อาจารย์มหาวิทยาลัย ถ้าเข้าใจเรื่องนี้ก็สามารถไปต่อยอดทำอะไรได้เยอะ ส่วนภายนอกองค์กรจะเห็นอีกหลายมิติ เพราะเรื่องการทำกิจกรรม 90 เปอร์เซ็นต์อยู่ในมือของประชาสัมพันธ์ หรือสื่อสารองค์กร หรือการตลาด ถึงบอกว่าเราต้องผลักดันด้วยความรู้ เราไม่ใช่แค่สกรีนถุงผ้าแจกคน แต่เราต้องทำเป็นหลักคิดต่างๆ เราหวังให้เกิดการต่อยอด เมื่อเขาจะจัดกิจกรรม ซีเอสอาร์ในองค์กรเรื่องโลกร้อน เราก็จะมีโมเดลในการคิด เพราะเขามีทั้งข้อมูลและแหล่งข้อมูล และมีที่ปรึกษาแล้วเพราะเราติดต่อให้ มันเป็นความรู้ใหม่ๆ ที่ทำให้คนเห็นภาพได้"

เพราะเราไม่ต้องการทำให้กิจกรรม CSR ภายใต้ประเด็นโลกร้อนกลายเป็นเพียงเรื่องแฟชั่นอย่างที่มีคนพูดถึงอยู่บ่อยๆ

" แต่จะเห็นว่าที่ทำไม่ใช่เรื่องหลอกๆ แต่สิ่งที่ทำต้องสะท้อนว่าในภาคองค์กรธุรกิจเรามีคุณงามความดีอะไรบ้าง ซึ่งผมคิดว่าการเอาความดีมาอวดกันเป็นเรื่องที่ดี แต่ไม่ใช่เป็นเรื่องของการเอาหน้า สมัยนี้ นักข่าวดูออกว่าอันไหนจริงอันไหนหลอก แม้กระทั่งผู้บริโภคก็มีความสามารถในการวิเคราะห์ได้เช่นเดียวกัน"

ฉะนั้น การเริ่มต้นทำดีต้องเริ่มจากการใช้ศักยภาพที่องค์กรมี โดยที่ต้องมองผลกระทบเชิงบวกที่สังคมเป็นตัวตั้งมากกว่าการใช้ภาพลักษณ์เป็น ตัวตั้ง

ด้าน "พัฒน์ธนันทร์ เฟ้งหล่อ" หัวหน้านักประชาสัมพันธ์ กลุ่มวังขนาย กล่าวว่า บางครั้งในมุมของ พี.อาร์.การเลือก ประเด็นก็ต้องอยู่ในกระแสเพราะคิดว่าต้องได้ลงข่าวแน่นอน

แต่ก็ไม่ ใช่ว่าทำแค่นั้น เราต้องมีความจริงใจและทำอย่างต่อเนื่อง ถ้าเราทำเรื่องโลกร้อนต้องทำในองค์กรก่อนที่จะทำออกสู่ภายนอก เพราะพนักงานจะสามารถไปบอกต่อครอบครัวญาติพี่น้องซึ่งจะไม่ได้ใช้งบประมาณ เยอะมาก

ขณะที่ "ศิว์ศิรี ปินเพ็ชร์" นักประชา สัมพันธ์ 7 ธนาคารออมสิน กล่าวว่า "ซีเอสอาร์เป็นกระแสที่ทำเพื่อธุรกิจแน่นอนแต่อยู่ที่ว่าเราจะทำอย่างไรที่ ไม่ให้เป็นธุรกิจเสียทีเดียว ถ้าเพื่อสังคมอย่างเดียว หน่วยงานก็อยู่ไม่ได้ ต้องเป็นธุรกิจที่อิงกับสังคมด้วย เมื่อธุรกิจก้าวหน้าสังคมต้องอยู่ได้ พี.อาร์.เป็น ฟันเฟืองเล็กๆ ของหน่วยงานที่จะขับเคลื่อนซีเอสอาร์ ผู้บริหารต้องยอมรับในประเด็น"

นี่เป็นอีกฟันเฟืองในการขับเคลื่อน CSR และความพยายามที่จะก้าวพ้นข้อครหาว่า CSR ก็เป็นแค่เครื่องมือของ P.R.ในการสร้างภาพลักษณ์ !!

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 18 สิงหาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04180851&day=2008-08-18&sectionid=0221

CSR ช้าดีกว่าไม่ขยับ

ดร.พรชัย ศรีประไพ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ อิมพีเรียล เวิลด์ กรรมการ มูลนิธิรักษ์ไทย กระแส นิยมเกี่ยวกับ corporate social respon sibility หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า CSR ทำให้หลายๆ บริษัทที่ยังไม่ริเริ่ม โครงการประเภทนี้ชักจะกังวลใจ เริ่มถามตัวเองว่าเราตกกระแสหรือเปล่า เราช้าไปหรือเปล่า เราจะตามบริษัทอื่นๆ ทันหรือไม่ เราพลาดอะไรไปบ้างหรือเปล่า

แล้วก็ เลยมาปลอบใจตัวเองว่า ไม่เป็นไร เราไม่นิยมกระแส เราอยู่ของเราอย่างนี้ก็ไม่เดือดร้อนอะไร มีหรือไม่มี CSR บริษัทก็ดำเนินงานไปได้อยู่แล้ว

จริงๆ แล้วผมไม่คิดว่า CSR เป็นแฟชั่น หรือเป็นกระแสที่เราจะต้องไปตามใคร CSR ที่แท้จริง คือ การวางรากฐานความรับผิดชอบให้กับพนักงานของบริษัท ทั้งความ รับผิดชอบต่อการทำงาน ความรับผิดชอบต่อลูกค้า ต่อบริษัท ต่อตัวเอง และขยายความรับผิดชอบนั้นออกไปสู่สังคม

ถ้าบริษัทวางรากฐานความรับ ผิดชอบเช่นนี้ได้ บริษัทก็จะเริ่มสร้างความแตกต่าง (differentiation) ให้กับตนเอง ให้กับงานของตนเอง และให้กับภาพลักษณ์ของบริษัทที่มีออกไปต่อสังคม

การสร้างรากฐาน "ความรับผิดชอบ" คือ การสร้าง "วัฒนธรรม" ประการหนึ่งในกับองค์กร

"ความรับผิดชอบ" คือ คุณค่า (value) ที่ดีที่สุดประการหนึ่งขององค์กร

James C. Collins ผู้เขียนตำราการบริหารชื่อ Built to Last ซึ่งกลายเป็นหนังสือระดับ best sellers ที่อยู่ใน top 3 ของ Amazon.com ในปี 2006 ได้ทำงานวิจัยโดยการศึกษาบริษัทที่อยู่ใน Fortune 500 บริษัท เช่น บริษัทยักษ์อย่าง 3 M, Amex, Bocing, Disney, G.E., IBM หรือ Hewlett-Packard เขาพบว่าบริษัทที่ยั่งยืนอยู่ยงคงกะพันไม่ล้มหายตายจากไป จากการแข่งขันที่รุนแรงและดุเดือดนั้น มีอะไรบางอย่างที่คล้ายๆ กัน นั่นก็คือ บริษัทที่ยั่งยืนเหล่านี้มี core ideology หรืออุดมคติหลักที่เป็นเป้าหมายของบริษัทที่ชัดเจน โดยในอุดมคติหลักจะประกอบไปด้วย core purpose หรือวัตถุประสงค์หลักของการตั้งองค์กรขึ้นมา และ core value หรือ คุณค่า - คุณธรรมหลักที่เชื่อมโยงการทำงาน เชื่อมโยงองค์กรเข้าด้วยกัน บริษัทเหล่านี้จะพยายามธำรงรักษาแก่น/หลักการนี้เอาไว้อย่างมั่นคง (preserve the core) ในขณะเดียวกันก็จะต้องสร้างวิสัยทัศน์ที่จะมองไปข้างหน้า และขับเคลื่อนนำความเจริญมาให้องค์กร (stimulate progress)

องค์กร ที่ยั่งยืนคือ องค์กรที่สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง มีจุดประสงค์ที่จะรับใช้สังคมและมวลมนุษย์อย่างชัดเจน ผมลองอ่าน core purpose ของบริษัทหลายบริษัทจะเห็นว่าเป้าหมายของบริษัทเหล่านี้เป็นเป้าหมายเดียว กับ CSR

HEWLETT-PACKARD - จะพยายามหาหนทางด้านเทคนิค เพื่อช่วยให้มนุษยชาติได้ประสบความก้าวหน้าและอยู่ดี กินดี

MERCK - ช่วยรักษาและพัฒนาชีวิตมนุษย์

SONY - ร่วมสร้างประสบการณ์แห่งความสุขโดยการใช้เทคโนโลยี เพื่อผลประโยชน์แก่สาธารณชน

DISNEY - สร้างความสุขให้กับมวลมนุษย์

WAL-MART - ให้คนธรรมดาสามัญได้มีโอกาสซื้อของได้เช่นเดียวกับคนรวย

3 M - เพื่อแก้ปัญหาที่แก้ไม่ได้อย่างสร้างสรรค์

CARGILL - เพื่อปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิตทั่วโลก

กุญแจ สำคัญประการแรกของการริเริ่ม CSR จึงอยู่ที่การสร้างวัฒนธรรมภายในองค์กรให้เข้มแข็ง วัฒนธรรมที่สะท้อนถึงความรับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรับผิดชอบต่อสังคม

และ เมื่อองค์กรสามารถสร้างฐานและจิตสำนึกแห่ง "ความรับผิดชอบ" ได้แล้ว ก้าวต่อไปคือการ "สร้างประสบการณ์" จริงๆ กับการมีส่วนร่วมกับงานชุมชนและงานสังคม

กุญแจสำคัญประการที่สอง คือ การเลือกประเภทของความรับผิดชอบต่อสังคม ให้เหมาะกับองค์กรของตน

กุญแจนี้ค่อนข้างสำคัญ เพราะหลายองค์กรไม่ทำการคัดเลือก และคิดว่าการมีส่วนร่วมกับสังคม คือ การทำบุญหรือการบริจาค ทำให้

การทำงานร่วมกับสังคมไม่กลมกลืนและเป็นไปในทางเดียว แทนที่จะส่งเสริมซึ่งกันและกัน

นั่น ก็หมายความว่าองค์กรควรจะเลือกทำงานสังคมที่ไปในทิศทางเดียวกับ core purpose หรือวัตถุประสงค์หลักขององค์กร นำความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของเราไปร่วมสนับสนุนสังคมในด้านที่เราชำนาญ

ที่ ศูนย์การค้าที่ผมรับผิดชอบ เราเริ่มยื่นมือออกไปหาสังคมและชุมชนที่อยู่ใกล้ๆ เราไม่เพียงส่งเสริมให้ศูนย์การค้าของเราเป็นศูนย์กิจกรรมชุมชนเท่านั้น แต่เราลงไปมีส่วนในการให้ความรู้และพัฒนาการทางด้านอาชีพกับชุมชนด้วย เช่น เราไม่เพียงมอบพื้นที่จัดงานแสดงสินค้าให้กับกลุ่ม ผู้ประกอบการ SMEs หรือ OTOP เท่านั้น แต่เราพยายามร่วมมือกับกรมพัฒนาแรงงานหรืออาชีพ ที่จะหาวิธีช่วยพัฒนาสินค้าทั้งทางด้านตัว product หรือสินค้าเอง ทั้งทางด้านการสร้างภาพลักษณ์ (brand) ด้านช่องทางการผลิตและจำหน่าย (channel) และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกันด้วย

กุญแจที่สำคัญที่จะลืม ไม่ได้ก็คือการมีส่วนร่วมของพนักงาน ทีมงานที่จะลงมือทำงานกับกลุ่มสังคมจะต้องลงไปทำงานอย่างใกล้ชิด ลงไปเรียนรู้และเข้าใจสังคม หรือชุมชนอย่างจริงจัง จะต้องรู้จักสังคม รู้จักแนวความคิด และวิธีการทำงานของเขาอย่างดีก่อน เมื่อเข้าใจแล้วจึงจะสามารถเสนอแนวความคิด ให้คำแนะนำและทำงานร่วมกับสังคมในรูปแบบของพันธมิตรที่มีความเท่าเทียมกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน

สิ่งที่องค์กรจะได้คือ ความเป็นมิตร (partnership) กับชุมชน ความรักและความเชื่อถือจากชุมชน ซึ่งมีค่ามากกว่าความเป็นผู้ให้ (donors) ที่เพิ่มช่องว่างกับผู้รับ (reciepients) ซึ่งจะขาดความยั่งยืนและต่อเนื่อง ผลลัพธ์ระหว่างความเป็น partner กับความเป็น donor นั้นแตกต่างกันอย่างมากมาย

วัฒนธรรม "ความรับผิดชอบ" ที่เริ่มต้นอย่างหลวมๆ ภายในองค์กรในระยะแรกๆ จะถูกหล่อหลอมให้แข็งแกร่งขึ้นจากการออกไปทำงานกับชุมชน พนักงานจะเริ่มเห็นคุณค่า ความทุ่มเท (commitment) เห็นคุณค่าของความจริงใจและความตั้งใจ ทั้งหมดนี้เป็น value ที่มีค่ามากสำหรับองค์กร

องค์กรใดที่ยังไม่ได้เริ่มคิดเกี่ยวกับ CSR ช้าหน่อยก็ไม่เป็นไรครับ เริ่มต้นได้ใน วันนี้เสมอ

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 18 สิงหาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03180851&day=2008-08-18&sectionid=0221

ก้าวกระโดด CSR "ดีแทค" ก้าวข้ามข้อจำกัด เงิน-เวลา-คน



จำนวน โครงการกว่า 155 โครงการ ภายใต้โครงการ "ทำดีทุกวัน" ของ "ดีแทค" ภายในระยะเวลาเพียง 7-8 เดือนนับตั้งแต่มกราคมที่ผ่านมา มีการตั้งฝ่ายความรับผิดชอบต่อสังคม (corporate social responsibility) กับจำนวนเจ้าหน้าที่ในแผนกกว่า 10 ชีวิต

และการได้รับการพูดถึงในวงกว้างของโครงการ "ทำดีทุกวัน" ของ "ดีแทค" จึงเป็นก้าวกระโดดที่ไม่ธรรมดา

ถ้า ไม่นับข้อได้เปรียบของ "ดีแทค" ที่มีรากวัฒนธรรมองค์กร "ทำดี" ที่ผูกติดอยู่กับธุรกิจมายาวนาน จากรากฐานแนวคิดในการทำธุรกิจของ "บุญชัย เบญจรงคกุล" ผู้ก่อตั้ง ถ้าไม่บวกรวมการหันมาให้ความสำคัญเรื่องนี้อย่างจริงจังของเทเลนอร์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างที่สุดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ที่นอกจากมีการตั้งฝ่าย CSR ในแทบจะทุกบริษัทของเทเลนอร์ แล้วทุกๆ ปียังมีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานด้าน CSR ระหว่างกันของบริษัทที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก

พลังพันธมิตรสู่ทางด่วนข้อมูลฯ

สิ่ง ต่างๆ ที่เกิดขึ้นล้วนเป็นประสบการณ์และบทเรียนที่เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เพราะในความเป็นจริงแล้ว "พีระพงษ์ กลิ่นละออ" ผู้อำนวยการฝ่าย CSR ของ "ดีแทค" ยอมรับกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า "นับตั้งแต่วันที่เราเริ่มต้นถึงวันนี้ เราเองก็ไม่ได้คาดคิดว่าสิ่งที่ทำจะมาได้ไกลถึงขนาดนี้ โชคดีที่เรามีผู้บริหารที่เข้าใจและเปิดโอกาส โชคดีที่สิ่งที่เราทำแล้วประชาชนชอบ และโชคดีที่เราได้เพื่อนที่ดีมาร่วมดำเนินการจึงทำให้งานของเราเติบโตอย่าง รวดเร็ว ต้องยอมรับว่าลำพังดีแทคงานที่ว่าไม่อาจสำเร็จได้"

"เพื่อน" ที่เขาว่าจึงมีพันธมิตรทั่วๆ ไปในโครงการย่อยๆ และพันธมิตรที่แน่นแฟ้น อย่างมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด "แฮปปี้สเตชั่น" หรือสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน ซึ่งเป็นพันธมิตรในระดับใกล้ชิด เช�น โครงการ โทร.สะสมความดี หรือโครงการล่าสุด "ทางด่วนข้อมูลการเกษตร" (Farmer Information Superhighway) ซึ่งนำเอาเทคโนโลยีการสื่อสารมาหนุนการพัฒนาการเกษตรตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียงให้แก่เกษตรกรทั่วประเทศ ผ่านบริการใหม่ล่าสุด *1677 ที่เปิดตัวเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา

โครงการนี้เป็น การนำองค์ความรู้ทางด้านการเกษตรผ่านการเรียนถูกและเรียนผิดด้านการเกษตร ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาของมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด บวกกับความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน จากโครงการเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด มาต่อยอดด้วยเทคโนโลยีที่ดีแทค และจุดแข็งของสถานีแฮปปี้สเตชั่นที่กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 31 สถานี เกษตรกรสามารถใช้บริการโทร.ฟรีที่ *1677 และสมัครสมาชิกเพื่อรับข้อมูลอัพเดตด้านการเกษตรไม่ว่าจะเป็นราคาพืชผล โรคติดต่อของพืช ฯลฯ ซึ่งจะมีการส่ง SMS ไปแจ้งข้อมูลให้ทราบในทุกๆ วัน รวมไปถึงการให้คำปรึกษาข้อมูลด้านการเกษตรซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ สามารถค้นข้อมูลและไขข้อข้องใจในทุกประเด็น โดยหากเป็นปัญหาที่ซับซ้อนก็จะมีปราชญ์ชาวบ้านในแต่ละพื้นที่เป็นผู้ช่วยตอบ คำถาม

สื่อสารแบบไม่สื่อสาร

อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการ จัดระบบรวบรวมองค์ความรู้ด้านการเกษตรที่เคยกระจัดกระจาย และสร้างเครือข่ายเกษตรกรทั่วประเทศให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "ธนา เธียรอัจฉริยะ" รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารดีแทค กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "เราเชื่อว่าถ้าทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของภาคเกษตรดีขึ้นก็จะทำให้ปัญหาของ เอกชนและภาวะเศรษฐกิจของประเทศลดลงด้วย"

โดยตั้งเป้าหมายว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีผู้สมัครใช้บริการ 20,000 เลขหมาย

หาก ทำได้ตามเป้าหมายนี้จะถือเป็นการสร้างผลกระทบในเชิงบวกครั้งสำคัญในวงการ เกษตร ขณะเดียวกันคุณค่า (value) ที่ดีแทคจะได้รับนั่นคือ การขยายฐานลูกค้าสู่ระดับรากหญ้าอย่างที่ครั้งหนึ่งเคยประกาศไว้

แต่ ความยากและท้าทายของโครงการนี้อยู่ที่การสร้างการรับรู้ของเกษตรกร เพราะนี่เป็นโครงการ ซีเอสอาร์ ดีแทคจึงไม่สามารถทุ่มงบประมาณลงไปกับการโฆษณาผ่านสื่อได้เช่นกิจกรรมการ ตลาด แต่ก็คาดหวังว่ากิจกรรมสัมมนา

โรดโชว์และกิจกรรมเสริมที่จะจัดขึ้นนั้นจะสามารถทำให้คนสามารถรับรู้ถึงบริการนี้อย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้

ผล ของโครงการนี้จึงนับเป็นความท้าทายและวัด "ความแรง" ของกิจกรรม CSR ของดีแทคอีกครั้ง หลังจากประสบความสำเร็จไปแล้วกับการติดแบรนด์ให้กับ โครงการ "ทำดีทุกวัน" ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในการทำงาน CSR ของดีแทค

คิดนอกกรอบแบบ "ทวินแอ็กชั่น"

" พีระพงษ์" บอกว่า "แม้เราจะมีโครงการใหม่ซึ่งจะเป็นแกนหลักอีกโครงการอย่างทางด่วนข้อมูลการ เกษตร แต่เราก็จะไม่ได้ทิ้งโครงการเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำ เพราะการทำโครงการเล็กๆ มันก็เป็นเหมือนเม็ดสีที่กระจายกันอยู่ ถ้าแยกกันเราอาจมองไม่เห็นเป็นรูปเป็นร่าง แต่เมื่อเม็ดสีต่างๆ มารวมกันก็จะปรากฏให้เห็นเป็นภาพ ซึ่งทำให้วันนี้เมื่อคนนึกถึงการทำดี ก็จะนึกถึงดีแทค"

การผนวกรวม 2 แกนหลักในการทำกิจกรรม CSR ที่แบ่งเป็นกิจกรรมหลักและกิจกรรมย่อยนั้น ถือเป็นสูตรของการคิดนอกกรอบที่ดูเหมือนจะเดินมาถูกทาง วิธีการทำงานนั้นเกิดจากการเลือกพันธมิตรที่ถูก และเป็นปรากฏการณ์ที่ "พีระพงษ์" เรียกว่า "ทวินแอ็กชั่น" (twin action)

"อย่างตอนที่ เราเริ่มต้นทำโครงการ CSR Campus (อ่านรายละเอียดในล้อมกรอบ) เรามีพันธมิตร 4 องค์กร พอลงพื้นที่จังหวัดแรกก็มีองค์กรในจังหวัดเข้ามาเพิ่ม เมื่อเราเพิ่มเรามีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น ทุกอย่างก็เติบโตไปกระจายไปอย่างรวดเร็ว ถ้าเราทำโครงการคนเดียวคงใช้งบประมาณมหาศาล แต่วันนี้เราเหมือนมีงบประมาณเท่าไหร่ก็ใช้ไม่หมด เหมือนเรามีงบฯ 10 ส่วน ถ้าเรามีเพื่อน 9 คน เราก็ใช้งบฯแค่ส่วนเดียวก็ยังเหลืออีก 9 ส่วน ที่สำคัญโครงการที่เราทำ เมื่อใช้จุดแข็งของแต่ละองค์กรมารวมกันมันก็ขยายไปอย่างรวดเร็ว ผมถึงเรียกมันว่าเป็นทวินแอ็กชั่น"

ก้าวข้ามข้อจำกัด เงิน-คน

นอกจากพันธมิตรที่ร่วมกันทำโครงการ สิ่งสำคัญไม่แพ้กันคือ วิธีการทำงานภายใต้ข้อจำกัดของ "เวลา" "คน" "งบประมาณ"

พี ระพงษ์บอกว่า "อย่างเราเดินทางมาร่วมงาน CSR Campus ในการให้ความรู้และระดมสมองกับองค์กรที่ภาคใต้ ปกติเราก็เดินทางมางานนี้งานเดียวแล้วจบ แต่ถ้าเราคิดแบบชอร์ตคัต นี่เราก็วางแผนไว้เลยว่ามีโครงการไหนที่สามารถทำต่อเนื่องกันได้ ในการลงพื้นที่ 1 ครั้ง จึงสามารถทำได้หลายๆ โครงการ"

การลงพื้นที่ จ.ภูเก็ตเพียงครั้งเดียวในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดีแทคสามารถเดินหน้าและสานต่อกิจกรรมได้ถึง 4 โครงการ หนึ่งคือ "แบตเตอรี่ ฟอร์ ไลฟ์" ซึ่งร่วมกับโรบินสัน ที่ศูนย์การค้าจังซีลอน ในการร่วมมือกันทำงานรณรงค์เรื่องการนำแบตเตอรี่โทรศัพท์มาทิ้งที่ห้าง เพื่อจะนำมากำจัดอย่างถูกวิธี โครงการหนึ่งคือ CSR Campus เวทีภาคใต้ โครงการหนึ่งคือการเปิดตัวโครงการ "ทางด่วนข้อมูลเกษตร" และการร่วมปลูกป่าชายเลนใน อ.เมือง จ.ภูเก็ต เป็นโครงการส่งท้าย

" ผมว่าการทำงานมันก็เหมือนรูปสี่เหลี่ยมที่มีเส้นทแยงมุมยาวที่สุด เพียงแต่ว่าเราจะเลือกเดินทางไหนที่สั้นที่สุดเพื่อให้เดินไปถึงปลายทาง เดียวกัน" พีระพงษ์กล่าวในที่สุด นี่จึงเป็น shortcut หรือทางลัดของการ "กระจายความดี" ที่ฟังดูเหมือนธรรมดาแต่ไม่ธรรมดาอย่างยิ่ง !!

ที่มา หนังสือพิมพืประชาชาติธุรกิจ วันที่ 18 สิงหาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01180851&day=2008-08-18&sectionid=0221

ทำ CSR จริงๆ


สุภา โภคาชัยพัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต
คนทั่วๆ ไปเมื่อพูดถึง CSR มักจะนึกถึงการจัดให้มีการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์กับชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การดูแลเยาวชน ผู้สูงอายุ หรือการศึกษา หลายคนคิดว่าการนำของไปบริจาคให้กับผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ ก็คือ การทำ CSR ให้องค์กรแล้ว

สิ่งหนึ่งที่ขอฝากไว้กับผู้ที่มี หน้าที่ดูแลรับผิดชอบเรื่อง CSR หรือผู้บริหารของบริษัทหรือองค์กรต่างๆ คือ การทำ CSR นั้นควรจะเริ่มจากภายในบริษัทก่อน บริษัทควรจะเริ่มโดยการดูแลพนักงานก่อนที่จะออกไปสู่สังคม เพราะพนักงานของบริษัทเป็นสังคมที่ใกล้กับบริษัทมากที่สุด สิ่งหนึ่งที่เป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆ ที่หลายหน่วยงานพูดถึง แต่จะหาบริษัทหรือองค์กรที่ทำได้ยากมาก

จากประสบการณ์การทำงานด้าน CSR ในรูปแบบของการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ดิฉันได้พบเห็นกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมที่หลายๆ องค์กรจัดขึ้น บางองค์กรก็มีความทุ่มเทและจริงจังที่จะมอบประโยชน์ให้กับชุมชน แต่ก็มีอีกหลายองค์กรที่หลงเข้าใจว่าการทำกิจกรรมเพื่อสังคมเน้นการทำเพื่อ การประชาสัมพันธ์ หรือ P.R. ภาพลักษณ์ของบริษัท จึงดำเนินกิจกรรมภายใต้ความเข้าใจนั้น และสุดท้ายสังคมก็ไม่ได้รับประโยชน์จากกิจกรรมที่ทำ องค์กรก็ไม่ได้ภาพลักษณ์เท่าที่ควร

ปรัชญาการทำกิจกรรมเพื่อสังคม

การ ทำกิจกรรมเพื่อสังคมไม่ใช่ทำกิจกรรมเพื่อการสร้างข่าวหรือเพียงประชา สัมพันธ์ให้องค์กรเป็นข่าวตามสื่อต่างๆ เท่านั้น การทำกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์มุ่งความสนใจไปที่การทำให้องค์กรได้รับ ความสนใจจากสื่อและประชาชน และหวังผลระยะสั้นที่รวดเร็ว ดังนั้นหากเราจะให้องค์กรของเราทำกิจกรรมเพื่อสังคม เราต้องตระหนักไว้เสมอว่า เราต้องมีความห่วงใยต่อสังคมอย่างแท้จริง ซึ่ง "องค์กร" ในที่นี้ หมายรวมถึงพนักงานทุกระดับในองค์กรที่จะต้องมีความรู้สึกร่วมและสนับสนุน นโยบายของบริษัท การที่สามารถทำให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัท ถือว่าเป็น CSR ส่วนหนึ่ง และจะต้องเข้าใจว่าการทำ CSR เป็นนโยบายระยะยาว ซึ่งอาจจะไม่ ผลิดอกออกผลหรือสร้างประโยชน์ให้กับสังคมหรือบริษัทภายในระยะเวลาแค่ 1-2 ปี แต่หากองค์กรทำกิจกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและปัญหาในสังคมทั้ง ระดับชาติและระดับท้องถิ่น สังคมนั้นก็จะได้รับประโยชน์ที่มีความยั่งยืน

การ ทำกิจกรรมเพื่อสังคมจะต้องทำด้วยความจริงใจ ต้องทำเพื่อเป้าหมายในการส่งเสริมให้สังคมดีขึ้น กิจกรรมต่างๆ ทำแล้ว กลุ่มเป้าหมายจะต้องได้ประโยชน์จากกิจกรรมนั้นจริงๆ จากการที่ผู้ทำตั้งใจทำด้วยความเต็มใจ ทุ่มเท และมีจุดมุ่งหมายชัดเจน

ยุทธศาสตร์การทำกิจกรรมเพื่อสังคม

หน่วย งานที่ทำ CSR เป็นหน่วยงานหนึ่งของธุรกิจ ก็คงปฏิเสธไม่ได้ที่จะหวังผลที่จะให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัทจากการทำ กิจกรรมเพื่อสังคมด้วย ดังนั้นนอกจากความตั้งใจที่จะทำสิ่งที่ดีแล้ว ก็คงต้องย้อนกลับมาดูว่าเกี่ยวข้องกับบริษัทอย่างไร องค์กรที่มีวิสัยทัศน์จะพิจารณากลุ่มเป้าหมายเวลาคิดโครงการ จะต้องเป็นกิจกรรมที่ให้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เอเอซีพีเองทำธุรกิจประกันชีวิตซึ่งเป็นธุรกิจที่ให้ความคุ้มครองและ สวัสดิการแก่ทุกครอบครัว เวลาทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ ก็สะท้อนในสิ่งที่เราเกี่ยวข้อง เช่น การให้การคุ้มครองหรือการให้การศึกษาและความรู้ให้ประชาชนสามารถดูแลตัวเอง และครอบครัวได้ในระยะยาว

และหากมองในแง่เครื่องมือหรือสื่อที่ใช้ใน การจัดโครงการ ก็ต้องดูว่ากลุ่มเป้าหมายมีความสนใจในด้านใด เช่น ยุคนี้ให้เยาวชนมาประกวดเขียนเรียงความนั้นคงยากมากที่จะดึงความสนใจเขา เพราะยุคนี้คอมพิวเตอร์คือส่วนหนึ่งของชีวิตเยาวชน เพราะฉะนั้นเราต้องหาเครื่องมือที่เขาสนใจและอยากคลุกคลี นี่เป็นวิธีการในการเลือกใช้สื่อในการนำเสนอสิ่งที่เราต้องการจากสื่อ ยกตัวอย่างเมื่อปีที่แล้ว เราต้องการรณรงค์ให้เยาวชนเข้าใจผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของอากาศ รวมทั้งวิธีการที่จะป้องกันสิ่งที่จะเกิดขึ้น บริษัทจัดให้มีการประกวดเขียนแอนิเมชั่น กลุ่มเป้าหมายของเราคือเยาวชนที่กำลัง

เติบโตขึ้นมาและจะต้องเผชิญ ปัญหาเหล่านี้ในอนาคต แน่นอนว่าคอมพิวเตอร์คือสื่อกลางที่เราเลือกใช้เป็นสื่อ เยาวชนสามารถแสดงจินตนาการอันไร้ขอบเขตด้วยงานเขียนแอนิเมชั่น เยาวชนสามารถผลิตผลงานด้วยต้นทุนการผลิตที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับเครื่องมือ อื่นๆ เราก็นำสิ่งที่เยาวชนสนใจมาเชื่อมต่อกับหัวข้อที่เราต้องการให้เขารู้ ซึ่งก็เป็นที่มาของการจัดโครงการประกวดการสร้างภาพเคลื่อนไหว (แอนิเมชั่น) ในหัวข้อ "รวมพลังลดโลกร้อน" ซึ่งได้รับความสนใจจากนักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศ มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมกว่า 300 เรื่อง

วิธีการและอุปสรรค

เนื่อง ในปีมหามงคลของชาวไทยใน ปี 2550 นั้น เอเอซีพีจัดให้มีโครงการมอบกรมธรรม์ "คุ้มครองครอบครัวไทยถวายพ่อหลวง" เพราะเอเอซีพีในฐานะบริษัทซึ่งอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารขององค์พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องการทำความดีถวายเป็นพระราชกุศลให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร่วมกับประชาชนคนไทยทั่วประเทศ และด้วยปณิธานของบริษัทคือ "การเป็นปัจจัยหลักแห่งความมั่นคง คุ้มครองทุกครอบครัวไทย" เราจึงนำปณิธานตรงนี้มาสร้างกิจกรรมเพื่อถวายในหลวง โดยมุ่งไปที่ทุกอำเภอทั่วประเทศไทย และเป็นรางวัลให้คนดีที่ทำประโยชน์เพื่อชุมชนของเขา ให้กำลังใจพวกเขาให้ทำความดีเพื่อสังคมต่อไป ด้วยแนวคิดที่ว่า "คนดีควรได้รับการคุ้มครองที่ดี"

นอกจากนี้กิจกรรมนี้เป็นการให้ การศึกษากับคนไทยเกี่ยวกับประโยชน์ของการประกันชีวิตอีกด้วย โครงการนี้มีแรงบันดาลใจมาจากการที่เรามอบความคุ้มครองให้กับครอบครัวที่ได้ รับผลกระทบจากสึนามิเมื่อสามปีก่อน โดยการมอบประกันชีวิตคุ้มครองผู้ปกครองที่ดูแลเด็กในครอบครัวที่สูญเสียคุณ พ่อหรือคุณแม่ ผลที่ได้รับคือเยาวชนจะได้รับความคุ้มครองนั้น ในปีต่อมามีหัวหน้าครอบครัวถึง 3 ครอบครัวเสียชีวิต และบริษัทมอบสินไหมให้กับเยาวชนซึ่งอยู่ในครอบครัวนั้นทันที เรารับรู้ว่าเยาวชนสามารถเรียนหนังสือต่อไป มีบ้านอยู่อาศัย เป็นการสื่อที่ดีกว่าการอธิบายด้วยคำพูด เพราะเด็ก เยาวชน คุณครู โรงเรียน หรือคนที่เกี่ยวข้องจะเข้าใจเลยว่า ประกันชีวิตคืออะไร เพราะฉะนั้นโครงการมอบกรมธรรม์คุ้มครองครอบครัวไทยจึงเป็นโครงการต่อยอดจาก สิ่งที่เราทำ ซึ่งเราย้ำเสมอกับทีมผู้บริหารและคนอื่นๆ ว่า เราจะทำอย่างต่อเนื่องและต่อยอดให้สัมฤทธิผล โครงการนี้เราได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการ ในการประสานงานต่างๆ เพื่อช่วยกันนำเสนอให้แต่ละอำเภอคัดเลือกผู้ที่ทำประโยชน์ให้กับชุมชนเป็น ผู้ได้รับความคุ้มครอง เราจึงบรรลุวัตถุประสงค์ในการเข้าถึงทุกพื้นที่ทั้ง 877 อำเภอของประเทศไทย

อุปสรรคของการทำโครงการ

ตอนเริ่มต้น การตอบรับยังช้าอยู่มาก เพราะหลายหน่วยงานรวมทั้งประชาชนยังไม่แน่ใจว่า บริษัทมามอบสิ่งเหล่านี้ให้กับพวกเขาโดยไม่คิดมูลค่าใดได้อย่างไร เพราะการให้ความคุ้มครองชีวิต 10 ปีนั้นเป็นอะไรที่ยาวนาน และใช้งบประมาณค่อนข้างสูงมาก หลายคนนึกไม่ถึงว่าจะมีบริษัทอะไรมอบความคุ้มครองให้กับเขา โดยที่เขาไม่ต้องทำอะไรเลย แต่จริงๆ แล้วเขาได้ทำแล้ว เพราะเป็นผลของความดีที่ได้ทำมา และวันนี้สังคมกลับมาตอบแทนเขา ซึ่งต้องใช้การอธิบายและอาศัยหน่วยงานของภาครัฐซึ่งเข้าใจวัตถุประสงค์ช่วย ทำความเข้าใจกับประชาชน ในที่สุดประชาชนที่ได้รับการเสนอชื่อก็เข้าใจว่า บริษัทคัดเลือกคนที่ได้กระทำความดีและเป็นประโยชน์ต่อสังคม มาเพื่อมอบความคุ้มครองให้กับเขาจริงๆ เพื่อเป็นประโยชน์กับครอบครัวของคนดีเหล่านี้ต่อไป

สิ่งที่อยากฝากให้กับผู้บริหารองค์กรต่างๆ

ใน การทำธุรกิจในโลกปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันอย่างมาก เราจะยืนหยัดอยู่ในสังคมไทยไม่ได้ หากไม่ทำตนให้เป็นส่วนหนึ่งที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมหรือชุมชนไทย ความรับผิดชอบต่อสังคมถือเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของพลเมืองที่ดี ภาคธุรกิจก็คือพลเมืองของประเทศ ของสังคมนั้นด้วย หากไม่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม มุ่งหวังจะกอบโกยจากชุมชนเพียงอย่างเดียว ชุมชนคงไม่ให้การยอมรับ ฉะนั้นเมื่อคิดจะทำอะไรให้กับสังคม เราไม่ควรรอให้เกิดปัญหาแล้วมาแก้ แต่มองไปข้างหน้าเพื่อเตรียมชุมชนและสังคมให้พร้อมจะดีกว่า

ที่สำคัญ คือองค์กรที่คิดจะทำ CSR จะต้องกำหนดงบประมาณการทำกิจกรรมเพื่อสังคมไว้ต่างหากจากงบประมาณกำไร-ขาด ทุน งบประมาณกิจกรรมเพื่อสังคมต้องไม่ผันแปรไปตามสภาพเศรษฐกิจและตัวเลขยอดขาย ของบริษัท ไม่ว่ายอดขายจะขึ้นจะลง กิจกรรมจะต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประโยชน์เกิดแก่สังคม ไม่ใช่พอยอดขายลดลง สิ่งแรกที่ทำมาตัดงบฯของการทำ กิจกรรมเพื่อสังคม หลายคนคงเถียงว่าทำได้ยาก แต่ตั้งใจจะทำ CSR จริงๆ คงต้องปรับความคิดเรื่องนี้เป็นอย่างแรก


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 11 สิงหาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03110851&day=2008-08-11&sectionid=0221

วันเอดส์โลก : เสียงเล็กๆ ที่โลกควรฟัง

ชาญณรงค์ วงศ์วิชัย การพูดคุยครั้งนี้อาจจะเน้นหนักไปในเรื่องของการรณรงค์ ถามว่าเกี่ยวข้องกับ CSR ไหม คำตอบก็คือเกี่ยวข้องกัน แต่เกี่ยวในแง่ของความร่วมมือในภาคส่วนต่างๆ ที่ร่วมมือกัน

หลายท่าน คงทราบว่า วันที่ 1 ธันวาคมของทุกปีนั้นเป็น วันเอดส์โลก โดยเป็นการกำหนดตามองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดขึ้น รวมทั้งประเทศไทยเองก็ให้ความสำคัญกับวันดังกล่าวเช่นกัน เพราะประเทศไทยให้ความสำคัญในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์มา นานกว่า 25 ปี

ซึ่งเรื่องดังกล่าวเองก็เป็นวาระแห่งชาติเรื่อง หนึ่งที่ต้องดำเนินการและให้ความสำคัญ ขณะเดียวกันภาคประชาสังคมก็ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว และนำเสนอกิจกรรมข้อเรียกร้องต่างๆ ในวันเอดส์โลก เพื่อเป็นการเน้นย้ำการดำเนินงานเรื่องเอดส์ โดยเป็นเรื่องที่ทุกส่วนต้องดำเนินการ ร่วมกัน

วันเอดส์โลกบทสะท้อนการทำงาน

หาก แต่ว่าบทการสะท้อนหนึ่ง แม้ว่ามีความพยายามระดมความร่วมมือทั้งภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ องค์กรชุมชน อาจนับได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยสามารถลดอัตราการติดเชื้อรายใหม่ลงได้ และผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการดูแลรักษา จากการสำรวจร่วมกันของ องค์การยูนิเซฟ สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า กลุ่มที่สำรวจมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องเอดส์รายภาคสูงสุดเพียง 55% เท่านั้น และยังพบว่าข้อน่าเป็นห่วงคือ 79% ตั้งข้อรังเกียจผู้ติดเชื้อไว้อย่างน้อย 1 ข้อ 65% จะไม่ซื้ออาหารที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีขาย 29% ครูที่ติดเชื้อเอชไอวีไม่ควรมาสอนหนังสือ

จากการสำรวจข้อมูลเบื้อง ต้นดังกล่าวยิ่งเป็นการตอกย้ำว่า การรณรงค์และสร้างความเข้าใจเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินงาน ไม่เฉพาะภาครัฐเท่านั้น ภาคประชาสังคม และทุกหน่วยงานต้องมีการดำเนินงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม เพราะหากไม่เร่งรณรงค์สร้างความเข้าใจแล้ว ปัญหาที่ตามมาคือ การรังเกียจ การกีดกันผู้ติดเชื้อเอชไอวี และยิ่งเป็นตัวบ่งชี้ความเชื่อที่ว่า "เอดส์เป็นแล้วตาย" หรือ "คนเป็นเอดส์น่ากลัว" ยังฝังแน่นอยู่ในสังคมไทย

วันเอดส์โลก : ครั้งแล้วครั้งเล่า

ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป


วัน เอดส์โลกเป็นวันหนึ่งที่ทุกส่วนได้ออกมารณรงค์การทำงานเรื่องเอดส์กันอย่าง เป็นจริงเป็นจังมากขึ้น ทุกเสียงสะท้อนทุกกิจกรรมนับเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสื่อสารให้สังคมเกิด ความรู้ความเข้าใจกับเรื่องเอดส์อย่างเท่าทัน เพราะโจทย์ที่สำคัญโจทย์หนึ่งคือ การสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อ (social environment) หากสภาพแวดล้อมสังคมเอื้อแล้ว คือในสังคมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเอดส์ จะนำมาสู่การป้องกัน การเข้าใจ และดูแลรักษาได้อย่างถูกต้อง แต่การสร้างความเข้าใจดังกล่าวเป็นสิ่งที่ต้องบอกว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องรณรงค์สร้างความเข้าใจ หรือเรียกในเชิงคนทำงานด้านเอดส์ คือ งานด้านการป้องกัน (prevention) ซึ่งก็เป็นตามสถานการณ์คือ ขณะนี้งานด้าน ดังกล่าวได้ลดลงไปมาก อาจเพราะทั้ง งบประมาณ กำลังคน หรืออะไรก็ตามแต่ โดยเหตุผลการทำงานด้านการป้องกันนั้น เมื่อประสบความสำเร็จจะเกิดประโยชน์อย่างมาก 2 อย่าง คือ 1.ลดอัตราการติดเชื้อรายใหม่ และลดรายจ่ายของประเทศด้านการดูแลรักษา รวมถึงมีประชากรในการพัฒนาประเทศเพิ่มมากขึ้น 2.สังคมเกิดความรู้ความเข้าใจ ผู้ติดเชื้อสามารถอยู่ในสังคมได้โดยปราศจากการรังเกียจ การละเมิดสิทธิ รวมทั้งในด้านอื่นๆ ที่ตามมา

ดังนั้น วันเอดส์โลก 1 ธันวาคม เป็นวันที่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน หน่วยงานท้องถิ่น ออกมาแถลงจุดยืนการทำงาน จุดหมายต่างๆ และก็คงต้องทำงานดังกล่าวอย่างหนักต่อไป ไม่ให้เป็นเหมือนวันวานที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป หากเป็นเช่นนั้นปัญหาเอดส์จะเป็นปัญหาหนึ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป

การรณรงค์ก็เป็นส่วนหนึ่งของงาน CSR ซึ่งถ้าจะทำจริงๆ มีอีกมากมายที่สังคมกำลังต้องการอยู่

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 4 สิงหาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02040851&day=2008-08-04&sectionid=0221

"โตโยต้า" กับประวัติศาสตร์หน้าใหม่ Eco-Forest "ป่านิเวศในโรงงาน"

เอื้อมพร สิงหกาญจน์ ด้วยเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ในการที่จะพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีให้ เติบโตควบคู่กันไปกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น จึงได้ขยายแนวคิดนี้ไปยังโรงงานต่างๆ ทั่วโลก

ล่าสุดได้ผลักดันโรง งานโตโยต้า บ้านโพธิ์สู่องค์กรที่มีความยั่งยืนโดยการเดินหน้าเปิดโครงการ "ป่านิเวศในโรงงาน" (Eco-Forest) ไปเมื่อวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา มีคาราวานผู้บริหารระดับสูงของบริษัทโตโยต้าฯตัวแทนจากหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน ผู้แทนจำหน่าย บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน บริษัทในเครือ ชุมชนฉะเชิงเทรา สื่อมวลชน รวมถึงพนักงาน โตโยต้าและครอบครัวเข้าร่วมปลูกป่าจำนวนมากกว่า 10,000 คน เพื่อปลูกป่า 100,000 ต้นบริเวณหน้าโรงงานโตโยต้า บ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

ใน เบื้องต้นโตโยต้า บ้านโพธิ์ได้จัดพื้นที่ประมาณ 30 ไร่ ที่พลิกฟื้นเป็นพื้นที่สีเขียว ซึ่งไม่ใช่เพียงการเพิ่มความสมบูรณ์ของระบบนิเวศให้แก่ชุมชนบริเวณโดยรอบโรง งานเท่านั้น แต่การปลูกป่าครั้งนี้ยังจะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศได้อีก ด้วย

ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ กิจกรรมปลูกป่าครั้งนี้ไม่ได้สร้างสีสันแค่การเติมพื้นที่สีเขียวให้กับผืน โลกแบบที่ทำกันโดยทั่วไป แต่โครงการนี้ยังได้มืออาชีพด้านการปลูกป่าอย่าง "ศ.ดร.อาคิระ มิยาวากิ" ศาสตราจารย์เกียรติคุณมหาวิทยาลัยแห่งชาติโยโกฮาม่า และผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้ด้านนิเวศวิทยานานาชาติประจำประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นผู้สืบทอดแนวคิดการสร้างผืนป่าโดยดำรง ไว้ซึ่งสภาพตามธรรมชาติ และยังเป็นที่ปรึกษาในโครงการฟื้นฟูผืนป่าให้กับหลายแห่งมาเป็นที่ปรึกษา กิตติมศักดิ์

แนวคิดการปลูกป่าอย่างยั่งยืนที่ ศ.ดร.มิยาวากิ ถ่ายทอดให้แก่บุคลากรของโตโยต้าในช่วงที่ผ่านมา ถือเป็นองค์ความรู้ที่ทรงคุณค่าที่ได้มีการนำมาประยุกต์ใช้กับโครงการปลูก ป่าของโตโยต้าทั่วโลกจนประสบความสำเร็จไปแล้วกว่า 1,500 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นป่าเขตร้อนในประเทศไทย พื้นที่ราบต่ำในป่าอะเมซอน ประเทศบราซิล ป่าบีชที่ประเทศชิลี ป่าต้นโอ๊กบริเวณโดยรอบกำแพงเมืองจีน ฯลฯ ดังนั้นจึงเชื่อมั่นได้ว่าอีกไม่นานประเทศไทยจะมีป่าผืนใหญ่ที่มีลักษณะเป็น ป่าธรรมชาติอย่างแท้จริงขึ้นมาอีกแห่งหนึ่ง

นายยะสุฮิโร มิชิม่า รองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้พูดถึงทฤษฎีการปลูกป่าของ ศ.ดร.มิยาวากิ ว่าจะเน้นการคัดเลือกสายพันธุ์ไม้สูงสุดของระดับการวิวัฒนาการของป่าในแต่ละ พื้นที่นั้นๆ มาปลูก ซึ่งการเลือกใช้พันธุ์ไม้พื้นเมืองนั้นไม่เพียงแต่จะส่งผลดีทำให้ต้นไม้มี การเติบโตอย่างเต็มที่เท่านั้น ยังทำให้ต้นไม้เหล่านั้นดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเมื่อ 3 ปีผ่านไปต้นไม้เหล่านี้จะมีความแข็งแรงพอที่จะอยู่ได้ด้วยตนเอง ซึ่งนั่นหมายถึงการอยู่อย่างยั่งยืนของต้นไม้เหล่านั้นซึ่งจะกลายเป็นแหล่ง อาหารที่สำคัญของสัตว์ได้ในอนาคต

ในการปลูกป่าครั้งนี้โตโยต้าจึงได้คัดพันธุ์ไม้พื้นเมืองกว่า 34 ชนิดมาปลูก แต่ที่เน้นเป็นพิเศษคือต้นยางนาและต้นตะเคียน

ด้าน "อภิชัย สิทรัตตะกุล" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้กล่าวเสริมว่า การดำเนินโครงการป่านิเวศในโรงงานครั้งนี้โตโยต้าได้ทำมากกว่าการเพิ่ม พื้นที่ สีเขียวในโรงงาน แต่ยังได้มีการจัดวางรูปแบบให้มีการใช้ทรัพยากรและวัสดุที่เหลือจากกระบวน การผลิตให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เช่น การสร้างศาลาไทยและสะพานจากไม้ที่ใช้แล้ว การนำขี้เลื่อยมาใช้โรยเส้นทางเดินป่า การผลิตเก้าอี้นั่งพักจากไม้เก่าหรือพลาสติกที่ใช้แล้ว การสร้างเส้นทางเดินชมป่าสร้างโดยใช้วัสดุรีไซเคิลที่ได้จากกระบวนการผลิต เช่น อิฐบล็อกจากกากตะกอนสี การนำน้ำจากกระบวนการผลิตที่บำบัดแล้วมาใช้ใหม่ การเก็บกักน้ำฝนเพื่อใช้รดน้ำต้นไม้และใช้ในบ่อเลี้ยงปลา รวมไปถึงการนำเศษอาหารของพนักงานมาหมักเป็นปุ๋ย การนำเศษใบไม้และกิ่งไม้ไปแปรรูปเป็นถ่านไม้

อย่างไรก็ตาม "อภิชัย" ยังบอกอีกว่า ที่ผ่านมาโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ได้คัดเลือกโรงงานประกอบรถยนต์โตโยต้าที่มีความโดดเด่นในด้านการดำเนินงาน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจาก 5 ประเทศ ได้แก่ โรงงานซึซึมิ ประเทศญี่ปุ่น โรงงานโตโยต้า มอเตอร์ มิสซิสซิปปี ประเทศสหรัฐอเมริกา โรงงานโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศอังกฤษ โรงงานโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศฝรั่งเศส และโรงงาน โตโยต้า บ้านโพธิ์ ประเทศไทย มาเป็นต้นแบบในการดำเนินโครงการ "โรงงานแห่งความยั่งยืน" (Sustainable Plant) ที่จะสามารถดำเนินการอยู่คู่กับชุมชนได้อย่างกลมกลืนนับร้อยๆ ปีให้แก่โรงงานโตโยต้าทั่วโลก

ซึ่งสาเหตุที่โรงงานโตโยต้า บ้านโพธิ์ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในโรงงานต้นแบบในการดำเนินโครงการ "โรงงานแห่งความยั่งยืน" นั้น ส่วนหนึ่งมาจากความโดดเด่นของเทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมใน ทุกๆ กระบวนการผลิต ตั้งแต่การติดตั้งแผงกำเนิดพลังงานแสงอาทิตย์ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด การติดตั้งเตาเผาสารระเหยไฮโดรคาร์บอน การใช้ระบบพ่นสีโดยไม่ใช้ทินเนอร์เป็นตัวทำละลาย

นอกจากนั้น ยังมีระบบบำบัดน้ำทิ้งที่มีคุณภาพสูงกว่าค่าที่กฎหมายกำหนดไว้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ และมีการวางระบบการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นที่การนำกลับมาใช้ใหม่และนำกลับมาใช้ซ้ำ

ที่สำคัญบริษัทโต โยต้าฯยังได้มุ่งเน้นการปลูกฝังจิตสำนึกในด้านสิ่งแวดล้อมในทุกๆ ขั้นตอนของการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรในทุกหน่วยงานของบริษัท รวมถึงเครือข่ายธุรกิจทั้งในส่วนของตัวแทนจำหน่าย บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน และบริษัทคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับนิยามคำว่า โรงงานแห่งความยั่งยืนที่บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น กำหนดไว้ว่าจะต้องอยู่ภายใต้หลักการ 3 ข้อ นั่นคือ 1.ลดการใช้พลังงาน โดยการพัฒนาและนำเทคโนโลยีที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้ในกระบวน การผลิต รวมถึงปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกๆ วัน 2.เปลี่ยนรูปพลังงาน เน้นการใช้พลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ 3.อนุรักษ์ระบบนิเวศและให้ชุมชนมีส่วนร่วม ดูแลรักษาระบบนิเวศเพื่อชุมชนโดยรอบด้วยการปลูกต้นไม้ภายในโรงงานเพื่อ "สิ่งแวดล้อมที่ดีในอนาคต"

ที่มาหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 4 สิงหาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03040851&day=2008-08-04&sectionid=0221

มองปรากฏการณ์... วัฒนธรรมสีเขียวในองค์กร !!


ปรากฏการณ์ "สีเขียว" ที่ว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทุกวันนี้ไม่เพียงปรากฏให้เห็นบนหน้าหนังสือพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ วิทยุ แต่วันนี้กำลังขยายวงไปถึงในลิฟต์ขึ้นออฟฟิศ หน้าประตูออฟฟิศ ห้องประชุม กระทั่งโต๊ะทำงาน

ในแทบทุกออฟฟิศมีตั้งแต่ป้ายรณรงค์ประหยัดพลังงาน กิจกรรมชวนไปปลูกป่า ป้ายเชิญชวนให้งดใช้ถุงพลาสติก ไปจนกระทั่งงดใช้กล่องโฟม

ทุกๆ 1 วันของสัปดาห์ที่พนักงาน โคคา-โคลา จะต้องหอบหิ้วขยะรีไซเคิลที่แยกแล้วจากที่บ้านมาเข้าธนาคารรีไซเคิล ซึ่งตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2550 เพื่อกระตุ้นให้ พนักงานในองค์กรได้หันมาให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านการคัด แยกขยะ โดยมีค่าตอบแทนเป็นแรงจูงใจ อย่างไรก็ตาม จำนวนเงินที่งอกเงยขึ้นทุกๆ สัปดาห์ในบัญชี นอกจากพนักงานจะเบิกเงินกลับไป ยังสามารถนำเงินที่สะสมในบัญชีนั้นบริจาคเข้าโครงการเพื่อสังคมของบริษัท

ทุกๆ วันที่ ธนาคารเกียรตินาคิน กลุ่ม "ทูต KK อนุรักษ์พลังงาน" ซึ่งมีอยู่ในทุกแผนกทุกฝ่าย ซึ่งเป็นพนักงานที่ได้รับการเทรนด์ให้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ พลังงานกำลังขยายองค์ความรู้เหล่านี้สู่เพื่อนๆ พนักงาน

ทุกๆ เช้าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ "สมบูรณ์ กรุ๊ป" ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่จะตรวจสัมภาระที่พนักงานในบริษัทนำเข้ามาใน เขตโรงงาน เพราะตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้น ถือเป็นนโยบายบริษัทที่โรงงานจะเป็นเขตปลอดโฟม

สิ่งละอันพันละน้อย เหล่านี้กำลังถูกปลูกฝังกับพนักงานในหลายองค์กร และนี่ถือเป็นหนึ่งในทิศทางของการขับเคลื่อนแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของ องค์กร (CSR) ในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เริ่มจากภายใน โดยมีตัวตั้งด้วยการสร้าง "จิตสำนึก" จากพนักงาน ซึ่งเป็นทิศทางที่เริ่มปรากฏชัดหลังจากที่ผ่านมา องค์กรจำนวนไม่น้อยที่ให้ความสำคัญเพียงกิจกรรมเพื่อสังคมภายนอกโดยหลงลืม พนักงานภายใน

วัฒนธรรมสีเขียวที่กรุงไทย

ปลายสัปดาห์ที่ผ่าน มา ที่ธนาคารกรุงไทยสำนักงานใหญ่ นอกจากจะเป็นการเปิดตัวโครงการ "กรุงไทย Growing Green" ที่ไม่เพียงจะเป็นโครงการในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับธนาคารกรุงไทยทั่ว ประเทศ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ 2-3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเปิดสาขานำร่องที่แก่งคอยและกระทุ่มแบน ที่เป็นสาขา อนุรักษ์พลังงานอย่างสมบูรณ์แบบ โดยให้ความสำคัญตั้งแต่การออกแบบให้เป็นอาคารประหยัดพลังงานไปจนกระทั่งรูป แบบการตกแต่งภายนอก ซึ่งจะขยายสู่การปรับสาขาของกรุงไทยทั่วประเทศ ใน รูปแบบการเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เรียกว่า กรีนรูฟ ซึ่งเป็นการทำสวนบนหลังคา และเป็นการปรับทัศนียภาพให้ดูร่มรื่น และอีกไม่นานยังจะมีการปรับปรุงอาคารสำนักงานใหญ่ ให้ร่มรื่นขึ้นและกลายเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนเมืองที่เรียกว่า "ซิตี้สเปซ"

การเปิดตัวโครงการครั้งนี้ยังมีนัยสำคัญในการประกาศ เจตนารมณ์ในการสร้างวัฒนธรรมสีเขียว (green culture) ภายในองค์กร ซึ่งถือเป็นการสานต่อการทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือที่กรุงไทยเรียกว่า CSER ซึ่งเป็นการแสดงความรับผิดชอบที่มุ่งส่งเสริมทุนทางปัญญาใน 4 มิติ ด้านการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม

"พงศธร สิริโยธิน" รองกรรมการ ผู้จัดการอาวุโส ผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บมจ.ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า "ที่ผ่านมาเรามีกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมมากมายตั้งแต่เรื่องปลูกป่า การออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน แต่เราเชื่อว่าการจะอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน สิ่งสำคัญคือการปลูกจิตสำนึกและสร้างให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร ที่ผ่านมาเรามีโครงการที่ปลูกฝังความคิดด้านอนุรักษ์กับบุตรหลานพนักงานและ ลูกค้า เพราะเราเชื่อว่าการสร้างวัฒนธรรมสีเขียวจะส่งผลกระทบทางบวก เนื่องจากเราเป็นองค์กรใหญ่ มีสาขาถึง 800 แห่ง และมีพนักงานถึง 16,000 คน"

" ในการสร้างวัฒนธรรมสีเขียว เราเชื่อว่าเมื่อพนักงานช่วยกันทำให้ฝังอยู่ในธุรกิจ และสามารถช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมนี้ต่อ เป็นเหมือนต้นไม้ใหญ่ที่จะปกคลุมผลิดอกออกผลให้เกสรปลิวออกไปให้คนมี จิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อมต่อไป" พงศธรกล่าวในที่สุด

"สมบูรณ์ กรุ๊ป" โรงงานปลอดโฟม

อย่าง ไรก็ตาม แม้ว่าต้นทางของความคิดในหลายองค์กรที่ลุกขึ้นมารณรงค์สร้างจิตสำนึกใน เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้นจะเป็นแนวคิดที่ดี แต่ในทางปฏิบัติบางครั้งก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด เช่นเดียวกับทุกการเริ่มต้นที่บางครั้งย่อมเผชิญหน้ากับแรงเสียดทานและการ ต่อต้าน ที่โรงงานของ "สมบูรณ์ กรุ๊ป" หลังจากเริ่มต้นโครงการ "โรงงานปลอดโฟม" ตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการรณรงค์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพนักงานในองค์กรให้เลิกการใช้ โฟมในการบรรจุอาหาร ด้านหนึ่งเป็นการรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม ขณะที่อีกด้านหนึ่ง โครงการนี้ยังอยู่ เป็นความรับผิดชอบต่อ "พนักงาน" ในเรื่องของสุขภาพ

"ตอนเริ่มต้นโครงการอาจจะมีพนักงานไม่เห็นด้วย บ้าง เพราะเดิมเขาสะดวกสบายและเคยชินกับการใช้กล่องโฟมในการบรรจุอาหาร แต่เราก็พยายามมีสิ่งต่างๆ เตรียมไว้รองรับ ไม่ว่าจะเป็นการแจกถุงผ้า การแจกกล่องข้าว ขวดน้ำ ซึ่งสามารถนำมาใช้ทดแทนการบรรจุกล่องโฟม และเรายังพยายามชี้ให้เขาเห็นว่านี่เป็นสิ่งสำคัญกับสุขภาพ ทั้งยังเป็นการลดขยะในการช่วยสิ่งแวดล้อม ทุกวันนี้พนักงานเข้าใจและโรงงานปลอดโฟมบรรจุอาหารแล้ว 100%" กาญจนา สุขพรหม ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมสังคม (CSR Manager) สมบูรณ์ กรุ๊ป กล่าว

สิ่งเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลก

ปัจจุบัน โรงงานจึงสามารถลดขยะจากกล่องโฟมได้มากถึง 600 กล่องต่อวัน ซึ่งถ้าคำนวณต่อปีแล้วสามารถลดได้จำนวนมหาศาล แต่นี่ดูเหมือนว่ายังอาจจะไม่ได้ไปถึงปลายทางที่บริษัทตั้งใจไว้ เพราะเป้าหมายในการทำโครงการรณรงค์ครั้งนี้ไม่ใช่อยู่แต่เพียงการลดขยะโฟมใน โรงงานเท่านั้น แต่ยังมีเป้าหมายสูงถึงการขยายผลให้พนักงานนำไปปฏิบัติในครอบครัวและขยายผล ไปสู่ชุมชนที่เขาอยู่อาศัย

"เรื่องนี้คงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ในการที่จะประเมินผล เพราะเราต้องการผลในระยะยาวด้วย ซึ่งคงต้องติดตามกันต่อไป แม้สิ่งที่เราทำอาจจะดูเป็นจุดเล็กๆ แต่จำนวนพนักงาน 2,500 คนถ้าสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและขยายผลได้ก็น่าจะช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้ เพราะที่ผ่านมาเรามักพูดเรื่องการลดภาวะโลกร้อนในมุมของกระบวนการผลิต ทั้งๆ ที่ภาวะโลกร้อนเกิดจากคนมากกว่า ดังนั้นถ้าพัฒนาแต่กระบวนการผลิตแต่ไม่พัฒนาคนก็ไม่เกิดประโยชน์" กาญจนากล่าว

ถึงวันนี้โรงงานสมบูรณ์ กรุ๊ป ปลอดโฟม 100% สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร ส่วนโฟมที่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ได้วางแผนที่จะทำ ความเข้าใจและร่วมมือกับคู่ค้าหาวัสดุที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมมาทดแทน และภายในปี 2553

จะเห็นว่าความพยายามในการสร้างวัฒนธรรมสีเขียวจาก ภายในที่เกิดขึ้นในหลายองค์กรไม่ได้ใช้งบประมาณมหาศาล แต่กลับเป็นความพยายามในการสอดแทรกแง่มุมต่างๆ ไปในชีวิตประจำวัน และหลายครั้งก็เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ "ฐิตินันท์ วัธนเวคิน" ประธานสายธุรกิจเงินฝากและการตลาด ธนาคารเกียรตินาคิน บอกกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงมุมคิดในการขับเคลื่อน CSR ขององค์กรสู่ความสำเร็จไว้อย่างน่าสนใจว่า "สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ให้คนเกิดจิตสำนึก เพราะเราเชื่อว่า CSR จะเกิดได้ต้องมาจากผู้บริหารระดับสูง ต้องเข้าใจ ต้องมีนโยบายลงมา แต่พอมีแล้วจะประสบความสำเร็จได้ต้องเริ่มจากจิตสำนึกของคนข้างล่างและทำ ทั้งองค์กร แม้จะทำให้สำเร็จในคราวเดียวได้ยาก แต่ถ้าค่อยๆ ทำนั้นไม่ ยาก" ฐิตินันท์กล่าวในที่สุด

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 28 กรกฎาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01280751&day=2008-07-28&sectionid=0221