วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ฝ่าวิกฤตสู่องค์กรที่ยั่งยืน



ภาย ใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ผันแปร สถานการณ์การเมืองที่ร้อนระอุ วิกฤตต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นทำให้การบริหารคนและองค์กรเป็นเรื่องยากกว่าในสถานการณ์ ปกติ

หลายองค์กรเริ่มเอาคนออก และดำเนินนโยบายเพียงเพื่อเอาตัวรอดในระยะสั้น

วิธีคิดเหล่านี้ถูกต้องหรือไม่ หรือสิ่งที่องค์กรทำเป็นเพียงหลุมพรางที่องค์กรขุดเพื่อจะติดกับดักตัวเองในเวลาต่อมา !!

และ นี่เป็นโจทย์ซึ่งสถาบันการบริหารและจิตวิทยาตั้ง และพร้อมที่จะตอบคำถามในงานสัมมนาใหญ่ครบรอบ 20 ปีของสถาบัน MPI Forum "เพิ่มคุณค่าคนและองค์กร เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน" หรือ Enriching Organization Value For Sustainnability Development ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 13 สิงหาคมที่จะถึงนี้ ที่โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด

ทำไมต้องพูดถึงความยั่งยืนในสถานการณ์หน้าสิ่วหน้าขวาน ที่ดูเหมือน องค์กรธุรกิจจะมุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

" การที่เราพยายามจะพูดเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพราะเราเห็นว่าในช่วงวิกฤต คนมักมองแต่ปัญหาเฉพาะหน้า โดยหลงลืมการมองถึงความยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งนั่นจะกลายเป็นปัญหาตามมา" ดร.มิชิตา จำปาเทศ รอดสุทธิ ผู้บริหารสถาบันการบริหารและจิตวิทยากล่าว

ดร.มิชิตายกตัวอย่างซึ่งเป็นบทเรียนจากวิกฤตเมื่อราวสิบปีที่ผ่านมา

" วิกฤตเศรษฐกิจสิบกว่าปีที่แล้วที่บริษัทต่างๆ พยายามเอาตัวรอดโดยการลดจำนวนคนลง ผู้บริหารที่อยู่มานานมีเงินเดือนมากจะถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษ บางบริษัทพยายามลดคนเหล่านี้ และจ้างคนใหม่เงินเดือนน้อยกว่ามาแทน นี่เป็นตัวอย่างรูปธรรมชิ้นหนึ่งที่พบได้แม้ในประเทศไทยเรา มองในมุมทางการเงินในระยะสั้น นี่อาจจะเป็นการตัดสินใจที่ชาญฉลาด การลดจำนวนคนอาวุโสที่ทำงานไม่กระฉับกระเฉงเท่าคนรุ่นใหม่ไฟแรง ประหยัดเงินเดือน เปลี่ยนคนรุ่นใหม่เข้ามาในต้นทุนที่ต่ำกว่า แต่ในมุมมองระยะยาว การจัดการเรื่องนี้อย่างไม่ถูกจังหวะหรือถูกกระบวนท่าอาจก่อให้เกิดปัญหา เรื้อรัง ต่อไป"

"เช่น ความจงรักภักดีในองค์กร (loyalty) วันนี้หลายองค์กรขอให้ทางสถาบันช่วยทำให้เกิดความจงรักภักดีกับองค์กรมาก ขึ้น แต่ถ้าผลวิเคราะห์องค์กรนั้นๆ พบว่านโยบายการดูแลคนเป็นอย่างที่กล่าวข้างต้น เพียงแค่การจัดสัมมนาปลุกจิตสำนึกให้คนรักองค์กรนั้นทำได้แต่ก็ได้ผลเพียง ระยะสั้น หรือไม่ได้ผลเลย"

นี่เป็นตัวอย่างของการสร้างสมดุลระหว่าง การบริหารตัวเลขทางการเงินในระยะสั้น กับการบริหารคนองค์กรเจริญเติบโตในระยะยาว การตัดสินใจผิดพลาดเพียงครั้งเดียวอาจจะทำให้องค์กรต้อง สูญเสียคนดีคนเก่ง หรือเสียวัฒนธรรมองค์กรที่บ่มเพาะมา และกลายเป็นอาการข้างเคียงเรื้อรังกับการบริหารจัดการองค์กรในระยะยาว

อะไรคือทางออก

" เราไม่เชื่อว่าจะมีวิธีใดวิธีเดียวในการจัดการกับปัญหา เพราะในการบริหารจัดการส่วนบริหารองค์กรนั้นมีหลายมิติ ทั้งการเงิน การตลาด การผลิต การบริหารทรัพยากรบุคคล รวมถึงการจัดการกับตัวเราแต่ละคนเองด้วยการดูแลทั้งกายและจิตใจ"

ใน งานสัมมนาครั้งนี้ จึงได้หยิบยกกลยุทธ์ในมิติต่างๆ เพื่อที่จะสร้างคุณค่าให้กับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นปาฐกถาพิเศษ โดย ศ.ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ในหัวข้อ "เพิ่มคุณค่าคนและองค์กรเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน" พร้อมด้วยการเพิ่มคุณค่าจากอีก 7 องค์ประกอบทางการบริหาร จะ เตรียมรับมืออย่างไรในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ โดย ดร.อริชัย รักธรรม เพื่อเตรียมพร้อมตั้งแต่วิสัยทัศน์ในการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ขายให้คลิก พลิกวิกฤตให้รวยช่วยทีมขายให้รุ่ง โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย Marketing Clinic : ที่ปรึกษาด้านการตลาด โดย วิทอง ตัณฑกุลนินนาท เพื่อพัฒนาการตลาดที่ดึงให้ลูกค้าเห็นความมีคุณค่าของสินค้าและบริการมาก ขึ้น Essential Tax Planning and Law for Business โดย ดุลยลักษณ์ ตราชูธรรม การลดต้นทุนด้วยการออกแบบที่ถูกต้องของการวางแผนภาษีที่ดี Best Practice in Finance Management : บริหารการเงินเพื่อความเป็นเลิศ โดย พรสรัญ รุ่งเจริญ กิจกุล แนวโน้มในการบริหารงาน HR ใน ปี 2009 โดย มาริสา เชาว์พฤฒิพงศ์ เพื่อพร้อมจะพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้ร่วมฝ่าฟันกับองค์กรได้ในระยะยาว และ CSR-แค่สมัครใจหรือเป็นหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคม โดย ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ

" ในมิติสุดท้ายเรื่อง CSR เป็นเรื่องที่มักจะถูกมองข้ามแม้ไม่ใช่ในยามวิกฤต ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การคำนึงถึงเรื่องจิตใจ จิตวิญญาณของผู้คนตลอดจนสังคมรอบข้างเพราะความเข้าใจในจิตวิญญาณของผู้ บริหารเอง คนในองค์กรและสังคมรอบข้างจะเป็นตัวยาสำคัญที่จะช่วยทั้งสมานแผลความเหนื่อย อ่อนจากการเปลี่ยนแปลง และเป็นยาบำรุงชั้นเลิศในการพัฒนาอย่างยั่งยืน"

บาง ครั้งเรามักจะมองหาเครื่องมือต่างๆ นานา เพื่อมาใช้บริหารจัดการองค์กร ทั้งที่จริงแล้วปัญหาที่มักพบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงองค์กรในภาวะ วิกฤตกลับเป็นเรื่องง่ายๆ อย่างการพูดคุยและสื่อสารกันมากขึ้น การให้ความสำคัญกับเรื่องจิตใจ อย่างการทำเรื่องจิตอาสาพนักงาน เพราะการเปิดโอกาสให้พนักงานไปเห็นผู้ทุกข์ยากในสังคมบ้างจะเป็นการสร้างให้ คนหลุดออกจากกรอบของตัวเอง ฯลฯ

สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www. ThaiBoss.com/MPIforum อย่างน้อยที่สุดก็เพื่อตระหนักรู้ถึงปัญหาและไม่ต้องตกหลุมพรางกับวิกฤตเช่น ในอดีตที่ผ่านมา !!

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 11 สิงหาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04110851&day=2008-08-11&sectionid=0221

ความตื่นตัวของ "ธุรกิจ" กับการสร้างโอกาสให้ "ผู้พิการ"




เมื่อ อายุ 27 ปี "เจี๊ยบ" "พิมพ์ประภา สาระบุตร" ประสบอุบัติเหตุและทำให้เธอกลายเป็น ผู้พิการทางสายตา ไม่เพียงนำมาซึ่งความสิ้นหวัง หมดกำลังใจ แต่โอกาสในการทำงานเพื่อดำรงชีพเช่นเดียวกับคนปกติก็หายไปพร้อมๆ กัน

แม้ จะเป็นเรื่องยากที่จะทำใจยอมรับสำหรับคนวัยหนุ่มสาว แต่เธอก็พยายามปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่ในโลกปัจจุบัน จึงไม่แปลกที่วันนี้เมื่อมีโอกาสกลับมาทำงานเช่นเดียวกับคนปกติอีกครั้ง จะทำให้เธอรู้สึกภาคภูมิใจและขอบคุณกับโอกาสที่ได้รับ

โดยเมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา "พิมพ์ประภา" เริ่มเข้าทำงานเป็นพนักงาน call center ผู้พิการทางสายตาของศูนย์ปฏิบัติการ call center ซึ่งตั้งอยู่ที่โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จ.เชียงใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนจาก บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ด้วยเงินเดือนเริ่มต้นหลักหมื่น

"เจี๊ยบ" อาจจะโชคดีกว่าใครหลายๆ คนที่มีโอกาสได้ทำงาน เพราะในความเป็นจริงของผู้พิการทางสายตาที่มีจำนวนกว่า 3 แสนคนทั่วประเทศ ที่แม้จะจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี รวมถึงระดับที่สูงกว่านั้น แต่โอกาสในการเข้าทำงานในองค์กรปกติแทบจะเป็นศูนย์

"ผู้พิการทางสาย ตาส่วนใหญ่ถึงแม้จะจบการศึกษาสูง แต่เขาก็ต้องมานั่งขายลอตเตอรี่ อาชีพของคนตาบอดมีเพียงเท่านั้น ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงหลายๆ คนมีศักยภาพที่จะสามารถทำงานได้มากกว่านั้น แต่ก็ไม่มีโอกาสในการทำงานในองค์กรทั้งภาครัฐและธุรกิจ "ทิพยวรรณ บุรีรัตน์" ผู้อำนวยการสำนักบริหารมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ซึ่งทำงานใกล้ชิดกับ ผู้พิการทางสายตาบอกเล่ากับ "ประชาชาติธุรกิจ" ในระหว่างไปร่วมงานเปิด "ศูนย์ปฏิบัติการ call center" ที่โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จ.เชียงใหม่ อย่างเป็นทางการเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

"เอไอเอส" เปิด call center เพื่อผู้พิการ

โครงการ นี้นับเป็นการต่อยอดและพัฒนารูปแบบของการช่วยเหลือผู้พิการทางสายตา หลังจาก 1-2 ปีที่ผ่านมาเอไอเอสสร้างโอกาสด้านอาชีพให้ผู้พิการ โดยรับเป็นพนักงานของบริษัทกว่า 22 คน โดยไม่เพียงทำงานที่ call center ของบริษัท อีกส่วนหนึ่งยังทำงานที่มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยฯ กรุงเทพฯ ซึ่งมีนัยสำคัญ 2 ประการ ประการแรก การเป็นต้นแบบให้กับผู้มาเยี่ยมเยือนซึ่งจะมองเห็นศักยภาพคนพิการกลุ่มนี้ ขณะเดียวกันยังมีการสร้างความหวังและกำลังใจให้กับผู้พิการที่อยู่ใน โรงเรียนเห็นตัวอย่างและเห็นโอกาสที่รออยู่ปลายทาง

ในวันนั้นคณะผู้ บริหารจากเอไอเอสนำทีมโดย "สมประสงค์ บุญยะชัย" หัวเรือใหญ่แห่ง "เอไอเอส" และ "สุรวัตร ชินวัตร" กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอดวานซ์คอนแท็คเซ็นเตอร์ เดินทางไปร่วมส่งมอบศูนย์ปฏิบัติการ call center ภายใต้โครงการ "เอไอเอสสร้างอาชีพ call center" ซึ่งถือเป็นโมเดลการให้ที่ใหม่ที่สุด โดยมอบศูนย์ให้โรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการและสามารถหารายได้โดยไม่เพียงที่จะ รับงานจาก "เอไอเอส" แต่ยังสามารถรับงานเอาต์ซอร์ซจากบริษัทอื่นๆ ซึ่งจะทำให้ศูนย์สามารถหารายได้ ขยายอาชีพและเติบโตอย่างแข็งแกร่งด้วยตัวเองได้ในระยะยาว โดยเอไอเอสจะเข้าไปดูแลสนับสนุนการลงทุนพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการและอุปกรณ์ใน การทำงานรวมถึงการอบรมให้ความรู้ (know how) ทักษะต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อให้ ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเป็นผู้พิการทางสายตามีความรู้ ความชำนาญ และเข้าใจในวิธีการปฏิบัติงานในวิชาชีพ

"สมประสงค์" กล่าวว่า "โครงการนี้จะสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ที่ดีและมั่นคงกับผู้พิการทางสายตาให้สามารถดูแลตัวเองและ ครอบครัวเพื่อจะดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างยั่งยืน และเรามีความตั้งใจที่จะดำเนินโครงการในลักษณะเช่นเดียวกันอีกต่อเนื่องไป ยังภูมิภาคอื่นๆ พร้อมทั้งจะขยายไปยังกลุ่มผู้พิการหรือด้อยโอกาสในสังคมกลุ่มอื่นๆ อีกด้วย"

ก้าวต่อไปเพื่อผู้พิการ

ผู้ พิการกลุ่มอื่นที่เขาพูดถึง หมายถึงกลุ่มคนหูหนวกที่ขณะนี้เอไอเอส กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาซอฟต์แวร์และทดลองให้ผู้พิการหูหนวกเข้ามาทำงาน ซึ่งหากทำสำเร็จไม่เพียงจะเป็นการสร้างอาชีพให้ ผู้พิการ ขณะเดียวกันถือเป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่ในธุรกิจด้วยการให้บริการผ่านภาษา ภาพ ซึ่งเป็นอีกโครงการในอนาคตที่จะเห็นผลในเร็ววัน

"วิไล เคียงประดู่" ผู้ช่วยกรรมการ ผู้อำนวยการส่วนงานประชาสัมพันธ์ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) เล่าถึงโครงการเกี่ยวกับผู้พิการหูหนวกที่เพิ่งเริ่มดำเนินการว่า "เรากำลังอยู่ในระหว่างการ

ทดลองดำเนินการเริ่มรับพนักงานกลุ่มนี้ เข้ามา โดยมีพนักงานเอไอเอสเป็นพี่เลี้ยง พนักงานเหล่านี้ต้องไปเรียนภาษามือเพื่อที่จะสามารถพูดคุยและอยู่ร่วมกับ น้องๆ ผู้พิการที่เข้ามาทำงาน เพื่อให้เขาไม่รู้สึกแปลกแยก"

การทำ งานร่วมกันระหว่างพนักงานปกติและพนักงานผู้พิการ จึงเป็นอีกมิติหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะไม่เพียงจะเป็นการเรียนรู้และยอมรับในความแตกต่าง ในเวลาเดียวกันยังส่งผลถึงการพัฒนาตนเองของพนักงานในองค์กร และสร้างให้ความรับผิดชอบต่อสังคมเกิดขึ้นจากจิตสำนึกของพนักงาน ไม่เพียงแต่ถูกกำหนดอยู่ในนโยบาย

"แรกๆ เราก็ถูกตั้งคำถามจากพนักงานปกติ ซึ่งเราก็พยายามทำความเข้าใจ แต่ถึงตอนนี้เมื่อเขามีโอกาสอยู่ร่วมกัน ทำงานด้วยกันแล้ว สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติ เพราะผู้พิการทางสายตานอกจากจะสามารถทำงานได้ตามมาตรฐานเดียวกับคนปกติ บางครั้งก็สามารถทำงานได้ดีกว่าด้วยซ้ำ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดๆ ที่เขาทำได้ดี เช่น การขาย คอลลิ่งเมโลดี้ ซึ่งเขาแนะนำอย่างตั้งอกตั้งใจ ร้องเพลงให้ฟังถ้าลูกค้าจำชื่อเพลงไม่ได้ และนั่นทำให้พนักงานในศูนย์บางคนพัฒนาตัวเองมากขึ้นโดยที่เราไม่ได้ไปบอก แต่เขาได้เห็นและเรียนรู้ว่าขนาดคนพิการยังทำงานได้ดี ฉะนั้นเขาก็ต้องปรับปรุงตัวเอง นี่อาจจะเป็นผลทางอ้อมที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ" วิไลกล่าวในที่สุด

ให้ในสิ่งที่เขาต้องการ

ปัญหา อย่างหนึ่งของการให้ หรือการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม ในช่วงที่ผ่านมาภายใต้ธงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) และขององค์กรธุรกิจจำนวนไม่น้อยในวันนี้ นอกจากบางครั้งการให้จะไม่ตกถึงมือผู้รับ การให้ในหลายๆ ครั้งยังไม่ได้เป็นไปตามความต้องการของ "ผู้รับ" อย่างแท้จริง ในประเด็นของการให้ความช่วยเหลือผู้พิการทางสายตา

"ทิพยวรรณ" เล่าให้ฟังว่า "ตอนนี้มีคนและองค์กรเข้ามาช่วยเหลือมูลนิธิจำนวนมาก สิ่งที่เป็นที่นิยมตอนนี้คือการบริจาคกระดาษรีไซเคิลที่นำมาให้นักเรียนผู้ พิการใช้ในการเขียนอักษรเบรลล์ แต่ตอนนี้เข้ามามากจนเราเองก็แทบจะไม่มีที่เก็บ สิ่งที่อยากบอกองค์กรธุรกิจวันนี้โดยเฉพาะธุรกิจที่ทำเรื่อง CSR เราคิดว่าการให้ที่ดีที่สุดที่คนพิการทางสายตาต้องการนั่นคือ โอกาส และเราต้องการให้องค์กรต่างๆ มองเห็นจุดนี้ หลายคนอาจจะกังวลว่าต้องทำสิ่งที่รองรับแต่เราเห็นแล้วว่าที่ผ่านมาผู้พิการ ทางสายตาสามารถทำงานอยู่ร่วมกับคนปกติได้"

ฝันที่เป็นจริง เมื่อเด็กตาบอดขี่ม้า

ความ ต้องการของ "ผู้รับ" จึงเป็นโจทย์สำคัญในทุกๆ ครั้งของการดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กร เช่นเดียวกับการออกแบบกิจกรรมเพื่อสังคมลำดับที่ 7 ภายใต้โครงการไอ-ดรีม (I-dream) กิจกรรมอาสาสมัครเพื่อสังคมของพนักงานธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) ซึ่งพาน้องๆ จากมูลนิธิบ้านเด็กตาบอดและพิการซ้ำซ้อนในกรุงเทพฯ และ จ.ลพบุรีกว่า 32 ชีวิตมาขี่ม้าที่กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ เมื่อไม่นานมานี้ที่เกิดขึ้นจากการสอบถามความต้องการไปยังน้องๆ ที่มูลนิธิ และพบว่ากิจกรรมขี่ม้าเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่เด็กอยากทำมากที่สุด โดยคัดเลือกเด็กที่พอจะสามารถควบคุมตัวเองได้ขึ้นบนหลังม้า ขณะที่เด็กที่มีขีดจำกัดก็ให้มีโอกาสมาดูม้าและมีโอกาสสัมผัสม้าด้วยตัวเอง หลังจากที่ผ่านมาได้เคยไปทำกิจกรรมร่วมกันมาแล้ว อย่างการพาเด็กพิการซ้ำซ้อนจากบ้านเฟื่องฟ้าไปเที่ยวซาฟารีเวิลด์

" เราเริ่มต้นจากการสอบถามไปยังเด็กๆ ว่าเขาต้องการอะไร เราไม่ได้เป็นคนคิดเผื่อเขา แต่เราอยากรู้ว่าเขาต้องการอะไรจริง เพราะโจทย์ในโครงการไอ-ดรีมเราไม่ได้เน้นเรื่องทรัพย์สินเงินทอง แต่เราเน้นการที่พนักงานจะได้มีโอกาสไปสัมผัสเด็ก และมอบความอบอุ่นและสิ่งที่จะทำให้เขาได้ และการที่พนักงานได้มีโอกาสมาดูแลเด็กระหว่างวันที่ทำกิจกรรมเมื่อเขาเห็น รอยยิ้มของเด็กก็จะรู้สึกดีและภาคภูมิใจที่ตัวเองได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งใน การช่วยเหลือสังคม" วิภา หฤษวงค์กูร หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งไอ-ดรีมเล่าให้ฟัง

โครงการไอ-ดรีมเริ่มต้น ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และเป็นกิจกรรมที่จะจัดขึ้นทุกเดือน โดยในเดือนสิงหาคมนี้จะไปร่วมกิจกรรมกับน้องๆ ที่บ้านทานตะวัน โดยจัดงานวัดย่อมๆ เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมที่สนุกสนานโดยงบประมาณทุกบาทในการดำเนิน โครงการเป็นเงินบริจาคที่ได้จากพนักงานของธนาคาร ถึงวันนี้แม้ว่าโครงการจะเริ่มต้นมาได้เพียง 6 เดือน แต่ปัจจุบันพนักงานกว่า 6% จากจำนวน 2,000 คนของธนาคารได้มีโอกาสมาเข้าร่วมกิจกรรมนี้ คาดว่าแนวโน้มจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เกิดการสื่อสารแบบปากต่อปากที่ทำให้เกิดกระแสการทำดีอย่างรวดเร็วในองค์กร

ปลุกจิตอาสาพนักงาน

มา ร์ค เดวาเดสัน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในภาพรวมธนาคารทั่วโลกให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมในเรื่อง "ให้ดวงตา ให้ชีวิต" (Seeing is Beliving) ที่ให้ความสำคัญกับผู้พิการทางสายตา นอกจากนี้ยังรวมถึงประเด็นทางสังคมในเรื่องผู้ติดเชื้อเอชไอวี และสิ่งแวดล้อม

เขากล่าวด้วยว่า แม้กิจกรรมเพื่อสังคมจะมีทั่วโลก แต่โครงการไอ-ดรีมถือเป็นสิ่งพิเศษสำหรับประเทศไทย ที่เกิดจากการที่พนักงานมีส่วนร่วมจริงๆ ในการร่วมเติมความฝันให้เด็กด้อยโอกาสในสังคม และความพิเศษที่พบจากพนักงานในไทยคือทุกคนทำกิจกรรมเพื่อสังคมด้วยหัวใจ จริงๆ โดยไม่ได้มีการบังคับ และในอนาคตจะมีการเผยแพร่บทเรียนจากโครงการไอ-ดรีมให้กับสาขาของธนาคารทั่ว โลกให้สามารถปฏิบัติตามได้

"ทุกวันนี้ธนาคารเปิดโอกาสให้พนักงาน สามารถเป็นอาสาสมัครได้โดยไม่มีวันลาปีละ 2 วัน การที่เรามีพนักงานอยู่ทั่วโลกกว่า 75,000 คน ถ้าทุกคนทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมปีละ 2 ครั้ง เราก็จะมีวันที่ทำดีเพิ่มขึ้นทั่วโลกกว่า 250,000 วัน เฉพาะพนักงานของไทยก็จะมีคนทำดีถึงเกือบ 5,000 วัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก" เขากล่าวในที่สุด

ความเคลื่อนไหวเหล่านี้เป็นหลากมุมมอง หลายมิติในการให้ "โอกาส" กับ "ผู้พิการ" เป็น "โอกาส" ที่มีคุณค่ามากกว่าแค่การให้ "เงิน" !!


ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 11 สิงหาคม 2551

http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01110851&day=2008-08-11&sectionid=0221

วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เด็กไทยธรรมดี ดีลิเวอรี่ธรรมะ สู่รั้วโรงเรียน



กระแส การเรียกร้องของหลายโรงเรียนที่ให้โครงการ "เด็กไทยธรรมดี" กลับเข้าไปจัดกิจกรรมเดินสายบรรยายธรรมใน โรงเรียนอีกครั้ง อาจจะเป็นหนึ่งในปัจจัย ชี้วัดความสำเร็จของโครงการเพื่อสังคมของธนาคารสินเอเซีย

โครงการ ที่ดูเหมือนธรรมดาแต่ไม่ธรรมดา ที่นำเอาธรรมะที่เคยเป็นเรื่องไกลตัวในความรู้สึกเด็กๆ มาทำให้กลายเป็นเรื่องง่าย สนุก เข้าถึงและ "โดนใจ" วัยรุ่น

หลัง จากโครงการได้จัดกิจกรรมเดินสายบรรยายธรรม โดยนิมนต์พระอาจารย์มหาสมปอง ตาลปุตโต และพระนักเทศน์จากโครงการธรรมะดีลิเวอรี่ วัดสร้อยทอง ที่ได้เดินสายบรรยายธรรมให้กับเยาวชนมาแล้ว 7 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี นครราชสีมา เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี สมุทรสาคร ชลบุรี ที่มีเยาวชนเข้าร่วมฟังธรรมจำนวนรวมกว่า 10,000 คน

นอกจากจุดเด่นของ ทีมพระนักเทศน์ชื่อดังที่มีเทคนิคในการย่อยธรรมะให้ง่าย เนื้อหายังได้รับการจัดวางอย่างเหมาะสมโดยแบ่ง 2 หัวข้อ เรื่องหนึ่งมุ่งเน้นไปที่ทักษะชีวิต ความเข้าใจชีวิต ความสุขในชีวิต เกิดมาทำไม อยู่ไปเพื่ออะไร โดยสอนให้รู้จักนำธรรมะไปใช้ในการพัฒนาชีวิต ขณะที่อีกเรื่องหนึ่งคือ เปิดใจใส่ธรรมะ ซึ่งเป็นการทำให้ธรรมะกลายเป็นเรื่องจับต้องได้ และเป็นการสอนให้เห็นมุมมองการดำเนินชีวิตในการพลิกมุมคิดชีวิตก็เปลี่ยน

ใน ระยะเวลาที่เหลือของปี 2551 ธนาคารยังเตรียมที่จะจัดกิจกรรมไปยังอีก 2 จังหวัด คือ ภูเก็ต และนครราชสีมา ซึ่งคาดว่าจะมีเยาวชนเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 3,000 คน

จากทั้ง กระแสเรียกร้องของโรงเรียนและจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ เป็นผลในเชิงรูปธรรมที่พอจะชี้วัดความสำเร็จที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ จากการดำเนินโครงการในระยะเวลาเพียงปีกว่านับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการเมื่อปี 2550

แม้ปัจจัยความสำเร็จที่ปรากฏอาจจะไม่สามารถรับประกันถึงความ สำเร็จและผลกระทบเชิงบวกที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว และสิ่งที่วัดได้ยากอย่างการเป็น "คนดี" กระทั่งการเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพเช่นที่โครงการตั้งไว้ แต่อย่างน้อยโครงการนี้น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของความพยายามในการจุดประกาย ความดี และทำให้ธรรมะใกล้ตัวและจับต้องได้ ส่วนจะยั่งยืนและไปสู่เป้าหมายที่โครงการวางไว้ได้อย่างไรนั้นคงไม่ใช่ เรื่องง่ายและเป็นโจทย์ที่ท้าทายยิ่งในอนาคต

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 4 สิงหาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr04040851&day=2008-08-04&sectionid=0221

กว่าจะเป็น "Red Bull Spirit" เบื้องหลังความสำเร็จปลุก "พลังจิตอาสา"


จำนวน อาสาสมัครที่เข้าไปลงทะเบียนในเว็บไซต์ www.redbullspirit.org ขยับจากหลักสิบสู่หลักร้อยในช่วงเวลาข้ามคืนหลังจากภาพยนตร์โฆษณาชุด "ใจอาสา" ของบริษัท เครื่องดื่มกระทิงแดง จำกัด ที่มีเนื้อหาในการเชิญชวนให้เป็นอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือสังคมในโครงการ เรดบูลสปิริต (Red Bull Spirit) ซึ่งออกอากาศเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทั้งยังเป็นภาพยนตร์โฆษณาที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทั้งในวงและนอกวงของคนทำงานขับเคลื่อนแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR : corporate social responsibility)

ถ้าจะประเมินในสิ่งที่ ปรากฏและวัดได้ นี่อาจจะถือเป็นความสำเร็จในเบื้องต้นที่ "สุขจิต ศรีสุคนธ์" กรรมการที่ปรึกษาซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัท สยามเมนทิส จำกัด บริษัทที่ปรึกษาด้านสื่อสารการตลาด สื่อสารองค์กร และ CSR ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ CSR ของบริษัท เครื่องดื่มกระทิงแดง จำกัด บอกว่า "เป็นความสำเร็จที่ท่วมท้นเหนือความคาดหมาย"

"แม้ว่าตอนทำงานเราคาด ว่าสิ่งที่ทำและสื่อสารออกมากระแสการตอบรับน่าจะดี แต่เราก็ไม่ได้คิดว่าจะดีมากถึงขนาดนี้ มีอาสาสมัครที่มากันเป็นครอบครัว เดินทางไกลมาจากต่างจังหวัด สิ่งที่เราดีใจคือเราเห็นคนพร้อมที่จะช่วยคนอื่น"

จัดระเบียบ CSR

เป็น สิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นได้ในระดับหนึ่งว่า กลยุทธ์ CSR ที่ถูกจัดระบบระเบียบใหม่และหยิบมาสื่อสารนั้นเดินมาถูกทางและเป็นอีกก้าว สำคัญในการพัฒนาโครงการ CSR ของกระทิงแดงซึ่งตกผลึกจากกิจกรรมเพื่อสังคมที่ทำมาตลอดเวลาหลายสิบปีที่ ผ่านมา


บน โจทย์ในการทำให้บริษัทสามารถเดินไปสู่เป้าหมายการอยู่ร่วมกันกับประชาชนได้ เป็นอย่างดี โดยที่ยังมีความเป็นตัวของตัวเองและสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกในสังคมให้ได้ มากที่สุด

"เราเริ่มตีโจทย์ในการพัฒนากลยุทธ์ CSR ของกระทิงแดง ที่ทำงานเพื่อสังคมมานาน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการพยายามหาของจริงที่เขามีอยู่และพยายามเชื่อมโยง ให้เข้มแข็งขึ้น"

จุดแข็งที่พบใน 2 เรื่องที่ถือเป็น "คุณภาพ" ที่พบในองค์กรของ "กระทิงแดง" เรื่องหนึ่งคือ ความรู้จริงในเรื่องการทำงานเพื่อสังคมของผู้บริหารที่เป็นแกนหลักในการขับ เคลื่อนกิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัท อย่าง "สุทธิรัตน์ อยู่วิทยา" เรื่องที่ 2 ความผูกพันกับคนไทยและความเกี่ยวข้องกับสังคมไทยในระดับ ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งกระทิงแดงไม่ได้ปฏิเสธธรรมชาติและมีความประสงค์ในการที่จะยกระดับแบรนด์ จากคนกลุ่มนี้

มองหา Value Exchange

ฉะนั้น กว่าจะเป็นโครงการส่งเสริมใจอาสาสมัคร "เรดบูลสปิริต" (Red Bull Spirit) นั้นเป็นการบ้านที่ในฐานะที่ปรึกษา CSR อย่างสยามเมนทิสและทีมกิจกรรมเพื่อสังคมของกระทิงแดงต้องทำงานร่วมกันเพื่อ จะหาจุดร่วมที่ลงตัวและสร้าง value exchange หรือคุณค่าแลกเปลี่ยนระหว่างองค์กรกับคนในสังคมให้ได้มากที่สุด

"จาก สิ่งที่เราพบบวกกับเจตนาของกระทิงแดงที่เขารู้สึกว่าอยากจะทำอย่างไรให้คนใน สังคมช่วยกันดูแลกันเหมือนกับที่บริษัทพยายามดูแลและช่วยเหลือในสิ่งที่เขา ไปพบ

เจอ เจตนาแรกก็คือทำอย่างไรจะทำให้เกิดการดูแลกันในสังคม"

เชื่อมโยงใจอาสา

จาก เป้าหมายของ CSR ในการสร้างผลกระทบในเชิงบวกให้กับสังคมเพื่ออยู่ร่วมกัน จึงกลายมาเป็นกลยุทธ์ CSR ของกระทิงแดงในปัจจุบัน ในการสร้างการมีส่วนร่วมให้คนในสังคมได้ร่วมกันเป็นอาสาสมัครในการทำสิ่งที่ ดีร่วมกันที่จะสร้างประโยชน์กับสังคม ภายใต้สโลแกน "เชื่อมโยง ใจอาสาเป็นพลังสู่อนาคต"

ชิ้นงานโฆษณาเป็นเพียงปลายทางเพื่อสร้างการ รับรู้ แต่ความน่าสนใจอยู่ที่โครงการมีการวางกระบวนการทำนำเสนอกิจกรรมอาสาสมัคร จัดกระบวนการสำหรับอาสาสมัครในกิจกรรมต่างๆ ที่เปิดรับอาสาสมัครทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระทิงแดง ตั้งแต่พนักงาน ซัพพลายเออร์ ตัวแทนจำหน่าย ไปจนถึงประชาชนทั่วไปได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัคร

ผ่าน กิจกรรมกว่า 9 โครงการ อาทิ ไม่ว่าจะเป็นโครงการวันพิเศษเพื่อคนพิเศษ พี่เลี้ยงอาสาสมัครเพื่อนักกีฬาพิเศษผู้พิการทางสมองและปัญญา โครงการใจสมานใจ กิจกรรมศิลปะและดนตรีเพื่อเยียวยาเด็กและเยาวชนหญิง ร่วมกับโรงเรียนธรรมจารินี โครงการเยาวชนพังงารักษ์ป่าชายเลน ฯลฯ โดยมีการแถลงข่าวเปิดตัวไปตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมาที่สยามสมาคม

และมีเว็บไซต์ www.redbullspirit.org เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงและบริการอาสาสมัคร

" สุขจิต" บอกว่า "จะเห็นว่าแม้จะมีหนังโฆษณาแต่ไอเดียของการทำ CSR คือ คีย์ (key) กลยุทธ์คือ คีย์ เพราะภาษาเราบอกว่าถ้าจะโยนแล้วเด้งมันต้องเด้งตั้งแต่ไอเดีย โดยไม่ต้องรอหนังโฆษณาหรือพรินต์แอด สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงการมาช่วยขยายผล จะเรียกว่าทำแล้วได้ ใช่ โดน มันคือความคิดสร้างสรรค์และแนวทางที่จะไป"

" ในความเป็นจริงเราอาจไม่จำเป็นต้องมีโฆษณาเลยก็ได้ สำคัญว่าเราต้องการพูดกับใคร ถ้าต้องการพูดกับคนทั่วประเทศอย่างที่เราทำโฆษณาก็จำเป็นหน่อย แต่ถ้าเราจะพูดกับคนเฉพาะกลุ่มก็ไม่จำเป็นต้องใช้"

ฉะนั้น สิ่งสำคัญใดๆ ที่จะนำมาสู่ปัจจัยความสำเร็จในการทำโครงการ CSR ในมุมมองของที่ปรึกษา CSR มองว่า "ทุกองค์กรมีความแตกต่างและความเฉพาะตัว ฉะนั้นต้องพิจารณาที่จุดแข็งขององค์กรเป็นตัวตั้ง โดยมีเป้าหมายที่ชัดในการทำงาน ถ้าเราเลือกจุดที่มีประโยชน์อย่างแท้จริงและสร้างผลกระทบในเชิงบวก ความรู้สึกดีๆ ความรับรู้ดีๆ บุญก็จะกลับมาที่แบรนด์และองค์กรเอง"

กรณี ศึกษาของ "กระทิงแดง" จึงเป็นแบบตัวอย่างในการยกระดับ CSR จากกิจกรรมเพื่อสังคมที่มีมายาวนานสู่การพัฒนากลยุทธ์และเลือกเครื่องมือ สื่อสารอย่างลงตัว เมื่อไอเดียและกลยุทธ์ใช่และโดนก็สามารถสร้างแรงกระเพื่อมในสังคมได้อย่าง ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อ !!


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 4 สิงหาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01040851&day=2008-08-04&sectionid=0221

วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ECO Projects บิ๊ก ไอเดีย สร้างวัฒนธรรมสีเขียว




จะว่าไปถ้าพูดถึงโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ ยิ่งถ้าพูดถึงการรณรงค์ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนผ่านกระบวนการ reuse reduce recycle ก็ไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่เช่นกัน เพราะทั้งองค์กรภาครัฐ เอกชน โรงเรียน องค์กรอิสระต่างๆ มีสารพัดโครงการที่ออกมารณรงค์ในเรื่องพวกนี้

แต่เหตุที่ทำให้ "โครงการรักษ์โลก Siam Discovery ECO Projects" ที่มี "ชฎาทิพ จูตระกูล" กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เจ้าของ อาคารสยามดิสคัฟเวอรี่ และสยามเซ็นเตอร์ เป?นต้นคิดและหัวเรี่ยวหัวแรงหลัก ซึ่งประกาศเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมามีความน่าสนใจ

ไม่ เพียงเพราะเบื้องหลังในการทำงานก่อนจะมาเป็นโครงการนี้ที่ใช้เวลาระดม สมองกว่า 9 เดือนจากผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต ตัวแทนจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ฯลฯ หรือเป็นการเปิดตัวกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพร้อมกันครั้งเดียวมากที่สุด 7 โครงการ 7 คอนเซ็ปต์ ที่จะถูกจัดขึ้นใน 3 ศูนย์การค้า สยามดิสคัฟเวอรี่ สยามเซ็นเตอร์ และสยามพารากอน ภายในระยะเวลาครึ่งปีนับจากนี้ (อ่านรายละเอียดในล้อมกรอบ)

แต่ยังอยู่ที่วิธีคิดและกระบวนการทำงานที่ต่างออกไปจากกิจกรรมหรืออีเวนต์อื่นๆ และเป็นความแตกต่างที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจ

อย่าง ที่ "ชฎาทิพ" เล่าให้ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงเบื้องหลังการทำงานครั้งนี้ว่า "เรื่องลดภาวะโลกร้อนทุกคนในกรุงเทพฯก็ทำกัน แต่การทำเราไม่อยากทำอย่างที่คนอื่นทำ ซึ่งเป็นแค่จัดอีเวนต์ ขายกระเป๋าผ้าจบ แต่เรามองว่าศูนย์การค้าเราเป็นพื้นที่สาธารณะ ควรให้ที่ของเราเป็นที่สร้างจิตสำนึกและลงมือช่วยกันอย่างเป็นรูปธรรม จึงตั้งปณิธานตั้งแต่ต้นว่าทำงานจากนี้ 3 ปีโดยจะทำให้เกิดวงจรที่ครบถ้วน มีรูปแบบที่ชัดเจนต่อเนื่อง เกิดผลเป็นรูปธรรมทำให้คนรู้ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยาก"

การเปิดตัว 7 กิจกรรม 7 แนวคิดที่ผ่านมา จึงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของโครงการ

"ชฎาทิพ" เชื่อว่า "เรากำลังจะสร้างสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมใหม่ เหมือนที่ซูเปอร์ในพารากอน กว่าลูกค้าจะเอาถุงผ้ากลับมาใส่ของก็ต้องใช้เวลา เขาเริ่มเข้าใจ ทั้งหมดเป็นเรื่องของจิตสำนึก เพราะเราโตกันมากี่ปีในการที่ใช้ทุกอย่างอย่างฟุ่มเฟือย และการจัดกิจกรรมแค่ 1-2 ครั้งเปลี่ยนไม่ได้เราถึงคิดว่าการจะเปลี่ยนแปลงต้องทำอย่างต่อเนื่อง"

เธอ ค่อยอธิบายพร้อมกับค่อยวาดโมเดลวงจรของการสร้างกิจกรรมที่มีส่วนร่วมระหว่าง ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) ทุกกลุ่ม ตั้งแต่นักศึกษา ลูกค้า ร้านค้า ศูนย์การค้า พันธมิตร กระทั่งสังคมในชนบท

"วงจรที่ว่าก็คือ เราเป็นศูนย์การค้าอันนี้ประกอบด้วย 3 อัน มีสยามดิสคัฟเวอรี่ สยามเซ็นเตอร์ และสยามพารากอน คนแวดล้อมเราก็ประกอบด้วยร้านค้าในสยามเซ็นเตอร์ 350 ร้าน สยามดิสคัฟเวอรี่ 200 ร้าน สยามพารากอน 300 ร้าน ลูกค้าที่เข้ามามีทุกเพศทุกวัย ประมาณ 3.3 แสนคนต่อวัน ถามว่าเราจะจับวงจรทั้งหมดให้ต่อเนื่องกันมาทำได้อย่างไร สิ่งที่เราทำ ทุกคนไม่ว่าจะเป็นลูกค้าหรือร้านค้าสามารถเอาวัสดุเหลือใช้มาบริจาคที่เรา จากนั้นเราเป็นศูนย์ของการเรียนรู้ว่าวัสดุแต่ละคนมา บริจาคเอามาทำอะไรได้บ้าง มีวัตถุประสงค์ 2-3 อย่าง เพราะการ reuse reduce recycle ต้องทำอย่างมีหลักการ 1.เรียนรู้สิ่งที่ถูกต้อง 2.ทดแทนอะไรได้บ้าง ช่วยประหยัด รักษาทรัพยากรอย่างไร ประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างไร พอสร้างออกมาได้แล้ว 3.จะมาลงมือช่วยกันทำให้มันเกิดขึ้นเป็นจริงได้อย่างไร ฉะนั้นเราจะเป็นแหล่งการเรียนรู้ เพื่อร่วมลงมือร่วมกันทำให้สำเร็จได้"

นับ ตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไป จะเห็นกล่องตั้งเพื่อรับบริจาคของมากมายในศูนย์การค้า ไม่ว่าจะกล่องรับบริจาคกระดาษ ยีน วัสดุอุปกรณ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ฯลฯเพื่อนำไปสร�างสรรค์ผลงานศิลปะแขนงต่างๆ

"กลุ่มลูกค้าของเรา เรามีตั้งแต่นักศึกษา คนทำงานรุ่นใหม่ ครอบครัว แต่ไม่ว่าอายุเท่าไหร่ลูกค้าของสยาม เป็นคนชอบความแปลกใหม่ มีสไตล์ของตัวเองและชอบการเรียนรู้ ลูกค้าสยามไม่ใช่ลูกค้าล้าหลัง เพราะฉะนั้นเรารู้ลูกค้าเราเป็นแบบนี้ จะมีเงินเท่าไหร่ ใช้จ่ายมากน้อย แต่รวมๆ มีหัวคิดสมัยใหม่ ฉะนั้นสิ่งที่เราจะทำให้เขารักษ์โลกต้องทำในทิศทางนั้น สยามเองการให้ลูกค้าเข้ามาร่วมเรามีกิจกรรมที่สนับสนุนการส่งเสริมความ สามารถอยู่แล้ว อันนี้เป็นที่มาของคีย์เวิร์ดในการคิดกิจกรรม"

หากดู เบื้องหลังวิธีคิดจะเห็นได้ว่า โครงการนี้ถูกพัฒนาจากการวิเคราะห์ "จุดแข็ง" ขององค์กร คือ การเป็นพื้นที่สาธารณะ บวกกับการวิเคราะห์ "ลูกค้า" ซึ่งเป็นคนหัวคิดทันสมัย กิจกรรมจะ "โดนใจ" ลูกค้าและสร้างการมีส่วนร่วมได้จึงต้องมีจุดที่ลงตัว

"ที่สำคัญไม่ เพียงการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ แต่สิ่งเหล่านี้ยังสร้างคุณค่าทางจิตใจ เหมือนว่าเรามาช่วยกันทำอะไรที่มันเห็นว่าเป็นการระดมทรัพยากร ระดม ความคิด พอคนเริ่มมาลองทำก็จะเข้าใจ คนก็ต้องพูดกัน สนุกด้วย

" ประเทศไทยตอนนี้เป็นอะไรที่ต้องสูดหายใจลึกๆ แล้วบอกว่ามาช่วยกันทำอะไรหน่อยดีมั้ย ตอนนี้ทำอะไรก็ตามที่มีคุณค่าทางจิตใจ sentimental value อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ นี่มันไม่ใช่แค่ทฤษฎี แต่คุณค่าที่ได้จากเรื่องพวกนี้ ทุกๆ ครั้งที่ทำที่ถือถึงมาหย่อนของลงกล่องจะยิ่งรู้สึกดีขึ้น เรื่อยๆ"

เป็นความรู้สึกค่อยๆ ดีขึ้น พร้อมๆ ไปกับการปลูกจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยไม่รู้ตัว !!

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 28 กรกฎาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03280751&day=2008-07-28&sectionid=0221

"รักน้ำ" Branding CSR ต่อยอด 4 เสาหลัก CSR "โค้ก"




ใน ที่สุด กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย ก็ตัดสินใจที่จะเปิดแถลงข่าว "กลยุทธ์ CSR" ของบริษัทที่อิงแนวทางความรับผิดชอบของ "โคคา-โคลา" ทั่วโลก เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนหลังจากที่ผ่านมา ค่าย "เป๊ปซี่" ได้ชิงเปิดตัวไปก่อนหน้า

แม้ "พรวุฒิ สารสิน" รองประธานกรรมการ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด และรองประธานมูลนิธิโคลา-โคลา จะบอกในการแถลงข่าวว่า "ไม่มีเหตุผลอะไรของการเปิดตัวมูลนิธิโคคา-โคคา ประเทศไทย และโครงการรักน้ำ ที่โค้กดำเนินการอยู่ นอกจากมีคนไถ่ถามเข้ามามากว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ เราก็เพียงบอกเล่า"

การ แถลงข่าวครั้งนี้นอกจากสะท้อนให้เห็นวิธีคิดและการพัฒนากลยุทธ์ความรับผิด ชอบของ "โค้ก" ซึ่งต่อยอดจากโจทย์ของ "โคคา-โคลา" ทั่วโลก เมื่อ 4-5 ปีก่อนที่ประกาศนโยบายชัดเจนถึงการหันมาให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งมีการทำศึกษาวิจัยและพบว่า เรื่อง "น้ำ" เป็นประเด็นที่เหมาะสมที่สุดเมื่อต้องทำ CSR

ด้วยความที่ "โคคา-โคลา" อยู่ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและใช้น้ำเป็นวัตถุดิบหลัก เรื่องน้ำจึงเป็นประเด็นที่ถูกมองว่าสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ขณะเดียวกันก็ถือเป็นความสามารถหลักในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม

" พรวุฒิ" กล่าวว่า "กลยุทธ์ CSR ใน วันนี้ของเราครอบคลุม 4 ด้านในธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ทำงาน กิจกรรมทางการตลาด สิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อชุมชน นี่คือ 4 เสาหลักทั้งระบบของความรับผิดชอบที่เรามุ่งมั่น"

ทุ่ม 100 ล้านเปิดตัว "รักน้ำ"

นัย สำคัญของความเคลื่อนไหวครั้งนี้ยังอยู่ที่การประกาศทุ่มงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท ที่จะใช้ในโครงการ "รักน้ำ" ที่มีหัวใจสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์และบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ำให้เกิดความยั่งยืน โดยตั้งเป้าหมายในการเข้าถึงประชาชนกว่า 2.5 ล้านคน ผ่านการทำงานทั้งที่ผสานอยู่ในกระบวนการดำเนินธุรกิจ และการทำโครงการกับชุมชนและสังคมผ่านช่องทางของมูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย ที่เกิดขึ้นจากการลงขันของ 3 บริษัท ได้แก่ โคคา-โคลา ประเทศไทย บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด และบริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) ที่ก่อตั้งขึ้นมา ตั้งแต่ปี 2546

งบประมาณก้อนใหญ่จะถูกจัดสรรสู่การทำกิจกรรม 4 ด้าน ด้านแรกเป็นกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นภายในกระบวนการธุรกิจ ในการรักษาและพัฒนาประสิทธิภาพของโรงงานผลิตให้มีความเป็นเลิศในการจัดการ น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาคุณภาพน้ำและบำบัดน้ำเสียได้ดีที่สุด

พร วุฒิกล่าวว่า "เริ่มจากในบ้านเราเองที่มีการพัฒนาและดูแลประสิทธิภาพมาตลอด เพราะกว่าจะได้เครื่องดื่ม 1 ส่วน เราต้องใช้น้ำถึง 3 ส่วนในการผลิต เราถึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ปีที่ผ่านมาเราได้รับการยกย่องจากกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นแบบอย่างการบำบัดน้ำเสียที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง ขณะเดียวกันเราต้องการปลูกฝังวิธีคิดแบบนี้ให้ขยายออกไปในสังคม"

ต่อยอดสู่ชุมชน

ภายใต้โครงการ "รักน้ำ" ในอีก 3 ด้านที่เหลือ มุ่งส่งเสริมแนวคิดอนุรักษ์และการบริหารจัดการน้ำในชุมชน

ด้าน ที่ 2 การอนุรักษ์แหล่งน้ำ ซึ่งสนับสนุนการอนุรักษ์น้ำในภูมิภาคต่างๆ โดยทำงานร่วมกับพันธมิตร เช่น โครงการชุมชนเรียนรู้และอยู่ดีมีสุข โครงการฟื้นฟูระบบนิเวศลุ่มน้ำชี ฯลฯ ด้านที่ 3 การสนับสนุนความคิดริเริ่มและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดหาแหล่งน้ำชุมชน เช่น โครงการสระแก้มลิง โครงการจัดหาน้ำสะอาดเพื่อชุมชน โครงการน้ำทิพย์ปันน้ำใจให้กาชาด ฯลฯ และด้านที่ 4 การปลูกฝังจิตสำนึก ให้การศึกษาและปรับพฤติกรรมเพื่อการอนุรักษ์น้ำ โดยเน้นที่การอนุรักษ์และจัดการน้ำในชุมชน เช่น การประกวดการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนว พระราชดำริฯ โครงการพี่นำน้องรักษ์น้ำตามแนวพระราชดำริ โครงการโคคา-โคลา ยุวชลกร ฯลฯ

มอง เผินๆ ความน่าสนใจ อาจอยู่ที่เพียงงบประมาณจำนวนมากที่ใส่ลงไป แต่หากมองถึงวิธีคิดในการทำงานแล้วจะเห็นว่า "รักน้ำ" ถือเป็นการส่งสัญญาณจุดเริ่มต้นในการยกระดับและจัดระเบียบระบบเพื่อทำให้ CSR มีความแข็งแกร่งขึ้น ภายใต้วิธีคิดในการทำงาน CSR 3 ด้าน

1. พัฒนากิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีอยู่ให้ดีขึ้น (step up) 2.ลงมือทำกิจกรรมให้มากขึ้น (scale up) และ 3.สื่อสารข้อมูลกิจกรรมให้มากขึ้น (speak up)

"ฐิติภา ลักษณพิสุทธิ์" ผู้จัดการฝ่ายสร้างสรรค์สังคม บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า "โครงการรักน้ำเป็นเหมือนการจัดระบบ ปรับโฟกัสในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้เราเห็นบางสิ่งหรือการทำงานบางด้านที่ยังขาด และหลายโครงการก็เกิดขึ้นหลังจากที่เราเริ่มโครงการเมื่อปีที่ผ่านมา มีการเพิ่มกิจกรรมบางด้านเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เช่น โครงการยุวชลกร เราเน้นในเชิงปริมาณที่มุ่งผลิตเยาวชนที่มีความรู้ด้านการอนุรักษ์น้ำปีละ 10,000 คน โครงการพี่นำน้องรักษ์ฯที่ทำในเชิงลึกขึ้น โดยอบรมเยาวชนให้ทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 400 คน ฯลฯ รักน้ำยังเป็นการตอบโจทย์ของการแบรนดิ้ง ซีเอสอาร์ ที่เราทำเพื่อที่จะสื่อสาร CSR ออกไปมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพันธมิตรที่ร่วมทำงาน รวมไปถึงการสร้างความผูกพันระหว่างคนในสังคมกับเรา"

แม้โครงการนี้จะ ไม่ได้มีเป้าหมายอยู่ที่การเสริมความแข็งแกร่งของแบรนด์ "โคคา-โคลา" ในไทย แต่นี่ย่อมเป็นสิ่งที่คาดหวังอยู่ลึกๆ ว่าในระยะยาวจะส่งผลทางอ้อมให้แบรนด์แข็งแกร่งขึ้น อย่างที่ พรวุฒิ บอกว่า "ผลที่จะเกิดกับแบรนด์จากการที่เราทำ CSR ผมว่ามันดูลำบาก ฉะนั้นเป้าหมายปลายทางเราไม่ได้ทำเพื่อโปรโมต แบรนด์ เพราะในส่วนของแบรนด์เราก็มีกิจกรรมที่กระตุ้นยอดขายเป็นกิจกรรมทางการตลาด อยู่แล้ว แต่เราทำเพราะเป็นจิตสำนึกที่เราทำได้และหวังว่าจะได้รับผล กลับมาในเชิงบวก เมื่อผู้บริโภคได้มีโอกาสสัมผัส และรู้ว่าเราคิดอะไร เราก็หวังว่าในระยะยาว เขาจะมาสนับสนุนสินค้าเราและมองเราเป็นบวกมากขึ้น ผลก็กลับมาเองในทางอ้อม"

นี่คือเหตุและผลของที่มาในการขยับก้าวครั้งสำคัญของ "โค้ก" บนเส้นทางความรับผิดชอบที่ต้องติดตามในระดับห้ามกะพริบตานับจากนี้ !!

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาธุรกิจ วันที่ 21 กรกฏาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01210751&day=2008-07-21&sectionid=0221

ผนวกกิจกรรมเชิงธุรกิจมาร่วมสร้างสรรค์สังคม

โดย จารุรัตน์ ชัยยศบูรณะ บริษัท เบเยอร์ จำกัด

ตลอด หลายปีที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐ บริษัท เอกชนต่างๆ ได้ตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิรอบๆ ตัวเราที่สูงขึ้น อากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเกิดภัยพิบัติต่างๆ มลพิษทางอากาศ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการที่เราทั้งหลายละเลยไม่เอาใจใส่และไม่เห็นความสำคัญ ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเท่าที่ควร จากผลที่เกิดและมีแนวโน้มที่จะขยายตัวขึ้น หลายฝ่ายจึงร่วมกันหาแนวทางแก้ไขโครงการที่เป็นประโยชน์กับสังคม สิ่งแวดล้อม ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่างเกิดขึ้นมากมายในหลากหลายรูปแบบ แต่ทั้งหมดมีจุดมุ่งหมายคล้ายคลึงกัน คือ การทำประโยชน์ให้กับสังคม และส่งเสริมให้มีวิถีชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

การแสดงความรับผิดชอบ ต่อสังคมมีรูปแบบที่หลากหลาย นักวิชาการต่างๆ จึงมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาองค์กรในแง่มุมต่างๆ อย่างเช่น พอร์เตอร์ และ แครมเมอร์ ได้เสนอแนวทางการพิจารณาองค์กรจากภายในออกสู่ภายนอก (looking inside out) ว่าองค์กรหนึ่งๆ ได้ผนวกส่วนใดของธุรกิจกับ CSR ไปแล้วบ้าง เพื่อที่จะได้มองเห็นจุดที่ยังขาดไปในทุกส่วนของการดำเนินธุรกิจ อันได้แก่ การพิจารณาปัจจัยต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็นกิจกรรมทางธุรกิจหลัก (primary activities) และกิจกรรมสนับสนุนธุรกิจในแง่ต่างๆ (support activities) ซึ่งกิจกรรมหลักมีตั้งแต่การจัดการขนส่งวัตถุดิบเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานผลิต การผลิต ไปจนถึงขั้นตอนการรับใบสั่งซื้อ การโฆษณา การขาย การตลาด การประชาสัมพันธ์ จนไปถึงบริการหลังการขาย อีกส่วนที่สนับสนุนได้แก่ การวางระบบและขั้นตอนในการทำงานต่างๆของบริษัท การจัดการบริหารงานด้านบุคคล การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี การจัดซื้อจัดหาปัจจัยการผลิตต่างๆ

บริษัท เบเยอร์ จำกัด ผู้ผลิตสีงานไม้และสีทาอาคาร การดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องของ CSR ได้ถูกดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากความสำนึกในคุณค่าของธรรมชาติ รวมทั้งความตั้งใจจริงของคณะผู้บริหารที่ให้ความสำคัญและใส่ใจกับปัญหาดัง กล่าว โดยได้ผนวก CSR ให้เป็นหนึ่งในนโยบายหลักของบริษัทที่มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับ ความรับผิดชอบต่อสังคม

เมื่อพิจารณาเทียบกับทฤษฎีของพอร์เตอร์ และ แครมเมอร์ข้างต้นแล้ว พบว่ามีการผนวก CSR เข้ากับกิจกรรมสนับสนุนธุรกิจในส่วนของการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีของ ผลิตภัณฑ์ อาทิ โครงการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ สีเบเยอร์คูล สีกันความร้อนรายแรกของเมืองไทยที่ได้พัฒนาจากผลงานวิจัยในโครงการอวกาศนา ซ่า ประเทศสหรัฐอเมริกา มาเป็นส่วนผสมหลักร่วมกับผงสีคุณภาพเยี่ยม ทำให้มีความสามารถในการสะท้อนความร้อนได้กว่า 90% ช่วยประหยัดพลังงาน มีส่วนในการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานต่างๆ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดโลกร้อน หรือสีงานไม้สูตรน้ำที่มีกลิ่นอ่อน ปลอดจากสารระเหยที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและ สิ่งแวดล้อม โดยพัฒนาร่วมกับบริษัทที่เป็นผู้นำเคมีระดับโลก

ผลิตภัณฑ์ทั้งคู่ เป็นต้นแบบในการพัฒนาคุณภาพและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งลดการทำลายสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังจัด งบประมาณบางส่วนเพื่อใช้สำหรับกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ ผ่านโครงการค่ายอาสาพัฒนาชนบทของกลุ่มหนุ่ม-สาวชาวรั้วมหาวิทยาลัย ที่สร้างสรรค์งานค่ายดีๆ เพื่อผู้ขาดแคลนอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างโรงเรียนให้กับเด็กๆ ในชุมชนที่ห่างไกลและชุมชนเมืองที่ยังขาดแคลน รวมถึงการร่วมมือด้าน CSR กับพันธมิตรทางธุรกิจในการพัฒนาสังคมไทย อย่างยั่งยืนในหลายๆ ด้านรวมไปถึงการลดภาวะโลกร้อนและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

การ ดำเนินธุรกิจไม่เพียงแต่มุ่งแสวงหากำไรเพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องรู้จักแบ่งปันคืนให้กับสังคมบ้าง และต้องทำอย่างเป็นรูปธรรม โครงการต่างๆ นั้นต้องทำอย่างจริงจัง และผู้นำต้องให้ความสำคัญในการผลักดันไปพร้อมๆ กับการดำเนินธุรกิจหลักของบริษัท รวมทั้งพนักงานทุกคนต้องเข้าใจและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอย่างเต็มใจ สำหรับเบเยอร์เรามีปณิธานในการมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรม เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ของมวลมนุษยชาติ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้อยู่กับเราต่อไปตราบนานเท่านาน


ที่มา หนังสือพิมพ์ประช่ชาติธุรกิจ วันที่ 21 กรกฎาคม2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02210751&day=2008-07-21&sectionid=0221

CSR บันไดสู่ปลายทาง "องค์กรแห่งความสุข"



ถ้า ลองสแกนดูหน่วยงานที่ถูกมอบหมายงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) ขององค์กรธุรกิจไทยวันนี้ ส่วนหนึ่งมีฝ่ายสื่อสารองค์กรหรือฝ่ายประชาสัมพันธ์เป็นผู้ดูแล ส่วนหนึ่งมีฝ่าย CSR ที่ถูกตั้งขึ้นมาเฉพาะเพื่อการขับเคลื่อนเรื่องนี้ และจำนวนไม่น้อยที่องค์กรมอบหมายงาน CSR ให้ไปอยู่ในความดูแลของฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HR)

เหตุที่ HR กำลังเข้ามามีบทบาทนำในการขับเคลื่อน CSR ในองค์กร เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า "พนักงาน" ถือเป็นหนึ่งในผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) สำคัญกลุ่มหนึ่งที่บริษัทต้องใส่ใจและรับผิดชอบ พอๆ กับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า ชุมชนและสังคมในวงกว้าง

"CSR เป็นมากกว่ากิจกรรมเอื้ออาทร ที่ผ่านมาองค์กรมักจะมองความรับผิดชอบต่อสังคมภายนอก โดยลืมที่จะมองผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียภายในโดยเฉพาะพนักงาน แต่วันนี้เราพบว่าเริ่มมีสัญญาณบางอย่างในไทยที่สะท้อนให้เห็นว่าองค์กร กำลังให้ความสำคัญต่อความรับผิดชอบต่อพนักงานมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความมั่นคงทางการเงิน ความสบายอกสบายใจในการอยู่ในองค์กร และนี่อาจจะเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจในไทยเริ่มมีความเข้าใจ เรื่อง CSR มากขึ้น" ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ไกรสรสุธาสินี นักวิชาการด้าน CSR จากคณะพาณิชย ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉายภาพสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้

พนักงานกับความรับผิดชอบพื้นฐาน

ใน หลายองค์กรบรรจุเรื่องความรับผิดชอบด้านสถานที่ทำงาน อยู่ในกลยุทธ์ของความรับผิดชอบ เช่น บริษัทกลุ�มธุรกิจ โคคา-โคลาในประเทศไทย ที่ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานตั้งแต่เรื่องพื้นฐานตามกฎหมาย ไปจนกระทั่งระดับขั้นที่สูงกว่า เช่น การส่งเสริมการพัฒนาตัวเองของพนักงาน ฯลฯ และนั่นเป็นการแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบที่องค์กรมีต่อพนักงาน ซึ่งเป็นมุมมองแรกที่ CSR เข้ามาเกี่ยวข้องกับพนักงาน

ถ้าจะตีความ จากมาตรฐาน ISO 26000 ที่ว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น เป็นประเด็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ โฟกัสให้เห็นประเด็นนี้ว่า ใน ISO 26000 จะเห็นชัดเจนว่าการปฏิบัติต่อแรงงาน (labour practice) ถือเป็นหนึ่งในหมวดที่มาตรฐานนี้ให้ความสำคัญ และเป็นมุมมองที่ละเอียดอ่อนมาก โดยมองว่าองค์กรจำเป็นต้องรับผิดชอบตั้งแต่เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ความเท่าเทียม การไม่กีดกันด้วยสีผิว ความพิการ ไปจนกระทั่งการสนับสนุนไม่ให้มีการปิดกั้นการรวมกลุ่มของพนักงานเพื่อพูดคุย กับนายจ้าง ซึ่งเป็นการเปิดช่องทางให้คนเล็กคนน้อยในองค์กรจะได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น

ขณะที่ในอีกมุมหนึ่ง CSR กลายเป็นตัวช่วยในการสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานและนำไปสู่การสร้าง องค์กรแห่งความสุขเมื่อพวกเขาได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัท บทพิสูจน์ของ "ธนาคารไทยพาณิชย์" ที่เพิ่งได้รับการยกย่องจาก The Gallop บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยชั้นนำของโลก ให้เป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจธนาคารของโลกที่เป็นสถานที่ทำงานยอดเยี่ยม "The Gallop Great Workplace Award 2008" นั้น ชัดเจนว่า CSR ได้เข้ามาเป็นตัวช่วยในการสร้างความสุขให้กับพนักงานในองค์กรนอกเหนือจากงาน ที่ทำ

CSR ตัวช่วยสู่ "องค์กรแห่งความสุข"

"องค์อร อาภากร ณ อยุธยา" ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริหารงานสื่อสารองค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เล่าว่า "เมื่อก่อน CSR เป็นเรื่องของคนกลุ่มเดียว แต่ในช่วง 2 ปีมานี้การพยายามใส่เรื่องเหล่านี้ไปให้พนักงาน โดยเปิดโอกาสให้เขาเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เราทำ เป็นการสร้างความสุขนอกเหนือจากการทำงานซึ่งเป็นการเสริมในฝั่งบุ๋น ในขณะที่ฝั่งบู๊เราก็ทำควบคู่ไปด้วยกันในเรื่องพื้นฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสวัสดิการ สถานที่ทำงาน วิธีการทำงาน การเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน การให้รางวัล และผลตอบแทน อย่างน้อยเรื่องพวกนี้ก็ต้องให้อยู่ในมาตรฐานของตลาด เพราะเราเชื่อว่าคนเราจะมีความสุขได้ ต้องอยู่ได้ด้วยความไม่เดือดร้อนก่อน อย่างน้อยรางวัลที่เราได้ก็สะท้อนว่าสิ่งที่เราทำตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมานั้นเดินมาถูกทาง"

ความพึงพอใจของพนักงานจากการวัดของ Gallop พบว่าคะแนนความพึงพอใจที่พนักงานมีต่อองค์กรนั้นสูงถึง 4.54 และมีพนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในการตอบแบบสำรวจกว่า 90% ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานโลกที่มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.45 ความท้าทายนับจากนี้คือการรักษามาตรฐาน "องค์กรแห่งความสุข" และรักษาความพึงพอใจของพนักงานที่มีในปัจจุบันให้คงอยู่ ไม่เพียงที่กิจกรรม CSR ซึ่งจะเริ่มดำเนินการอย่าง "ชวนกันทำดี" ซึ่งเป็นเมนูการทำดีที่ให้พนักงานได้เข้ามามีส่วนร่วมและได้ทำกิจกรรมร่วม กันมากขึ้น ผ่านการสร้างโครงการ 4 แขนง อาทิ จิตอาสาเพื่อหาอาสาสมัครในการไปสอนหนังสือเด็ก กิจกรรมด้านธรรมชาติ การสร้างฝายซึ่งเข้าไปร่วมกับเครือซิเมนต์ไทย ปลูกป่า การบริจาคโลหิต เป็นต้น ที่ธนาคารกำลังจะทำ

SCB Space เครือข่ายสังคมออนไลน์/

ก่อนหน้านี้ไม่นานนักธนาคารเปิดตัว SCB Space ซึ่งการสร้างเครือข่ายทางสังคมบนออนไลน์ให้กับพนักงานของธนาคาร

" การมีชุมชนตรงนี้ทำให้แต่ละคนได้มีโอกาสเรียนรู้แง่มุมและอีกด้านหนึ่งที่ เราอาจจะไม่เคยเห็นของหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน เพื่อนที่อยู่ต่างแผนก บางทีก็มีการโพสต์งานอดิเรก ที่แต่ละคนทำ ซึ่งได้ผลมาก อย่างน้อยก็มีบทสนทนาระหว่างกันมากขึ้นเมื่อเจอหน้ากัน หรือบางคนเราอาจไม่เคยมองเห็นมุมอื่นๆ ของเขามาก่อน ก็ทำให้บรรยากาศในที่ทำงานดียิ่งขึ้นและได้รับการตอบรับที่ดี"

องค์ อรยกตัวอย่างกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นบนเครือข่าย SCB Space "เมื่อเร็วๆ นี้เราได้รับโทรศัพท์ว่าต้องการหาอาสาสมัครไปร่วมระดมทุนรับเงินบริจาค เวลาค่อนข้างจำกัดและไม่คิดว่าจะหาได้ พอเราโพสต์ไปในสเปซไม่นานมีอาสาสมัครเข้ามาทันที 80 คน เราหวังว่าบรรยากาศแบบนี้จะเกิดมากขึ้นอีกในองค์กร"

บรรยากาศที่จะ ยิ่งสร้างความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อองค์กร ซึ่งในท้ายที่สุดจะย้อนกลับไปสู่การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้ามากขึ้นใน ที่สุด และนี่เป็นผลของความรับผิดชอบที่สุดท้ายผลจะย้อนกลับมาสู่องค์กร

" ในหลายองค์กร CSR ได้พัฒนาจนสร้างจุดแข็งและส่งผลต่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในแง่ของการบริ การ" ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์กล่าวโดยยกตัวอย่างกรณีศึกษา "เจ็ท บูล" โลว์คอสต์แอร์ไลน์ในสหรัฐอเมริกาว่า "องค์กรนี้ให้ความสำคัญกับพนักงานมากถึงขนาดว่าสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล ในโรงพยาบาลที่บริษัทจัดให้มี 98% พอใจ เหลือเพียง 2% ที่ไม่พึงพอใจ แต่บริษัทก็ไม่ได้ละเลยและขยายจำนวนโรงพยาบาลเพื่อให้พนักงานนั้นพึงพอใจกับ สวัสดิการที่บริษัทจัดให้ทั้ง 100% นี่เป็นตัวอย่างเล็กๆ ที่กลายเป็นจุดแข็งของบริษัทซึ่งส่งผลต่อการบริการที่ดีขึ้น และสามารถสร้างความพึงพอใจอย่างสูงสุดกับผู้บริโภค"

เหล่านี้จึงเป็นบทเรียนที่พิสูจน์ว่า CSR เป็นตัวช่วยองค์กรไปสู่บันไดอีกขั้นในการสร้าง "องค์กรแห่งความสุข"


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 14 กรกฎาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01140751&day=2008-07-14&sectionid=0221

ไขคำตอบ "ซิตี้ กรุ๊ป" !! เหตุใดปลดคน แต่ไม่ลดงบฯ CSR


หลาย คนเชื่อว่า งบฯที่ใช้ทำ ซีเอสอาร์จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลกำไรของธุรกิจ แต่สำหรับซิตี้ กรุ๊ป สถาบันการเงินรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกาไม่ได้คิดเช่นนั้นเพราะในขณะที่บริษัท ประสบปัญหาขาดทุนจากวิกฤตซับไพรมจนต้องปลดพนักงานทั่วโลกไปแล้วอย่างน้อย 9 พันคนนับถึงสิ้นเดือนมีนาคมและมีแผนจะปลดอีกหลายประเทศ แต่การทำกิจกรรมเพื่อสังคมก็ยังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องภายใต้การดำเนินงาน ของมูลนิธิซิตี้ ประเทศสหรัฐอเมริกา อาจจะอย่างที่ ปีเตอร์ บี อีเลียต ผู้จัดการใหญ่ธนาคารซิตี้แบงก์ บอก

"เพราะซีเอสอาร์เป็นวัฒธรรมองค์ กรของซิตี้ ถึงในบางประเทศจะมีการปลดคนแต่ก็ไม่ได้ลดเงินสำหรับการทำกิจกรรมเพื่อสังคม เพราะงบฯจะขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ของโครงการที่เสนอไปให้กับทางมูลนิธิ ซึ่งเขาจะต้องมั่นใจจริงๆ ว่าโครงการจะประสบความสำเร็จและมีความต่อเนื่องจึงจะให้ทุนมา มูลนิธิจะไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและเป็นแผนกเฉพาะที่เป็นตัวกลางในการทำ เพื่อสังคม ทุกปีเงินที่ได้จากมูลนิธิมีแต่จะเพิ่มเพราะโครงการเดินหน้าแล้วหยุด ไม่ได้"

สำหรับประเทศไทยเงินจากมูลนิธิซิตี้หลั่งไหลเข้ามาเพื่อทำ กิจกรรมเพื่อสังคมใน 5 ด้านเช่นเดียวกับทั่วโลก ได้แก่ การช่วยเหลือด้านการเงินและผู้ประกอบการระดับรากหญ้า การช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจที่กำลังเติบโต ด้านการศึกษา การให้ความรู้ทางการเงิน และด้านสิ่งแวดล้อม โครงการล่าสุดในฐานะที่ซิตี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจึงร่วมพันธมิตรผู้ มีประสบการณ์ในด้านเอสเอ็มอีนับทศวรรษอย่างสถาบันคีนันแห่งเอเซีย จัดโครงการเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการเงินให้กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็ม อีของไทยให้เข้าอบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเมื่อกลางเดือนสิงหาคมนี้ ที่โรงแรมแกรนด์เมอร์เคียว

"การให้ความรู้ด้านการเงินเป็นส่วนหนึ่ง ของเป้าหมายหลักขององค์กร การที่เราทำคอร์สเอสเอ็มอีเพราะคิดว่าเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญมากต่อ ประเทศ แม้กระทั่งบริษัทไมโครซอฟท์ของบิลเกตส์ที่ใหญ่โตทุกวันนี้ก็เริ่มมาจากเอส เอ็มอี เป้าหมายของเราคือจะทำให้ผู้เข้าอบรมเป็นกูรูให้ได้ภายใน 4 วัน วันนี้ซิตี้แบงก์มีสาขาอยู่ทั่วโลกกว่า 105 แห่ง เราสามารถนำประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จในเรื่องเอสเอ็มอีที่มีอยู่มาถ่าย ทอดได้และในประเทศไทยเรามีพนักงานที่ดูเรื่องเอสเอ็มอีมาเป็นวิทยากร นับเป็นการควบรวมความรู้ในระดับโลกและระดับประเทศมาถ่ายทอดให้กับผู้เข้า อบรม ไม่แน่อาจจะมีคนอย่างบิลเกตส์เกิดขึ้นก็ได้" ปีเตอร์ บอก

วัตถุ ประสงค์หลักประการหนึ่งของซิตี้ที่ย้ำหนักแน่นคือผู้เข้าอบรมจะไม่มุ่งไปที่ ลูกค้า เห็นได้จากการให้สถาบันคีนันแห่ง เอเซียเข้ามาช่วยพัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจเอสเอ็มอีโดยตรงและเป็น ผู้คัดกรองผู้เข้าอบรม โดยวิทยากรจะมีทั้งอาจารย์และผู้มีประสบการณ์จริงในธุรกิจต่างๆ มาให้ความรู้ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของพนักงาน ในการเป?นวิทยากร

"ในเดือนพฤจิกายนของทุกปีจะมีวัน โกลบอลคอมมิวนิตี้เดย์ พนักงานทั่วโลกจะทำกิจกรรมเพื่อสังคมในวันนั้น เพราะสิ่งที่สำคัญในการทำซีเอสอาร์ของเราคือได้ความมีส่วนร่วมของพนักงาน ไม่ใช่ทำตาม ผู้บริหารสั่งอย่างเดียว ความสำเร็จของเราก็อยู่ที่การมีพนักงานที่มาเป็นอาสาสมัคร ดังนั้นทุกโปรเจ็กต์ของเราจะมีพนักงานเข้าร่วม แต่การที่เราไม่เป็นที่รับรู้ต่อสื่อภายนอกก็เป็นจุดอ่อนเพราะไม่คิดว่าทำ แล้วต้องบอกสังคม แต่อีกด้านเราก็อยากให้พนักงานรับทราบเพราะเขาจะเกิดความภูมิใจ จะปิดทองหลังพระตลอดคงไม่ได้ พนักงานจะไม่มีกำลังใจ"

ที่โครงการ สำเร็จได้ ปีเตอร์ บอกว่าเพราะเขามีพาร์ตเนอร์ที่ดีอย่างสถาบัน คีนันฯ การให้ความรู้มันกว้างมาก ปีนี้เห็นแล้วว่าเอสเอ็มอีสำคัญ ปีหน้าก็จะทำต่อเนื่องเพื่อเพิ่มจำนวนคนให้มากขึ้นเรื่อยๆ และผลของการประเมินที่ผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นก็จะทำให้ทราบว่าเรา บกพร่องตรงไหนและมีอะไรที่เขาต้องการ จากโครงการนี้ยังจะต่อยอดขยายผลไปสู่โครงการและในเร็ววันนี้ยังจะมีอีก โครงการหนึ่งที่จะทำร่วมกันคือ women at list เพราะสำรวจพบว่าผู้หญิงที่ทำงานในสถานบันเทิง ได้เงินมาเยอะแต่ทำได้แค่ช่วงหนึ่งเท่านั้น หลังจากที่เลิกทำแล้วไม่มีเงินเหลือเลยจึงอยากเข้าไปให้ความรู้เรื่องการออม เงิน การใช้เงิน ซึ่งการให้ความรู้ของซิตี้จะโฟกัสไปในกลุ่มที่มีความต้องการ โครงการให้ความรู้ด้านเอสเอ็มอีเป็นกลุ่มแรกเพราะเป็นโจทย์ระดับประเทศส่วน ผู้หญิงกลุ่มนี้ก็น่าจะได้รับความช่วยเหลือ แต่ก็เป็นความท้าทายหนึ่งว่าเขาจะเข้ามาฟังหรือไม่ และเป็นอีกก้าวของการทำงาน CSR ของ "ซิตี้" ในประเทศไทย

ที่มาหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 25 สิงหาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr05250851&day=2008-08-25&sectionid=0221

บทเรียนจากเอ็กโก



ถ้า ยังจำกันได้ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมา ภาพยนตร์โฆษณา "รถติด/ผมเสียทรง/เป็นสิว" ของ "เอ็กโก" ที่พูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวกว่าที่คิด โดยมีเป้าหมายในการกระตุกให้เยาวชนหันมาคิดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมว่าเป็น ปัญหาใกล้ตัว และถือเป็นเฟสแรกในการดำเนินโครงการ "EGCO GROUP GREEN BLOOD"

ที่พัฒนามาจากต้นทางของโครงการเพื่อสังคม "ค่ายเยาวชนคนรักษ์ป่า" ที่ดำเนินการมายาวนานกว่า 10 ปี

และ เป็นการแตกหน่อต่อยอดความคิดในการสร้างสรรค์ "โครงการเพื่อสังคมอย่างมีกลยุทธ์" ที่จะกระจายแนวคิดเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ทำมาให้แข็งแรงขึ้นและ ขยายวงออกไปกว้างขวางขึ้น โดยเฟสที่ 2 จะเป็นเฟสที่จะ "กระตุ้น" โดยตรงผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ โครงการ Forest : The Circle of Life รักษ์ต้นน้ำด้วยผืนป่า ฯลฯ ก่อนที่จะไปสู่เฟสที่ 3 ในปี 2552 ที่จะเป็นการ "ส่งเสริม" และ "สนับสนุน" ผ่านเครือข่าย "EGCO GROUP GREEN BLOOD" ที่จะมีทั้งเว็บไซต์ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน รวมไปถึงการสนับสนุนโครงการที่ริเริ่มและดำเนินการโดยเครือข่ายของ เยาวชนกลุ่มนี้

ในวันที่ "วิลาวัลย์ โชคครรชิตไชย" ผู้จัดการส่วนสื่อสารองค์กร บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) มาร่วมเป็นวิทยากรในหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ "CSR Academy" ได้กล่าวถึงวิธีคิดในการสร้างความแตกต่างในเชิงกลยุทธ์นี้อย่างน่าสนใจ โดยเป็นการเชื่อมโยง "ตัวตน" ของแบรนด์ "เอ็กโก" กับ "กิจกรรมเพื่อสังคม" ที่บริษัททำไว้ ว่า การสร้างแบรนด์อาจจะต้องเดินควบคู่ไปกับการทำ CSR ซึ่งช่วยสะท้อนภาพลักษณ์เมื่อเสริมกันก็จะทำให้แข็งแรงขึ้น อย่างไรก็ตามสำคัญที่หลักคิด

"เราเชื่อว่าต้นทางที่ดีจะก่อให้เกิด ผลลัพธ์ปลายทางที่ดี เพราะฉะนั้นวิธีคิดของเรา เราพยายามทำทุกจุดให้ดีตั้งแต่ต้นทาง ถ้าในเชิงธุรกิจเราเป็นผู้ผลิตไฟฟ้า ถ้าเราไม่มีความพร้อม จ่ายไฟไม่สม่ำเสมอ ก็จะเกิดความเสียหายต่อคนที่ใช้ไฟ อันนี้เป็นสิ่งที่จับต้องได้ว่าต้นทางที่แย่จะทำให้ปลายทางติดขัด เวลาเราทำ CSR เราก็มีวิธีคิดเช่นเดียวกัน เมื่อวิธีนี้เป็นหลัก ฉะนั้นก็จะเป็นเหมือนเป้าหมาย ที่เวลาจะประยุกต์กิจกรรมเพื่อสังคมขึ้นมาก็จะใช้เรื่องนี้เป็นหลักคิดในการ ทำงาน"

การให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ และให้ความสำคัญกับการสร้างเยาวชนที่มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม โครงการ "EGCO GROUP GREEN BLOOD" ที่จะเข้มข้นยิ่งขึ้นใน 2-3 ปีจากนี้ นอกจากเป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้มีความชัดเจนขึ้น ทุกอย่างยังคงตั้งบนหลักคิดที่เชื่อว่าเยาวชนถือเป็นต้นทางที่จะก่อให้เกิด ผลลัพธ์สู่สังคมที่ดีในปลายทาง

อย่างไรก็ตาม หากมองในการดำเนินการภายใต้ข้อจำกัด เอ็กโกเลือกกิจกรรมที่ทำให้มีความเชื่อมโยงกับธุรกิจ เพราะเชื่อว่าการมีบุคลากรจำกัด ถ้าทำในสิ่งที่เชี่ยวชาญจะเกิดประโยชน์มากกว่ากับสังคม ขณะที่องค์กรก็จะได้รับการจดจำได้ แต่สิ่งสำคัญต้องไม่ลืมว่าทุกครั้งที่จะทำกิจกรรมต้องดูถึงความต้องการของ ชุมชนหรือกลุ่มเป้าหมายว่ามีความต้องการในเรื่องนั้นด้วย ไม่อย่างนั้นก็ไม่เกิดประโยชน์

และนี่คือ กลยุทธ์กิจกรรมเพื่อสังคมของเอ็กโก ที่สามารถต่อยอดขยายผล ซึ่งเริ่มต้นจากหลักคิดต้นทางที่ดี !!

ที่มา หนัวสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 25 สิงหาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr03250851&day=2008-08-25&sectionid=0221


"อย่าแค่สร้างกระแส แต่ไม่ให้ความรู้




คุณ หญิงชดช้อย โสภณพนิช หนึ่งในวิทยากรรับเชิญในหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ CSR Academy ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมเพื่อสังคมมายาวนานก่อนที่คำว่า CSR จะเป็นที่รู้จักด้วยซ้ำ ในฐานะผู้ทำงานเพื่อสังคมมายาวนาน ไม่ว่าการรณรงค์เรื่องการรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม ผ่านโครงการที่เป็นที่รู้จักและประสบความสำเร็จในอดีตอย่าง "ตาวิเศษ" และยังคงทำงานเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน

ตั้งข้อสังเกต ท่ามกลางกระแสการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ที่มีมากมายจนบางคนเรียกเป็นแฟชั่นว่า "ตอนนี้เราจะเห็นว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ เรื่องโลกร้อน เป็นกิจกรรมเพื่อสังคมที่นิยมมาก จะเห็นได้จากภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ รวมไปถึงการแจกถุงผ้า ตอนนี้หลายคนมีเป็น 10 ใบ แต่ถามว่าการรณรงค์ในลักษณะนี้แก้ปัญหาและสร้างจิตสำนึก

ให้คน ตระหนักถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนพฤติกรรมจากการใช้ถุงพลาสติกมาเป็นการใช้ ถุงผ้าได้หรือไม่ เพราะส่วนใหญ่เลือกที่จะแจกถุงผ้าอย่างเดียว"

" ดังนั้นเป็นไปได้หรือไม่เวลาคิดกิจกรรม ให้ลองมองถึงความพิเศษในเรื่องของการให้ความรู้ ใส่เพิ่มเข้าไปอีกระดับหนึ่ง ถ้าจะแจกถุงผ้าก็อาจจะเขียนว่า เก็บฉันไว้ในรถ เก็บฉันไว้ในที่ทำงาน อยากให้ใส่ความรู้ลงไปในนั้นว่าจะใช้ถุงผ้าไปเพื่ออะไร ตอนไหน เพราะไม่อย่างนั้นแล้วก็ไม่เห็นจะเกี่ยวอะไรกับการที่จะไม่ใช้ถุงพลาสติก"

" ส่วนมากที่บริษัทต่างๆ ทำอยู่ตอนนี้ก็เป็นเรื่องของการสร้างกระแส แต่สิ่งที่ต้องทำมากกว่านั้นคือการให้ความรู้ และสำคัญที่สุดที่ต้องทำให้ได้คือการทำให้เกิดการปฏิบัติ (action) หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ที่ผ่านมาที่เคยทำกับตาวิเศษ เราไม่ได้โฆษณาอย่างเดียว แต่ทุกครั้งที่เราคิดโครงการหรือกิจกรรม เราต้องมองว่าเป้าหมายคืออะไร กำลังจะทำอะไร และจะสื่อออกไปภายนอกอย่างไรเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมของ เรา"

"เวลาจะเปิดตัวแต่ละกิจกรรม เราใช้เวลาหลายเดือนในการคิดและหาพันธมิตรที่จะมาร่วมทำโครงการ เราเชื่อว่าพันธมิตรมีส่วนสำคัญในการทำให้โครงการประสบความสำเร็จ ยิ่งถ้าเป็นธุรกิจ เชื่อว่าไม่มีใครสามารถทำเองได้ 100% แล้วจะประสบความสำเร็จ การที่เราลงทุนทำ CSR แล้ว สิ่งสำคัญคือความยั่งยืน ซึ่งจะทำอย่างนั้นได้ต้องมีกระบวนการในการทำงานเพื่อพัฒนาโครงการให้เกิด ขึ้น"

"และต้องไม่ลืมกระบวนการในเรื่องของการเชื่อมโยงธุรกิจของตัว เองให้เข้ากับงานสังคมที่ต้องการจะขยายผล เพื่อนำจุดแข็งที่องค์กรมีสร้างสรรค์โครงการเพื่อสังคมให้เกิดประสิทธิผลสูง สุด"

ที่มา หนังสือพิมพ์ปรชาชาติธุรกิจ วันที่ 25 สิงหาคม2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02250851&day=2008-08-25&sectionid=0221

Strategic CSI ใส่ "กลยุทธ์" ให้กิจกรรมเพื่อสังคม





ไม่ ใช่เรื่องที่ใหม่เลย หากจะพูดถึงการทำกิจกรรมเพื่อสังคมขององค์กรธุรกิจที่ทุกวันนี้แทบไม่มี องค์กรธุรกิจใดที่ละเลยและไม่ให้ความสำคัญกับสังคมในเรื่องนี้ แต่ประเด็นสำคัญท่ามกลางกระแสกิจกรรมเพื่อสังคมที่เกิดขึ้นเป็นรายวัน กลับอยู่ที่สิ่งที่องค์กรต่างๆ เลือกที่จะทำนั้นตอบโจทย์อะไร

"ปัญหา อย่างหนึ่งที่เราพบเมื่อมองเรื่องกิจกรรมเพื่อสังคม ที่เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท (CSR) นั้น องค์กรส่วนใหญ่ก็มักจะมองแค่ว่ากิจกรรมนี้ดีและอยากทำ แต่ถ้าถูกถามว่าจะทำเพื่ออะไร ได้คุณค่าอะไร หรือองค์กรได้อะไรจากการทำเรื่องนี้บ้าง ก็มักจะตอบไม่ได้ ที่สำคัญเราต้องไม่ลืมว่าองค์กรมีข้อจำกัดในเรื่องของทรัพยากรทั้งงบประมาณ บุคลากร ฉะนั้นการวางกลยุทธ์ในการทำกิจกรรมจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง สุด" อนันตชัย ยูรประถม นักวิชาการด้าน CSR กล่าวระหว่างการ อบรมเชิงปฏิบัติการในหลักสูตร CSR Academy หัวข้อ "การสร้างสรรค์โครงการเพื่อสังคมอย่างมีกลยุทธ์" (Strategic CSI) ที่หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจและสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดขึ้นในวันที่ 25 กรกฎาคม และ 31 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมา

และนั่นเป็นเหตุผลว่าเพราะเหตุใด ในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากการทำกลยุทธ์ CSR ในระดับองค์กรแล้ว ยังต้องมองการทำกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างมีกลยุทธ์ (strategic corporate social innitiatives)

อนันตชัยบอกว่า "สิ่งที่เรามองไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่ เพราะในมุมมองของเราในการทำ CSR นั้น เราไม่มองว่าการทำ CSR เป็นเพียงกิจกรรมเพื่อสังคมภายนอก แต่เป็นการแสดงความรับผิดชอบทุกส่วนภายในองค์กร เรามองในลักษณะที่เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการที่จะนำองค์กรไปสู่ความ ยั่งยืน ในขณะเดียวกันสังคมก็ดีด้วย เป็นการแบ่งปันคุณค่า (shared value) ระหว่างกัน"

ฉะนั้นเพื่อให้ได้เป้าหมายปลายทางเช่นนี้ แม้จะเป็นการแสดงความรับผิดชอบในระดับกิจกรรมเพื่อสังคม จึงต้องสอดคล้องไปกับตัวตนของธุรกิจ ตลอดจนบริบททางสังคมและสิ่งแวดล้อม

มองหาประเด็นทางสังคมที่เหมาะ

ประเด็น สำคัญในการกำหนด "ประเด็นทางสังคม" (issue) ที่องค์กรจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือ จึงต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจ "พื้นที่ความรับผิดชอบของตัวเอง เป็นหลัก"

โดยเริ่มต้นตั้งแต่การ พิจารณา พื้นที่ทางสังคม (define society arena) ซึ่งแบ่งออกเป็นสังคมภายใน สังคมใกล้ สังคมไกล หรืออาจจะแบ่งได้ละเอียดกว่านี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะขององค์กร

จาก นั้นจึงทำการแยกแยะ "ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย" ในแต่ละพื้นที่ (define stake holders) อาทิ ในสังคมภายใน อาจจะมีผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ถือหุ้น พนักงาน สังคมใกล้ (market) เช่น ลูกค้า ซัพพลายเออร์ คู่แข่ง ขณะที่สังคมไกล (society) เช่น ภาครัฐ ชุมชน สังคมวงกว้าง

เมื่อผ่าน 2 ขั้นตอนนี้จะสามารถมองหาประเด็นทางสังคม (define social issues) ที่องค์กรต้องทำ เช่น ถ้าเป็นสังคมภายใน ประเด็นความรับผิดชอบอาจจะเป็นประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน สวัสดิการทางสังคมของพนักงาน สังคมใกล้ อาจจะเป็นประเด็นความรับผิดชอบในเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ การปฏิบัติที่เป็นธรรม ขณะที่สังคมไกล อาจจะเป็นในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎหมาย การพัฒนาสังคม เป็นต้น

เลือกทำ-ไม่ทำอะไร

หลังจากเลือกประเด็นทางสังคมได้แล้ว จึงจะสามารถบอกได้ว่า กิจกรรม CSR (CSR innitiatives) ที่องค์กรจะเลือกทำนั้น คือกิจกรรมอะไร

" การเข้าใจพื้นที่ทางสังคมเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องมองเป็นอย่างแรกเพื่อที่ จะทำให้เรารู้ว่า ในพื้นที่ที่เรามีความรับผิดชอบนั้นมีผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียใดอยู่บ้าง จึงจะสามารถบอกได้ว่าเราจะทำกิจกรรมเพื่อสังคมที่ตอบโจทย์ผู้ที่มีส่วนได้ ส่วนเสียของเราอย่างไร ถ้าไม่ทำอย่างนี้ประโยชน์ที่ได้อาจจะตกอยู่เพียงฝั่งใดฝั่งหนึ่ง คือสังคมหรือองค์กร แต่ถ้าเรามีการแยกแยะประเด็นที่ชัดจะสามารถสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นได้จาก ทั้ง 2 ฝั่ง"

อย่างไรก็ตามในกรณีที่องค์กรไม่ได้มีขอบเขตและลักษณะ พื้นที่ชัดเจน เช่น ธุรกิจที่ผลิตในประเทศหนึ่ง มีสำนักงานใหญ่ในประเทศหนึ่ง และส่งสินค้าขายไปทั่วโลก อาจจะใช้มุมมองการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบโดยใช้ "ซัพพลายเชน" (supply chain) ในการเลือกประเด็นทางสังคมที่จะทำ เช่น ในขั้นวัตถุดิบ อาจจะมองประเด็นแรงงานเด็ก การส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากสังคม เป็นต้น

" แต่สิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืมในการทำกิจกรรม เราต้องมองบริบทของสังคมและประเทศ เพราะในแต่ละพื้นที่นั้นมีความแตกต่างกัน อย่างกิจกรรม CSR ของไทยที่โดดเด่นที่สุดอาจจะเป็นเรื่องการทำกิจกรรมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ซึ่งไม่เคยมีตำราฝรั่งที่ไหนในโลกเขียนถึงเรื่องนี้ หรือประเด็นที่มีความแตกต่างอย่างเรื่องศาสนา หรือเรื่องแนวทางในการพัฒนาประเทศในบริบทของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสังคมไทย"

กรองประเด็นให้ฟิตกับองค์กร

เมื่อทำตามลำดับดังที่กล่าวมาจากนั้นจะถึงขั้นตอนของการคัดกรองประเด็นทางสังคม เพื่อหาสิ่งที่เหมาะสมกับองค์กรมากที่สุด

อนันต ชัยขยายความว่า "ประเด็นทางสังคมนั้นมีมาก และเราไม่สามารถทำได้ทุกเรื่อง ดังนั้นเราจะค่อยๆ ตัดทอนจากประเด็นทั่วไปที่กว้างๆ การศึกษาสิ่งแวดล้อม เด็ก จากนั้นค่อยๆ ดูว่าในซัพพลายเชนขององค์กรสร้างผลกระทบในเชิงบวกหรือลบกับประเด็นไหน ก่อนจะหยิบประเด็นที่จะสามารถส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันมากที่สุด"

ยก ตัวอย่าง บริษัทประกันภัยในต่างประเทศรายหนึ่ง ที่เริ่มจากการมองประเด็นที่สังคมมีความต้องการในวงกว้าง ก่อนจะเลือกว่าในกระบวนการดำเนินธุรกิจมีเรื่องไฟ อุบัติเหตุบนท้องถนน ภัยธรรมชาติ เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ก่อนที่สุดท้ายเมื่อดูประเด็นที่จะเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน บริษัทนี้เลือกประเด็นไฟป่า โดยเลือกทำกิจกรรมรณรงค์ให้ประชาชนสร้างแนวกันไฟป่า คุณค่าที่ได้ของสังคมจากการทำกิจกรรมนี้ก็คือ ชาวบ้านลดอัตราการสูญเสียบ้านที่เกิดจากไฟไหม้ป่า ขณะที่บริษัทก็ลดค่าใช้จ่ายในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ทำประกัน ซึ่งปกติในพื้นที่นั้นมักได้รับผลกระทบจากไฟป่าอยู่บ่อยครั้ง

6 กิจกรรมในมุม "คอตเลอร์"

การ รณรงค์เพื่อให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (corporate social marketing) ที่บริษัทแห่งนี้ทำ เป็นหนึ่งในรูปแบบ "กิจกรรมเพื่อสังคม" ตามแนวคิดของฟิลิป คอตเลอร์ และแนนซี่ ลี กูรูด้านการตลาดและผู้เชี่ยวชาญด้านสังคม ได้เคยแบ่งไว้เป็น 6 ประเภท 1.การส่งเสริมประเด็นและองค์กรทางสังคมให้เป็นที่รู้จัก (cause promotions) เช่น ให้คนมาบริจาคสิ่งของ เงิน และเวลา ให้กับองค์กรสาธารณกุศล เช่น สโมสรบาร์เซโลน่า ที่ประชาสัมพันธ์ให้ "ยูนิเซฟ" โดยปักโลโก้ยูนิเซฟลงบนเสื้อนักฟุตบอล ซึ่งถือเป็นการสร้างการรับรู้ขององค์กรทางสังคมให้เป็นที่รู้จัก ประเด็นนี้เน้นที่การสื่อสารเป็นหลัก 2.การส่งเสริมสังคมจากการขายสินค้าหรือบริการ (cause-related marketing) ซึ่งเป็นการใช้เครื่องมือทางการตลาดมาช่วยเหลือสังคม เช่น บัตรอเมริกันเอ็กซ์เพรส ในสหรัฐ อเมริกา ที่แบ่งปันเงินค่าธรรมเนียมสำหรับลูกค้าที่ใช้บัตรในร้านอาหารไปช่วยเด็ก ด้อยโอกาส คุณค่าคือสังคมก็ได้รับ ขณะที่องค์กรก็มียอดการใช้บัตรเพิ่มขึ้น 3.การตลาดเพื่อสังคม (corporate social marketing) คือ การรณรงค์ให้คนในสังคมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เป็น ประโยชน์ต่อสังคมและสร้างคุณค่ากับองค์กร เช่น ลานเล่นบรีส เพิ่มพลังเรียนรู้ ที่นอกจากจะทำให้คนในสังคมมีมุมมองที่เข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมการเล่น เพื่อพัฒนาสมองของเด็ก ขณะเดียวกันยังส่งผลกลับมาที่การรับรู้แบรนด์ที่เพิ่มมากขึ้น 4.การบริจาคเพื่อสังคม (corporate philanthropy) ซึ่งเป็นกิจกรรมการกุศลที่เก่าแก่และมีมายาวนาน แต่ก็สามารถ พัฒนาไปสู่การให้อย่างสร้างสรรค์ได้ 5.การมีส่วนร่วมกับชุมชน (corporate commu nity volunteering) ที่เป็นการนำอาสาสมัครเข้าไปพัฒนาชุมชน และ 6.การปฏิบัติในกระบวนการทางธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ (socially responsible business practices) ซึ่งเป็นกิจกรรมความรับผิดชอบในกระบวนการดำเนินธุรกิจ เช่น การสนับสนุนผู้พิการให้มีโอกาสทำงาน การดูแลความปลอดภัยแรงงาน เป็นต้น

มองหาตัวช่วยสู่เป้าหมายที่สูงกว่า

" การที่มองกิจกรรมอย่างเป็นระบบจะทำให้เราสามารถเลือกได้ว่า กิจกรรมรูปแบบใดที่จะมาเป็นหลักและกิจกรรมใดจะมาเป็นส่วนเสริม อย่างถ้าเราทำโครงการปลูกป่า ถ้าเรามองว่าแค่อยากปลูก เราก็จะทำแค่ไปปลูกป่าแล้วจบ แต่ถ้าเรามองแบบมีกลยุทธ์ เราก็อาจจะมีกิจกรรมอื่นเสริมเข้าไป เช่น การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน และการนำอาสาสมัครพนักงานลงไปทำกิจกรรมด้วย" อนันตชัยกล่าว

อย่างไร ก็ตามในการทำกิจกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมาย ยังอาจจะมี "ตัวช่วย" อย่าง "พันธมิตร" ทั้งที่เป็นองค์กรภาครัฐ องค์กรสาธารณกุศล องค์กรธุรกิจด้วยกัน เพื่อร่วมแบ่งปันขีดความสามารถหลักที่จะทำให้กิจกรรมเพื่อสังคมที่องค์กรทำ นั้นมีเป้าหมายที่สูงขึ้น มีประสิทธิภาพและมี ประสิทธิผลมากขึ้นกับทั้งสังคม พันธมิตร และองค์กร

ทั้งหมดนี้เพื่อ ไม่ให้กิจกรรมเพื่อสังคมเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราว และไม่ได้ตอบโจทย์ "ความยั่งยืน" ซึ่งเป็นหัวใจหลักของ CSR !!


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 25 สิงหาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr01250851&day=2008-08-25&sectionid=0221

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ชู CSR พลังสร้างภาพลักษณ์องค์กร



ยากจะปฏิเสธว่า วันนี้องค์กรมหาชนทุกแห่งต้องรู้จัก "CSR" หรือ corporate social responsibility

เช่นกัน ทั้ง "ปูนซิเมนต์ไทย" และ "ปูนซีเมนต์นครหลวง" ต่างก็โฟกัส "สร้างฝาย" ถวายในหลวงเป็นกิจกรรม CSR อย่างคึกคัก

โดย รายแรกตั้งใจสร้าง 1 หมื่นฝาย ภายในเวลา 3 ปี นับจากปี 2550-2552 ส่วนรายหลังเปิดตัวโครงการ "80 พรรษา 880 ฝาย อินทรีสร้างถวายในหลวง" โดยขอสร้างฝาย ต่อเนื่องปีละ 880 ฝาย

ภาพประวัติศาสตร์ของทั้ง 2 องค์กรเกิดขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน

โดย วันที่ 1 ธันวาคม 2550 "ปูนซิเมนต์ไทย" เริ่มโครงการ "1 วัน 1,000 ฝาย ถวายพระเจ้าอยู่หัว 80 พรรษา" พื้นที่เป้าหมายคือจังหวัดเชียงใหม่และลำปาง

ส่วน "ปูนซีเมนต์นครหลวง" ซึ่งมีความตั้งใจสร้างฝายถวายเพื่อคืนความชุ่มชื้นให้กับธรรมชาติไม่แตกต่าง กัน ได้เดินหน้าทำกิจกรรมในหลายรูปแบบ

ทั้งการร่วมลงแรงกับพนักงาน คนในชุมชน นักศึกษา องค์กรอิสระสร้างฝาย การบริจาคปูนซีเมนต์และบริจาคเงินผ่านมูลนิธิชัยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

โดย ปี 2550 ปูนซีเมนต์นครหลวงได้ริเริ่ม "โครงการ 80 พรรษา 880 ฝาย อินทรีสร้างถวายในหลวง" เป็นปีแรก และวางเป้าสร้างฝาย 880 แห่ง แต่ทำได้จริงเกินกว่าเป้าเป็น 1,055 แห่ง ส่วนปี 2551 ยังคงตั้งเป้าสร้างฝายต่อเนื่องอีก 880 แห่ง ภายใต้แนวคิด "สร้างฝายลดโลกร้อน" ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน น่าน เพชรบูรณ์ และสระบุรี

แต่ไม่ว่าจะเหมือนหรือแตกต่าง จำนวนจะมากหรือน้อย หากเป็นการแข่งขันกันทำความดี เชื่อว่าทุกคนอยากสนับสนุน

เพราะจุดมุ่งหมายสุดท้ายคือการคืนความชุ่มชื้นให้กับพื้นป่า ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาติธุรกิจ วันที่ 21 สิงหาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02spe04210851&day=2008-08-21&sectionid=0223

CSR Campus บทพิสูจน์ "ทวินแอ็กชั่น"



แม้ จะตั้งเป้าหมายเพียงการถ่าย ทอดองค์ความรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) ต่อนักธุรกิจในภูมิภาคภายในระยะเวลา 1 ปี สำหรับโครงการ "CSR Campus" ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันไทยพัฒน์ แคท เทเลคอม ดีแทค และโตโยต้า

โดย นอกจากจะให้ความรู้ในเชิงทฤษฎีเพื่อการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ CSR แล้วยังมีการอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีทั้งการมอง CSR ในเชิงกลยุทธ์ระดับองค์กร ขณะเดียวกันยังมีเวิร์กช็อปการระดมสมองคนในพื้นที่ ในการสร้างกิจกรรม CSR ขึ้นในแต่ละจังหวัด ซึ่งพัฒนามา

จากการมองเห็นปัญหาในแต่ละพื้นที่ รวมไปถึงยุทธศาสตร์ CSR ระดับภาค เพื่อนำเสนอกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการกำหนดยุทธศาสตร์ CSR ให้เป็นนโยบายระดับชาติ




ในส่วนการผลักดันในเชิงนโยบายนั้น ภารกิจของโครงการจะจบหลังจากการส่งมอบ "ผล" ที่ได้ในปลายปี

แต่ การทำงานของ "พันธมิตร" ทั้ง 4 องค์กรยังเดินหน้าต่อ โดยมองไว้ว่าจะต่อ ยอดในเชิงการผลักดันกิจกรรม CSR ระดับจังหวัดให้เกิดผลในทางปฏิบัติ หรือเรียกว่า CSR in action รวมไปถึงการรวบรวมองค์ความรู้จากโมเดลขององค์กรในการดำเนินกิจกรรม CSR ในบริบทไทย ที่จะร่วมแบ่งปันให้กับสถาบันการศึกษา โดยคาดว่าจะดำเนินการในปี 2552

แต่ดูเหมือนว่าผลที่เกิดขึ้นจากการ เดินสายไปมาแล้ว 3 ภาค ได้แก่ ภาคอีสาน เหนือ ใต้ ก่อนจะปิดท้ายที่ภาคกลางและกรุงเทพฯในช่วงปลายปีนี้นั้น กลับสามารถขยายผลได้อย่างรวดเร็วเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ถึงวันนี้กำลังเกิดโครงการ "นำร่อง" ที่จะนำเอากิจกรรม CSR ในระดับจังหวัดทำให้เกิดผลจริง โดยพันธมิตรที่เป็นองค์กรธุรกิจจะช่วยเหลือในเรื่องทรัพยากร ขณะที่สถาบันไทยพัฒน์จะช่วยในเรื่องข้อมูลทางวิชาการ

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า จนถึงวันนี้มีจังหวัดที่สนใจจะนำกิจกรรม CSR ที่ได้จากการระดมสมองให้เกิดผลในทางปฏิบัติจริง โดยจังหวัดแรกเริ่มต้นที่ จ.นครราชสีมา ในการสร้างเวทีชุมชนซึ่งเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันของคน ในชุมชน ซึ่งจะคิกออฟในต้นเดือนกันยายนที่จะถึง นี่น่าจะเป็นครั้งแรกในการทำ CSR รูปแบบใหม่ที่มีการสร้างความเชื่อมโยงของภาคธุรกิจในส่วนกลางและธุรกิจใน ส่วนท้องถิ่น โดยมีองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาเป็นผู้ร่วมให้การสนับสนุน

ซึ่งถือเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด ในแบบฉบับของ "ทวินแอ็กชั่น" ที่เกิดจากการระดมจุดแข็งของพันธมิตรแนวร่วม

สำหรับ การประชุมเชิงปฏิบัติการด้าน CSR และการเสวนาเรื่อง "CSR อันดามัน" ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่โรงแรมถาวรแกรนด์พลาซ่า จ.ภูเก็ตนั้นจากการระดมสมองของจังหวัดภาคใต้ของตัวแทน 10 จังหวัดพบว่า ประเด็นความ รับผิดชอบต่อสังคมที่ธุรกิจส่วนใหญ่ต้องการให้เกิดขึ้นอยู่ใน 3 หมวดหลัก คือ การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และการประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 18 สิงหาคม 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02csr02180851&day=2008-08-18&sectionid=0221